บุญข้าวจี่หรือบุญเดือน ๓

  บุญข้าวจี่ 
          บุญข้าวจี่ เป็นงานบุญประเพณีของชาวอีสาน นิยมทำในเดือน ๓ จนเรียกว่า "บุญเดือนสาม" บุญข้าวจี่เป็นบุญประเพณีสำคัญที่มีกำหนดอยู่ในฮีตสิบสอง ดังคำโบราณที่รู้จักกันทั่วไปว่า "เดือนสามคล้อยจั่วหัวปั้นข้าวจี่ เดือนสี่คล้อยจัวน้อยเทศน์มัดซี (มัทรี)" คำว่า "ข้าวจี่" เป็นภาษาอีสาน คือการนำข้าวเหนียวที่นึ่งสุกดีแล้วมาปั้นให้เป็นรูปร่างกลมรีคล้ายกลองเพล นำไม้มาเสียบให้ทะลุไปตามทางยาว แล้วนำเกลือมาโรยเพื่อเพิ่มรสชาติ นวดคลึงดีแล้ว นำไปย่างไฟถ่านที่กำลังร้อน ซึ่งการย่างไฟนี้คนอีสานเรียกว่า "จี่" เดิมคนอีสานรู้จักปรุงรสด้วยเกลือเท่านั้น ต่อมามีกรรมวิธีการทำข้าวจี่ให้อร่อยขึ้นตามความนิยมของท้องถิ่น และบางแห่งก็ทำรูปร่างแตกต่างกันไป มีลักษณะรูปร่างทั้งกลมรี บางแห่งทำลักษณะแบน และทำเพื่อขายก็มี
► ที่มาของบุญข้าวจี่
          การทำบุญข้าวจี่ น่าจะมีที่มาจากเรื่องราวในพระพุทธศาสนา คือ เรื่องนางปุณณทาสี เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่เชตวันมหาวิหาร เมืองสาวัตถี มีหญิงคนหนึ่งชื่อ นางปุณณทาสีเป็นคนใช้เศรษฐี วันหนึ่งนางได้นำข้าวเปลือกไปซ้อมข้าว (ตำข้าว) นางได้เก็บเอาปลายข้าวมาทำเป็นขนมแป้งจี่ (ข้าวจี่) ตอนขากลับนางพบพระพุทธเจ้าและพระอานนท์ออกบิณฑบาต  นางคิดว่าถือเป็นโอกาสดีควรใส่บาตร แต่ก็มีเพียงแป้งจี่ ซึ่งถือว่าเป็นอาหารของคนจน พระองค์จะเสวยหรือไม่ แต่นางก็ใส่บาตรไปด้วยศรัทธา พระพุทธเจ้าทรงทราบวาระจิตของนาง  ประสงค์จะให้นางได้ยินดีในทาน  จึงทรงประทับเสวยแป้งจี่หรือข้าวจี่ไม่ไกลจากที่นางใส่บาตรนัก  นางรู้สึกยินดีในทานของตนเป็นอันมาก ต่อมาเมื่อได้ฟังพระธรรมเทศนาด้วย ก็ได้บรรลุธรรมชั้นโสดาบัน                            
          ด้วยเหตุนี้ ต่อมาชาวอีสาน  จึงนิยมทำข้าวจี่ใส่บาตรถวายพระทำบุญ จนเกิดเป็นประเพณี มักนิยมทำในช่วงเดือน๓  จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “บุญเดือน๓”
► วิธีการทำข้าวจี่ในปัจจุบัน

          ๑. เอาข้าวเหนียวนึ่งมาปั้นให้เป็นรูปร่างกลมรีคล้ายกลองเพล ใส่ก้อนน้ำอ้อย-น้ำตาลไว้ใจกลางข้าวเหนียว  นำไม้มาเสียบให้ทะลุไปตามทางยาว แล้วนำเกลือมาโรยเพื่อเพิ่มรสชาติ นวดคลึงดีแล้ว นำไปย่างไฟถ่านที่กำลังร้อน                
          ๒. ดีไข่ดิบใส่ถ้วย คนให้ละเอียด ราดใส่ปั้นข้าวเหนียวขณะย่างไปอยู่นั้น ย่างไปจนสุก
          ๓. เอาใส่ถาดไปตั้งไว้บนศาลาการเปรียญ (ต้องทำตอนเช้า)
          ๔. ทางวัดก็ทำพิธีทางสงฆ์ มีไหว้พระ รับศีล ทายกนำถวายข้าวจี่ ถวายพระสงฆ์ให้พร กรวดน้ำ เสร็จในช่วงเช้า(อย่าลืมพระต้องเทศน์อานิสงค์ข้าวจี่ ยกนิทานชาดกเป็นอุทาหรณ์)
       ส่วนข้าวจี่ที่เหลือ ให้นำจากวัดมาแบ่งปันให้ลูกหลานคนในครอบครัวได้ทานกัน ลูกหลานจะได้มีร่างกายแข็งแรงสุขภาพสมบูรณ์เป็นศิริมงคลต่อไป
  

    

                                      

<<<<<------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------->>>>>
 
ดูเพิ่มเติม
>> บุญข้าวจี่ ณ วัดไชยศรี ต.สาวะถี อ.เมือง จ.ขอนแก่น
>> วันมาฆบูชา
>> วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
>> ประเพณีบุญข้าวจี่
>> บุญเดือนสาม (บุญข้าวจี่) 
 
แห
      แหล่งอ้างอิง 
จา   กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม, สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดขอนแก่น, มหาวิทยาลัยขอนแก่น, เทศบาลนครขอนแก่น, เทศบาล  ตำบลสาวะถี, โครงการวัฒนธรรมไทยสายใยชุมชนตำบลสาวะถี และศูนย์พัฒนาการศึกษาสำหรับเด็ก (สปป.ลาว), ผู้จัดทำ.  (๒๕๕๔).        ฮีตเดือน ๓ บุญข้าวจี่ บ้านสาวะถี ๕-๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ณ วัดไชยศรี จังหวัดขอนแก่น.  ขอนแก่น: กรม.  (เอกสารแผ่นพับ). 
อีส  อีสานไกด์ โฮงมูลมังอีสาน.  (๒๕๕๔).  ประเพณีบุญข้าวจี่. [โฮมเพจ].  ค้นจาก http://www.esanguide.com/guru/detail.php?id=1493
เรียบเรียงโดย : นายิกา เดิดขุนทด
          บุญข้าวจี่ สันนิษฐานว่าน่าจะมาจากเรื่องราวในพระพุทธศาสนา คือเมื่อครั้งพระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่เชตวันมหาวิหาร เมืองสาวัตถี มีหญิงคนหนึ่งชื่อ นางปุณณทาสี เป็นคนรับใช้เศรษฐี วันหนึ่งนางได้นำข้าวเปลือกไปทำข้าวซ้อมมือ (ตำข้าวเพื่อให้เป็นข้าวสาร) นางได้เก็บเอาปลายข้าวมาทำขนมแป้งจี่ (ข้าวจี่) ตอนขากลับนางพบพระพุทธเจ้าและพระอานนท์ออกบิณฑบาต นางถือเป็นโอกาสดีที่จะได้ใส่บาตรพระพุทธองค์ แต่ก็มีเพียงแป้งจี่ ซึ่งถือว่าเป็นอาหารของคนจน หากใส่บาตรไปก็ไม่ทราบว่าพระองค์จะเสวยหรือไม่ แต่แล้วนางก็ตัดสินใจใส่บาตรไปด้วยจิตศรัทธา พระพุทธเจ้าทรงทราบวาระจิตของนาง ประสงค์จะให้นางมีความยินดีในทาน จึงทรงประทับเสวยแป้งจี่หรือข้าวจี่ไม่ไกลจากที่นางใส่บาตรนัก นางรู้สึกยินดีในทานของตนเป็นอันมาก ต่อมาเมื่อได้ฟังพระธรรมเทศนาด้วย นางก็ได้บรรลุธรรมชั้นโสดาบัน ด้วยเหตุนี้ต่อมาชาวพุทธโดยเฉพาะในภาคอีสานจึงนิยมทำข้าวจี่ถวายพระสืบต่อกันมาจนเป็นประเพณี โดยนิยมทำในช่วงเดือน ๓ ชาวอีสานจึงนิยมเรียกประเพณีนี้อีกอย่างหนึ่งว่า "บุญเดือน ๓" ซึ่งจัดอยู่ในฮีต ๑๒ ของภาคอีสานสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน


Copyright (c) 2010 by Academic Resources Center สงวนสิทธิ์ห้ามทำซ้ำ ทั้งหมด หรือบางส่วนไม่ว่าในรูปแบบ
หรือสิ่งใดโดยไม่ได้รับการอนุญาตจากผู้ดูแลเว็บไซต์เป็นลายลักษณ์อักษร
Contact Webmaster :library@kku.ac.th or nayder@kku.ac.th