มุมอีสานสนเทศ
ค้นหา:     ค้นหาขั้นสูง
เลือกดูตามหมวดหมู่:
English Version

บุญข้าวจี่หรือบุญเดือน ๓ เนื้อหาบทความ

บุญข้าวจี่หรือบุญเดือน ๓

แสดงผล: 187
ลงคะแนน: 0
วันที่สร้าง: 25 Nov, 2011
ผู้สร้าง :
วันที่ปรับปรุง : 09 Feb, 2012
ผู้แก้ไขปรับปรุง : นายิกา N.
  บุญข้าวจี่ 
          บุญข้าวจี่ เป็นงานบุญประเพณีของชาวอีสาน นิยมทำในเดือน ๓ จนเรียกว่า "บุญเดือนสาม" บุญข้าวจี่เป็นบุญประเพณีสำคัญที่มีกำหนดอยู่ในฮีตสิบสอง ดังคำโบราณที่รู้จักกันทั่วไปว่า "เดือนสามคล้อยจั่วหัวปั้นข้าวจี่ เดือนสี่คล้อยจัวน้อยเทศน์มัดซี (มัทรี)" คำว่า "ข้าวจี่" เป็นภาษาอีสาน คือการนำข้าวเหนียวที่นึ่งสุกดีแล้วมาปั้นให้เป็นรูปร่างกลมรีคล้ายกลองเพล นำไม้มาเสียบให้ทะลุไปตามทางยาว แล้วนำเกลือมาโรยเพื่อเพิ่มรสชาติ นวดคลึงดีแล้ว นำไปย่างไฟถ่านที่กำลังร้อน ซึ่งการย่างไฟนี้คนอีสานเรียกว่า "จี่" เดิมคนอีสานรู้จักปรุงรสด้วยเกลือเท่านั้น ต่อมามีกรรมวิธีการทำข้าวจี่ให้อร่อยขึ้นตามความนิยมของท้องถิ่น และบางแห่งก็ทำรูปร่างแตกต่างกันไป มีลักษณะรูปร่างทั้งกลมรี บางแห่งทำลักษณะแบน และทำเพื่อขายก็มี
► ที่มาของบุญข้าวจี่
          การทำบุญข้าวจี่ น่าจะมีที่มาจากเรื่องราวในพระพุทธศาสนา คือ เรื่องนางปุณณทาสี เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่เชตวันมหาวิหาร เมืองสาวัตถี มีหญิงคนหนึ่งชื่อ นางปุณณทาสีเป็นคนใช้เศรษฐี วันหนึ่งนางได้นำข้าวเปลือกไปซ้อมข้าว (ตำข้าว) นางได้เก็บเอาปลายข้าวมาทำเป็นขนมแป้งจี่ (ข้าวจี่) ตอนขากลับนางพบพระพุทธเจ้าและพระอานนท์ออกบิณฑบาต  นางคิดว่าถือเป็นโอกาสดีควรใส่บาตร แต่ก็มีเพียงแป้งจี่ ซึ่งถือว่าเป็นอาหารของคนจน พระองค์จะเสวยหรือไม่ แต่นางก็ใส่บาตรไปด้วยศรัทธา พระพุทธเจ้าทรงทราบวาระจิตของนาง  ประสงค์จะให้นางได้ยินดีในทาน  จึงทรงประทับเสวยแป้งจี่หรือข้าวจี่ไม่ไกลจากที่นางใส่บาตรนัก  นางรู้สึกยินดีในทานของตนเป็นอันมาก ต่อมาเมื่อได้ฟังพระธรรมเทศนาด้วย ก็ได้บรรลุธรรมชั้นโสดาบัน                            
          ด้วยเหตุนี้ ต่อมาชาวอีสาน  จึงนิยมทำข้าวจี่ใส่บาตรถวายพระทำบุญ จนเกิดเป็นประเพณี มักนิยมทำในช่วงเดือน๓  จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “บุญเดือน๓”
► วิธีการทำข้าวจี่ในปัจจุบัน

          ๑. เอาข้าวเหนียวนึ่งมาปั้นให้เป็นรูปร่างกลมรีคล้ายกลองเพล ใส่ก้อนน้ำอ้อย-น้ำตาลไว้ใจกลางข้าวเหนียว  นำไม้มาเสียบให้ทะลุไปตามทางยาว แล้วนำเกลือมาโรยเพื่อเพิ่มรสชาติ นวดคลึงดีแล้ว นำไปย่างไฟถ่านที่กำลังร้อน                
          ๒. ดีไข่ดิบใส่ถ้วย คนให้ละเอียด ราดใส่ปั้นข้าวเหนียวขณะย่างไปอยู่นั้น ย่างไปจนสุก
          ๓. เอาใส่ถาดไปตั้งไว้บนศาลาการเปรียญ (ต้องทำตอนเช้า)
          ๔. ทางวัดก็ทำพิธีทางสงฆ์ มีไหว้พระ รับศีล ทายกนำถวายข้าวจี่ ถวายพระสงฆ์ให้พร กรวดน้ำ เสร็จในช่วงเช้า(อย่าลืมพระต้องเทศน์อานิสงค์ข้าวจี่ ยกนิทานชาดกเป็นอุทาหรณ์)
       ส่วนข้าวจี่ที่เหลือ ให้นำจากวัดมาแบ่งปันให้ลูกหลานคนในครอบครัวได้ทานกัน ลูกหลานจะได้มีร่างกายแข็งแรงสุขภาพสมบูรณ์เป็นศิริมงคลต่อไป
  

    

                                      

<<<<<------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------->>>>>
 
ดูเพิ่มเติม
>> บุญข้าวจี่ ณ วัดไชยศรี ต.สาวะถี อ.เมือง จ.ขอนแก่น
>> วันมาฆบูชา
>> วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
>> ประเพณีบุญข้าวจี่
>> บุญเดือนสาม (บุญข้าวจี่) 
 
แห
      แหล่งอ้างอิง 
จา   กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม, สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดขอนแก่น, มหาวิทยาลัยขอนแก่น, เทศบาลนครขอนแก่น, เทศบาล  ตำบลสาวะถี, โครงการวัฒนธรรมไทยสายใยชุมชนตำบลสาวะถี และศูนย์พัฒนาการศึกษาสำหรับเด็ก (สปป.ลาว), ผู้จัดทำ.  (๒๕๕๔).        ฮีตเดือน ๓ บุญข้าวจี่ บ้านสาวะถี ๕-๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ณ วัดไชยศรี จังหวัดขอนแก่น.  ขอนแก่น: กรม.  (เอกสารแผ่นพับ). 
อีส  อีสานไกด์ โฮงมูลมังอีสาน.  (๒๕๕๔).  ประเพณีบุญข้าวจี่. [โฮมเพจ].  ค้นจาก http://www.esanguide.com/guru/detail.php?id=1493
เรียบเรียงโดย : นายิกา เดิดขุนทด
          บุญข้าวจี่ สันนิษฐานว่าน่าจะมาจากเรื่องราวในพระพุทธศาสนา คือเมื่อครั้งพระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่เชตวันมหาวิหาร เมืองสาวัตถี มีหญิงคนหนึ่งชื่อ นางปุณณทาสี เป็นคนรับใช้เศรษฐี วันหนึ่งนางได้นำข้าวเปลือกไปทำข้าวซ้อมมือ (ตำข้าวเพื่อให้เป็นข้าวสาร) นางได้เก็บเอาปลายข้าวมาทำขนมแป้งจี่ (ข้าวจี่) ตอนขากลับนางพบพระพุทธเจ้าและพระอานนท์ออกบิณฑบาต นางถือเป็นโอกาสดีที่จะได้ใส่บาตรพระพุทธองค์ แต่ก็มีเพียงแป้งจี่ ซึ่งถือว่าเป็นอาหารของคนจน หากใส่บาตรไปก็ไม่ทราบว่าพระองค์จะเสวยหรือไม่ แต่แล้วนางก็ตัดสินใจใส่บาตรไปด้วยจิตศรัทธา พระพุทธเจ้าทรงทราบวาระจิตของนาง ประสงค์จะให้นางมีความยินดีในทาน จึงทรงประทับเสวยแป้งจี่หรือข้าวจี่ไม่ไกลจากที่นางใส่บาตรนัก นางรู้สึกยินดีในทานของตนเป็นอันมาก ต่อมาเมื่อได้ฟังพระธรรมเทศนาด้วย นางก็ได้บรรลุธรรมชั้นโสดาบัน ด้วยเหตุนี้ต่อมาชาวพุทธโดยเฉพาะในภาคอีสานจึงนิยมทำข้าวจี่ถวายพระสืบต่อกันมาจนเป็นประเพณี โดยนิยมทำในช่วงเดือน ๓ ชาวอีสานจึงนิยมเรียกประเพณีนี้อีกอย่างหนึ่งว่า "บุญเดือน ๓" ซึ่งจัดอยู่ในฮีต ๑๒ ของภาคอีสานสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน


ลิขสิทธิ์ © 2012 สงวนลิขสิทธิ์ ห้ามทำซ้ำทั้งหมดหรือบางส่วน ไม่ว่าในรูปแบบใดโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ดูแลเว็บไซต์เป็นลายลักษณ์อักษร
ติดต่อผู้ดูแลเว็บไซต์ : somphot@kku.ac.th ผู้พัฒนาโปรแกรม
หมวดหมู่อื่น ๆ
document การละเล่นสะบ้าในประเพณีตรุษไทยภูผาม่าน
document หลวงพ่อพระยืนมิ่งมงคล
document ประเพณีบุญบั้งไฟ อำเภอกระนวน
document พระพุทธรูปโบราณ อำเภอซำสูง
document การศึกษาความเชื่อเกี่ยวกับการใช้ผ้าไหมมัดหมี่ของชาวอำเภอชนบทจังหวัดขอนแก่น
document ความเชื่อเรื่องผ้าไหมมัดหมี่ของชาวอีสาน
document สิม
document ศักยภาพทางเศรษฐกิจของชุมชนหมู่บ้านอีสานจากอดีตถึงปัจจุบัน
document เศรษฐกิจชุมชนหมู่บ้านอีสาน : ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจอีสานหลังสงครามโลกครั้งที่สองถึงปัจจุบัน (2488-2544)
document เศรษฐกิจชุมชนหมู่บ้านอีสานใต้ : ความอยู่รอดของชุมชนท่ามกลางกระแสความเปลี่ยนแปลง
document ข้อมูลวัด จังหวัดขอนแก่น
document บุคคลสำคัญทางศาสนา จังหวัดขอนแก่น
document ประเพณีแต่งงานชาวอีสาน (ประเพณีกินดอง)
document รายงานการวิจัยเรื่องศักยภาพของชุมชนอีสาน : กรณีศึกษาบ้านฝาง
document การผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องศิลปวัฒนธรรมในกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีว ิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ตอน ศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณี
document การสำรวจสถานภาพองค์ความรู้เบื้องต้นจากงานวิจัยเกี่ยวกับวิถีชีวิตทางสังคมและวัฒนธ รรมของกลุ่มชาติพันธุ์ ในภาคอีสาน พ.ศ. 2500-2545
document คติชน : คุณค่าในการท่องเที่ยวชุมชนบ้านโคกม่วง
document ความสัมพันธ์หญิงชายภายใต้กระแสการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
document ทัศนคติของชาวชนบทอีสานต่อการทำบุญ
document ประเพณี คติความเชื่อมีอิทธิพลต่องานสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นอีสาน
document ประเพณีผูกเสี่ยว
document พฤติกรรมการทำบุญของชาวพุทธในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
document รายงานการวิจัยเรื่องทัศนคติของชาวชนบทอีสานต่อการทำบุญ
document รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์เรื่องรูปแบบศิลปวัฒนธรรมประเพณีการฟ้อนแห่ต้นดอกไม้ : กรณีศึกษาบ้านอาฮี หมู่ที่ 1,6 ตำบลอาฮี อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย
document รายงานวิจัยเรื่องเศรษฐกิจชุมชนหมู่บ้านอีสานห้าทศวรรษหลังสงครามโลกครั้งที่สอง (พ.ศ. 2488-2543) : กรณีศึกษาบ้านบัว จังหวัดสกลนคร
document รายงานวิจัยเรื่องเศรษฐกิจชุมชนหมู่บ้านอีสานห้าทศวรรษหลังสงครามโลกครั้งที่สอง (พ.ศ. 2488-2543) : กรณีศึกษาบ้านโนนม่วง จังหวัดร้อยเอ็ด
document รายงานวิจัยเรื่องเศรษฐกิจชุมชนหมู่บ้านอีสานห้าทศวรรษหลังสงครามโลกครั้งที่สอง (พ.ศ. 2488-2544) : กรณีศึกษาบ้านวังสวาบ จังหวัดขอนแก่น
document วัฒนธรรมอีสานกับการพัฒนา
document วิถีครอบครัวและชุมชนชาติพันธุ์ไทยโย้ย บ้านโพนแพง ตำบลหนองสนม อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร
document รายงานการวิจัยเรื่องการศึกษาโครงสร้างชุมชนชาติพันธุ์ผู้ไทย บ้านโนนหอม ตำบลโนนหอม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร
document ความเชื่อเรื่องปู่ตาตะกวดกับวิถีชีวิตของชาวกูยบ้านตรึม ตำบลตรึม อำเภอศรีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์
document ประเพณีและเทศกาลจังหวัดขอนแก่น
document วัดป่าบ้านตาด
document วัดถ้ำกลองเพล
document วัดบูรพาภิราม
document หมู่บ้านวัฒนธรรมผู้ไทยโคกโก่ง
document วัดสุปัฏนารามวรวิหาร
document วัดถ้ำแสงเพชร
document ประเพณีบุญพระเวส หรือบุนพะเหวด
document คติชน : คุณค่าในการท่องเที่ยวชุมชนบ้านโคกม่วง
document พระมงคลมิ่งเมือง (พระยืน)
document รายงานการวิจัยเชิงคุณภาพเรื่องเจ้าพ่อมอดินแดง : ความเชื่อของนักศึกษา บุคลากร มหาวิทยาลัยขอนแก่น หมู่ 16 ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
document วัดพระบาทภูพานคำ
document ศาลเจ้าพ่อมอดินแดง
document สิม (โบสถ์) 2
document สิม (โบสถ์) 1
document หลวงพ่อพระยืนมิ่งมงคล
document ตำราปลูกเฮือน ฉบับวัดบ้านดอนยม ตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
document ตำราปลูกเฮือน ฉบับสำนักสงฆ์อิสระธรรมวิเวก บ้านคกเหลี่ยน-หนองขอน ตำบลวังแสง อำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม
document คาถา ต้นฉบับวัดศรีเวียงชัย บ้านดอนเวียงจันทน์ ตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
document คติชน : คุณค่าในการท่องเที่ยวชุมชนบ้านโคกม่วง
document ความเชื่อเกี่ยวกับต้นไม้ของชาวบ้านศึกษาเฉพาะกรณีหมู่บ้านโนนอำนวย อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์ และหมู่บ้านทุ่งสว่าง อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ
document ฒ ผู้เฒ่าต้องมอง
document การบริโภคสุนัขในจังหวัดสกลนคร
document การปรับตัวทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ไทแดง บ้านโพนทอง เมืองนาทรายทอง นะคอนหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
document การแต่งงานข้ามวัฒนธรรมหญิงไทยกับชายญี่ปุ่น
document บทบาทของวัดต่อชุมชนในชนบท จังหวัดขอนแก่น
document ความสัมพันธ์หญิงชายภายใต้กระแสการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
document เจ้าโคตร : ผู้เว้าแล้วแล้วโลด
document ปราสาทขอมหายไปไหน? เขมรทำลายหรือใครกันแน่
document ภูมิปัญญาพื้นบ้านศาลผีปู่ตา อำเภอสีชมพู จังหวัดขอนแก่น.
document ลำส่องที่พึ่งสุดท้ายของผู้ป่วยในภาคอีสานจริงหรือ?
document สรภัญญ์ : ภูมิปัญญาชาวบ้านกับบทบาทในสังคมอีสาน
document รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ : คติสัญลักษณ์ของพื้นที่และการจัดการใช้พื้นที่ของวัดในชุมชนหมู่บ้านผู้ไท
document พุทธศาสนากับสิ่งแวดล้อม
document รายงานการวิจัยเรื่องวิเคราะห์ความเข้าใจในหลักพุทธธรรมของพระสงฆ์ในเขตอำเภอเมืองขอ นแก่น จังหวัดขอนแก่น
document วิเคราะห์การทำบุญของคนไทยภายใต้ระบบสังคมบริโภคนิยม
document สรภัญญ์ เพลงขับเพื่อศาสนาและจริยธรรม
document วันสงกรานต์
document การปฏิบัติตนขณะตั้งครรภ์ : การเชื่อมโยงระหว่างความเชื่อดั้งเดิมอีสานกับความรู้ทางการแพทย์สมัยใหม่
document คติความเชื่อและระบบสังคมกับการปลูกสร้างเรือนพื้นบ้านและชุมชนผู้ไท
document คติชนวิทยาที่พบในงานของนักเขียนไทยสมัยรัตนโกสินทร์
document ประเพณีตักบาตรเทโว
document ศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สาระนาฏศิลป์ วิชาเลือกนาฏศิลป์พื้นเมือง เรื่อง ประเพณีผูกเสี่ยวจังหวัดขอนแก่น โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบย้อนกลับ(Backward Design) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนนครขอนแก่น
document ศาลเจ้าปึงเถ่ากง-ม่า ขอนแก่น
document ประเพณีผูกเสี่ยวจังหวัดขอนแก่น
document งานเทศกาลไหม ประเพณีผูกเสี่ยว และงานกาชาดจังหวัดขอนแก่น
document บุญกฐิน
document ประเพณีขึ้นเฮือนใหม่
document เบื้องลึกเบื้องหลังพระธาตุนาดูน
document ประวัติวัดศรีคุณเมือง อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย
document ฮีตสิบสอง
document วันสงกรานต์
document วันมาฆบูชา



RSS