มุมอีสานสนเทศ
ค้นหา:     ค้นหาขั้นสูง
เลือกดูตามหมวดหมู่:
English Version

ศาลหลักเมืองขอนแก่น เนื้อหาบทความ

ศาลหลักเมืองขอนแก่น

แสดงผล: 699
ลงคะแนน: 0
วันที่สร้าง: 11 Jan, 2011
ผู้สร้าง : นายิกา N.
วันที่ปรับปรุง : 11 Jan, 2012
ผู้แก้ไขปรับปรุง : นายิกา N.

          ศาลหลักเมืองขอนแก่น หรือศาลเจ้าพ่อเทพารักษ์หลักเมือง เดิมตั้งอยู่บ้านโนนเมือง อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น ซึ่งอยู่ห่างจากตัวอำเภอชุมแพ เป็นระยะทาง ๑ ก.ม. บริเวณโดยรอบเป็นเนินดินสูงมีพื้นที่ประมาณ  ๒๐ ไร่ ล้อมรอบด้วยคลองสองชั้นมีสะพานข้ามและมีทางเข้าออกทางเดียว ชาวอำเภอชุมแพ เรียกพื้นที่ตรงนี้ว่า "กู่"  ก่อนจะไปถึงกู่จะมีรูปพระนอนสลักลงบนหิน ปัจจุบันบริเวณนี้เป็นวัดป่าโนนเมือง     

 

          จากคำบอกเล่าของพระใบฎีกาสิทธิชัย จนฺทโสภโณ (ปุ๋ย) ผู้ช่วยเจ้าอาวาส วัดศรีนวล ปัจจุบัน และคุณพ่อจารย์นนท์ ซึ่งขณะนั้นเป็นมรรคนายกวัดศรีนวล ได้เล่าว่า ท่านเจ้าคุณพระราชสารธรรมมุนี (กันหาประภัสสรเถระ หรือหลวงพ่อกัณหา) เจ้าอาวาสวัดศรีนวลและเจ้าคณะจังหวัดขอนแก่น ได้เล่าให้ฟังว่า เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๘ ประมาณเดือน ๔  ได้มีคนแก่มากราบเรียนท่านเจ้าคุณและเล่าให้ท่านฟังว่า วันหนึ่งเขาได้ไปนอนพักที่โรงนา คืนแรกได้ฝันประหลาดว่า เห็นคนแก่นุ่งห่มชุดขาวบ่นว่า “อยากจะไปอยู่ในเมือง”  คืนที่สองฝันอีกว่า เห็นคนแก่นุ่งห่มชุดขาวบ่นว่า “อยากจะไปอยู่ในเมือง”  และพูดต่อว่า “อยากจะไปอยู่เป็นมิ่งขวัญของเมือง” พอคืนที่สามก็ได้ฝันลักษณะเดิมอีก จากนั้นพอตื่นขึ้นมา ก็รู้สึกว่าร้อนรนอยู่ไม่ได้ นอนไม่ได้ ไม่รู้จะไปปรึกษาใคร จึงเดินทางเข้าเมืองขอนแก่น มาเล่าความฝันให้ท่านเจ้าคุณฟัง และท่านเจ้าคุณได้ถามว่า “ลักษณะตรงนั้นเป็นอย่างไร” คนแก่ตอบว่า “ลักษณะตรงนั้นเป็นกู่เก่า มีป่าขนาดใหญ่ ต้นไม้ขึ้นหนาทึบมีเสาหิน และใบเสมาเป็นจำนวนมาก” ท่านเจ้าคุณจึงพูดว่า “ถ้าเป็นมิ่งเป็นขวัญของเมือง ก็ต้องเป็นหลักเมือง” ประกอบกับจังหวัดขอนแก่นยังไม่มีหลักเมือง ท่านเจ้าคุณจึงเรียนให้ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่นในขณะนั้น คือ หลวงธุรนัยพินิจ และได้มอบหมายให้ฝ่ายพระมหาสุคนธ์ พระอีกจำนวนหนึ่งพร้อมปลัดจังหวัดไปอัญเชิญหลักเมืองออกมาจากกู่ บ้านกู่โนนเมือง อำเภอชุมแพ ในขณะที่อัญเชิญหลักเมืองได้เกิดอาเพศฝนตกหนัก มีฟ้าผ่าลงมาโดนเสาหลักเมือง (ปัจจุบันเป็นเสาหลักเมืองอำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น) รถติดหล่ม ไม่สามารถเดินทางต่อไปได้ จึงปรึกษากันว่า “เฮาเป็นผู้น้อย ผู้ใหญ่บ่ได้มา เพิ่นเลยบ่ไป” จึงได้อัญเชิญหลักเมืองลงไว้ที่วัดพระนอน (ปัจจุบันคือ วัดป่าพระนอนพัฒนาราม) แล้วกลับมาเล่าเหตุการณ์ให้ท่านเจ้าคุณฟัง ท่านเจ้าคุณจึงได้ไปอัญเชิญด้วยตนเอง โดยได้นำหมอลำและภาพยนตร์ ไปฉลองสมโภชที่วัดพระนอนหนึ่งคืน แล้วค่อยอัญเชิญหลักเมืองออกมา ๔ หลัก หลักที่หนึ่ง ได้อัญเชิญมาประดิษฐานอยู่ที่ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองขอนแก่น ลักษณะหลักเมืองเป็นเสาหินทราย รูปทรงแปดเหลี่ยม สูงประมาณ ๓ เมตร มีลายสลักตัวหนังสือขอม

          หลักที่สอง ได้อัญเชิญมาประดิษฐานอยู่ที่ศาลหลักเมืองอำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น ลักษณะหลักเมืองเป็นเสาหินทราย รูปทรงกลมยาว สูงประมาณ ๔ เมตร มีลายสลักตัวหนังสือขอม

ส่วนสองหลักที่เหลือประดิษฐานอยู่ที่หน้าโบสถ์วัดศรีนวล จังหวัดขอนแก่น ลักษณะหลักเมืองเป็นเสาหินทราย สูงประมาณ ๓ เมตร มีลายสลักตัวหนังสือขอมโบราณเช่นเดียวกัน

          จากคำบอกเล่าของพระอธิการวัลลบ อคฺคธมฺโม เจ้าอาวาสวัดป่าพระนอนพัฒนาราม ได้เล่าว่า ในสมัยที่ท่านเป็นฆราวาส ขณะที่ท่านเป็นมรรคนายกวัดบุญบาลประดิษฐ์ มีนามเดิมว่า นายลบ จ้อยภูเขียว ได้มีพ่อพิมพ์ (ไม่ทราบนามสกุล) จากบ้านนาโพธิ์ มาเล่าให้ท่านเจ้าคุณพระวิสารทสุธี (บด เถสโว) เจ้าอาวาสวัดบุญบาลประดิษฐ์และเป็นเจ้าคณะอำเภอชุมแพในขณะนั้นให้ฟังว่า ตนฝันประหลาดเห็นคนแก่นุ่งห่มชุดขาวบ่นว่า “อยากจะไปอยู่ในเมือง”  คืนที่สองฝันอีกว่า เห็นคนแก่นุ่งห่มชุดขาวบ่นว่า “อยากจะไปอยู่ในเมือง”  และพูดต่อว่า “อยากจะไปอยู่เป็นมิ่งขวัญของเมือง” พอคืนที่สามก็ได้ฝันลักษณะเดิมอีก จากนั้นพอตื่นขึ้นมา ก็รู้สึกว่าร้อนรนอยู่ไม่ได้ นอนไม่ได้ ไม่รู้จะไปปรึกษาใคร จึงเดินทางมาเล่าความฝันให้ท่านเจ้าคุณฟัง ต่อมาอีกไม่นานพ่อพิมพ์คนดังกล่าวได้ขุดร้างถางพงป่าดอนในที่นาของตน ในขณะที่ขุดได้พบเสาหินทรายจำนวนมาก ที่เสาทุกต้นมีลายสลักตัวหนังสือขอมโบราณ จึงมาแจ้งข่าวให้ท่านเจ้าคุณทราบและนิมนต์ท่านออกไปดู ท่านเจ้าคุณได้ไปดูพร้อมกับคนเฒ่าคนแก่ที่รู้เรื่องโบราณวัตถุในขณะนั้น ผู้รู้เรื่องโบราณวัตถุลงความเห็นว่า นอกจากมีใบเสมาที่แสดงเขตของวัดแล้ว ยังมีเสาตะกอน หรือเสาเชิงตะกอน ที่ทำขึ้นเป็นฐานหรือเป็นหลักเขตของผู้ตายซึ่งเป็นชนชั้นสูงหรือเจ้าเมืองในสมัยโบราณ ท่านเจ้าคุณได้ปรึกษากับผู้รู้เห็นว่า อำเภอชุมแพในขณะนั้นยังไม่มีเสาหลักเมือง สมควรที่จะนำมาเป็นเสาหลักเมืองเพื่อเป็นมิ่งขวัญของอำเภอ ได้มอบหมายให้พระและฆราวาสจำนวนหนึ่งไปอัญเชิญมา ในขณะที่อัญเชิญหลักเมืองได้เกิดอาเพศฝนตกหนัก มีฟ้าผ่าลงมาโดนเสาหลักเมือง (ปัจจุบันเป็นเสาหลักเมืองอำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น) รถติดหล่ม ไม่สามารถเดินทางต่อไปได้ จึงปรึกษากันว่าสาเหตุที่เกิดอาเพศเช่นนี้ คงเป็นเพราะเจ้าของเสาเหล่านี้ต้องการให้พวกเราบ๋ะ (บนบาน) จึงได้บ๋ะว่า หากนำเสานี้ออกไปเป็นเสาหลักเมืองได้จะให้ ชาย ๑ คน หญิง ๑ คนเป็นบริวาร และจัดเลี้ยงอาหารคาวหวาน พร้อมมหรสพสมโภช หลังจากนั้นไม่นานมีคนงานรับจ้างขุดดินถมดิน ได้มาขุดดินที่บริเวณนั้นและเกิดอุบัติเหตุ รถคว่ำระหว่างเดินทางกลับ คนงานเสียชีวิต ชาย ๑ คน หญิง ๑ คน ชาวบ้านเล่าขานกันว่าที่เกิดเหตุเช่นนี้คงเป็นไปตามที่บ๋ะกัน หลังจากนั้นในเดือนเมษายน พ.ศ.๒๔๙๘ ท่านเจ้าคุณได้ไปอัญเชิญเสาหลักเมืองด้วยตนเอง และนำไปไว้ที่หนองอีเลิง ตรงข้ามวัดโพธิ์ธาตุ ปัจจุบันเป็นที่ตั้งศาลหลักเมืองชุมแพ 

          สำหรับเสาเสมาที่เหลือ ท่านเจ้าคุณได้นำไปไว้ที่วัดป่าพระนอน และได้มอบหมายให้นายลบ จ้อยภูเขียว มรรคนายกในขณะนั้น (ปัจจุบันคือ พระอธิการวัลลบ อคฺคธมฺโม เจ้าอาวาสวัดป่าพระนอนพัฒนาราม) เป็นผู้ดูแล ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๓๔ ท่านได้บวชเป็นพระภิกษุและได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็น  พระอธิการวัลลบ อคฺคธมฺโม เจ้าอาวาสวัดป่าพระนอนพัฒนาราม ในปี พ.ศ. ๒๕๔๐ ปัจจุบันท่านมีอายุ ๘๔ ปี ๒๑ พรรษาและได้จำพรรษาอยู่ที่วัดแห่งนี้จนถึงปัจจุบัน

พระอธิการวัลลบ อคฺคธมฺโม กำลังให้สัมภาษณ์กับผู้เขียน

การก่อสร้างศาลหลักเมือง




           สถานที่ก่อสร้างศาลหลักเมือง ซึ่งเป็นที่ตั้งของศาลหลักเมืองในปัจจุบัน เทศบาลเมืองขอนแก่น (ขณะนั้น) ได้ซื้อที่ดินจากนายโสภัณ สุภธีระ จำนวนเนื้อที่ ๓ ไร่ ๑ งาน ๒๖ ตารางวา จำนวนเงิน ๑ แสนบาท ใช้ชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ คือ เทศบาลเมืองขอนแก่น ปัจจุบันเป็น  เทศบาลนครขอนแก่น โดยเงินที่ใช้ซื้อที่ดินและก่อสร้างศาลหลักเมืองเป็นเงินบริจาคจากประชาชนชาวขอนแก่นและผู้มีจิตศรัทธาทั้งสิ้น
          หลังจากได้ก่อสร้างศาลหลักเมืองเสร็จเรียบร้อย และได้มีการจัดพิธีสมโภชในวันที่ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๙๙ ภายหลังจัดตั้งศาลหลักเมืองเสร็จเรียบร้อย ท่านเจ้าคุณพระราชสารธรรมมุนี (หลวงพ่อกัณหา) และหลวงธุรนัยพินิจ ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น ได้มอบหมายให้เทศบาลเมืองขอนแก่นในขณะนั้น เป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ของศาลหลักเมือง ซึ่งได้แก่ ค่าเช่าอาคารเพื่อจัดบริการจำหน่ายเครื่องบูชาศาล  เงินบริจาคและเงินทำบุญของผู้มีจิตศรัทธา เป็นต้น เพื่อให้ทางเทศบาลนำเงินผลประโยชน์เหล่านี้มาใช้ในการบูรณะซ่อมแซมศาลหลักเมือง และได้แต่งตั้งให้ คุณพ่อจารย์นนท์ เป็นผู้ดูแลรักษาศาลเจ้าพ่อหลักเมือง สืบทอดจนมาถึงลูกหลานในปัจจุบัน คือ นายสมพงษ์ พูลพุทธา

          พิธีตั้งเสาหลักเมือง นิมนต์พระมาสวด ยกตั้งตามแบบพิธีพุทธ ณ ที่สนามศาลาสุขใจ ท่านเจ้าคุณได้ตั้งชื่อว่า “ศาลเทพารักษ์หลักเมือง”  มีนามย่อว่า  “อินทร์ตา”  การก่อสร้างได้ร่วมกันสร้างทั้งคนจีนและคนไทยในจังหวัดขอนแก่น และได้อัญเชิญอากง อาม่าอยู่รวมกันกับหลักเมือง  คนจีนเรียกว่า “ศาลหลักเมืองกง”  คนไทยเรียกว่า  “ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง”

          ปัจจุบันเทศบาลนครขอนแก่น ได้สร้างศาลหลักเมืองใหม่ โดยได้เริ่มก่อสร้างช่วงต้นปี พ.ศ.๒๕๕๐ แล้วเสร็จเมื่อช่วงปลายปี พ.ศ.๒๕๕๐ และได้มีการสมโภชศาลหลักเมืองใหม่เมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๐

พระใบฎีกาสิทธิชัย จนฺทโสภโณ (ปุ๋ย) ผู้ให้ข้อมูล

 

การบูชาศาลหลักเมืองขอนแก่น

          ชาวขอนแก่นถือว่าศาลหลักเมืองเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่เคารพสักการบูชาของชาวเมืองเพื่อขอพรให้ประสบผลสำเร็จตามที่ปรารถนา หรือช่วยดับทุกข์ให้หายจากโรคภัยไข้เจ็บ หรือพ้นจากเคราะห์กรรมต่าง ๆ  บ้างก็มากราบขอพร  บ้างก็มาเขียนข้อความตามที่ตนเองประสงค์จะให้เจ้าพ่อเทพารักษ์หลักเมืองช่วยดลบันดาลให้เป็นไป 

          บางคนก็มาบน เมื่อประสบความสำเร็จ ก็จะมาแก้บน โดยมีอาหารคาวหวาน ขนม ผลไม้ ๕-๙ อย่าง และพวงมาลัย ๗ สี ๗ ศอก มาถวายเจ้าพ่อที่คนจีนเรียกว่า ซาแซ”  ประกอบด้วย หมู เป็ด และไก่  หรือ โหงวแซ  ที่มี หมู เป็ด ไก่ ปลา กุ้ง หรือปลาหมึก

บางคนอาจจะถวายช้าง ม้า แก้บน เพื่อเป็นพาหนะของเจ้าพ่อ หรือถวายงาช้าง เป็นต้น

บ้างก็มาปล่อยนก เพื่อสะเดาะเคราะห์ หรือเสี่ยงเซียมซี เพื่อเสี่ยงทาย เมื่อได้ใบเซียมซีที่ทายทักว่าดี ก็จะดีใจ แต่บางคนเมื่อได้ใบเซียมซีที่ทายทักว่าไม่ดี ก็จะเอาไปเสียบไว้ที่ต้นโพธิ์ เพราะมีความเชื่อว่า สิ่งที่ไม่ดีไม่ควรนำติดตัวกลับบ้าน ควรฝากไว้กับต้นไม้ใหญ่ที่มีเทพารักษ์สิงสถิตอยู่ ซึ่งปัจจุบันผู้ดูแลศาลหลักเมืองได้ติดป้ายห้ามนำใบเซียมซีมาเสียบไว้ที่ต้นโพธิ์แล้ว เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยและสวยงาม

สำหรับผู้ที่ประสงค์จะไหว้สักการะศาลหลักเมืองขอนแก่น หากยังไม่ทราบว่าจะปฏิบัติอย่างไร ให้สังเกตที่ศาลหลักเมืองจะมีแผ่นป้ายแนะนำลำดับขั้นตอนการไหว้และคำกล่าวบูชาศาลหลักเมือง

 

ลำดับขั้นตอนการไหว้

                1. ไหว้เทวดา ฟ้าดิน ๓ ดอก

                2. ไหว้เจ้าพ่อหลักเมือง 3 กระถาง กระถางละ ๓ ดอก

                3. ไหว้ศาลพระภูมิ ๓ ดอก

                4. ไหว้ที่หน้าประตูทางเข้า ซึ่งมี ๔ ประตู ประตูละ ๑ ดอก

 คำกล่าวบูชาศาลหลักเมือง

                ตั้งนะโม ๓ จบ  ดังนี้    นะโมตัสสะ ภะคะวโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ

                แล้วกล่าว  นะโมเม  ชะยะมังคะลัง     ภูมิเทวานัง  สักการะวัณธะนัง    (สาธุ)

          ปัจจุบันศาลหลักเมืองขอนแก่นและบริเวณโดยรอบศาลหลักเมือง ทางเทศบาลนครขอนแก่นและองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น ได้ร่วมกันเป็นผู้ดูแล บำรุงรักษา โดยใช้เงินที่ได้จากการบริจาคของผู้มีจิตศรัทธามาบริหารจัดการ

เรื่องและภาพ : นายิกา เดิดขุนทด

แหล่งอ้างอิง
กลุ่มปัญจมิตรขอนแก่น.  (๒๕๕๓).  “เอาศาลหลักเมืองของคนขอนแก่นคืนมา” รวมพลังศรัทธาเพื่อรักษาศาลหลักเมืองของเรา.  ค้นเมื่อ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ จาก http://www.welovelakmuang.org/

พระใบฎีกาสิทธิชัย จนฺทโสภโณ (ปุ๋ย).  (13 กุมภาพันธ์ 2554).  สัมภาษณ์.  ผู้ช่วยเจ้าอาวาส วัดศรีนวล จังหวัดขอนแก่น. 

พระอธิการวัลลบ อคฺคธมฺโม (ลบ จ้อยภูเขียว) .  (๒๑ มีนาคม ๒๕๕๔).  สัมภาษณ์.  เจ้าอาวาสวัดป่าพระนอนพัฒนาราม ตำบลชุมแพ อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น. 

สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดขอนแก่น.  แหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดขอนแก่น : ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองขอนแก่น.  ค้นเมื่อ 12 พ.ย.2553 จาก http://province.prd.go.th/khonkaen/tour/sarnjawpor.html

  

 

         


ลิขสิทธิ์ © 2012 สงวนลิขสิทธิ์ ห้ามทำซ้ำทั้งหมดหรือบางส่วน ไม่ว่าในรูปแบบใดโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ดูแลเว็บไซต์เป็นลายลักษณ์อักษร
ติดต่อผู้ดูแลเว็บไซต์ : somphot@kku.ac.th ผู้พัฒนาโปรแกรม
หมวดหมู่อื่น ๆ
document นิยายปรัมปราและนิทานเกี่ยวกับไหม
document คำขวัญ ประวัติอำเภอชนบท ศาลเจ้าพ่อมเหศักดิ์
document หมู่บ้านงูจงอาง : ภูมิปัญญาของบ้านโคกสง่า
document อำเภอเมืองขอนแก่น
document ข้อมูลจังหวัดขอนแก่น
document ข้อมูลทั่วไปอำเภอหนองสองห้อง
document แผนที่จังหวัดขอนแก่น
document เขื่อนอุบลรัตน์
document บางแสน 2 ขอนแก่น
document จากบ้านเกิ้งมาเป็นอำเภอบ้านไผ่ในปัจจุบัน
document รายงานการวิจัยเรื่องผลการบรรเทาและแก้ปัญหาผู้ยากลำบากของโครงการเมนู 5 กรณีศึกษา : มูลนิธิองค์กรชาวบ้านเพื่อการพัฒนาภาคอีสานขอนแก่นเพื่อการพัฒนา
document รายงานการศึกษาเรื่องผลของการแก้ปัญหาเร่งด่วนกลุ่มผู้ยากลำบาก : กรณีศึกษาเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอดส์ จังหวัดขอนแก่น
document ปราชญ์ชาวบ้าน จังหวัดขอนแก่น
document การจัดการสารสนเทศภูมิปัญญาชาวบ้านของเครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านภาคอีสาน
document Lessons from the sufficiency economy applications of Prach Chao Ban: Case study of Khon Kaen
document แนวทางการพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดและศักยภาพการท่องเที่ยวเพื่อสัมผัสวัฒนธรรมชนบท(โฮ มสเตย์)บ้านซะซอม ตำบลนาโพธิ์กลาง อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี
document หมู่บ้านเต่า อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น
document ดอกลำดวน
document ผ้าไหมบ้านเขว้า
document ปราสาทวัดสระกำแพงน้อย
document ข้อมูลทั่วไปจังหวัดนครพนม
document พุทธสถานภูปอ
document ปราสาทสระกำแพงใหญ่
document เขื่อนลำปาว
document อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท
document พุทธมณฑลอีสาน กับฐานอารยธรรม ผ้าใหมล้ำเลอค่า ตักศิลานคร
document พระธาตุพนมบรมเจดีย์
document ไหว้พระ ธาตุประจำวันเกิด (พระธาตุประสิทธิ์)
document ไหว้พระ ธาตุประจำวันเกิด (พระธาตศรีคูณ)
document วัดพระธาตุเรณู
document ปราสาทเขาพระวิหาร
document พระธาตุนาดูน
document พระธาตุยาคู (พระธาตุใหญ่)
document พระพุทธรูปยืนมงคลและพระพุทธมิ่งเมือง
document พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง
document วัดพุทธนิมิต (ภูค่าว)
document ไหว้พระ ธาตุประจำวันเกิด (พระธาตุมหาชัย)
document สวนสมเด็จศรีนคริทร์
document พิพิธภัณฑ์สิรินธร หรือ อุทยานโลกไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว
document หมู่บ้านหัตถกรรมบ้านหนองเขื่อนช้าง
document สวนกล้วยไม้หอมอุดรซันไฌน์
document พระธาตุเรืองรอง
document วนอุทยานโกสัมพี
document พระธาตุท่าอุเทน
document ไหว้พระ ธาตุประจำวันเกิด (พระธาตุนคร)
document อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร
document เขตห้ามล่าสัตว์ป่าดูนลำพัน
document วัดพระพุทธบาทบัวบาน
document บ้านนาจอก (บ้านลุงโฮ หรื บ้านท่านโฮจิมินห์)
document พระธาตุดอนแก้ว
document พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติมหาวีรวงศ์
document เสื่อกกบ้านแพง
document ข้อมูลทั่วไปจังหวัดสกลนคร
document "เมืองแห่งทะเลภูเขา สุดหนาวในสยาม ดอกไม้งามสามฤดู"
document วนอุทยานวังสามหมอ
document ด่านพรมแดนช่องสะงำ
document พระธาตุขามแก่น
document แหล่งโบราณคดีบ้านกุดคอเมยและบ้านกุดกวางสร้อย
document โนนวัดป่า
document เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง
document ปราสาทหินพนมวัน
document หมู่บ้านงูจงอาง
document วัดมหาธาตุ ยโสธร
document ถ้ำเอราวัณ
document เขื่่อนอุบลรัตน์
document อุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ
document ศูนย์วิจิตรแพรวาบ้านโพน
document อุทยานแห่งชาติภูกระดึง
document อนุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
document พระธาตุก่องข้าวน้อย
document อุทยานแห่งชาติภูเวียง
document อุทยานแห่งชาติภูผาม่าน
document อุทยานแห่งชาติภูเรือ
document ปราสาทเปือยน้อย
document ศาลาใหมไทย
document พระธาตุเชิงชุม สกลนคร
document อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย
document โฮงมูนมังเมืองขอนแก่น
document พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์
document วัดพระธาตุบังพวน
document พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย
document เมืองโบราณโนนเมือง
document พิพิธภัณฑ์อาจารย์มั่น ภูริทัตโต
document พุทธสถานภูสิงห์
document วัดโพธิ์ชัย
document พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติร้องเอ็ด
document พระธาตุนารายณ์เจงเวง
document พิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหิน
document ปรางค์กู่
document พิพิธภัณฑ์ พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร
document สวนสัตว์นครราชสีมา
document วัดบูรพากู่กาสิงห์
document อุทยานแห่งชาติภูพาน, สกลนคร
document แนะนำเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน
document พระธาตุภูเพ็ก
document กลุ่มทอผ้าบ้านหวายหลึม
document แหล่งโบราณคดีบ้านปราสาท
document สังเวชนียสถาน 4 ตำบล
document กู่พระโกนา
document อุทยานเขาใหญ่
document พระมหาเจดีย์ชัยมงคล
document ข้อมูลทั่วไปจังหวัดมุกดาหาร
document หอไตรวัดสระไตรนุรักษ์
document หมู่บ้านทำหมอนขิตบ้านศรีฐาน
document หอแก้วมุกดาหารเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก
document ภูถ้ำพระ
document อุทยานแห่งชาติภูผาเทิบ-มุกดาหาร
document พระธาตุศรีสองรัก
document วัดพระพุทธบาทยโสธร อ.มหาชนะชัย
document วัดสองคอน จ.มุกดาหาร
document อนุสาวรีย์พระยาภักดีชุมพล
document วัดทุ่งศรีเมือง
document โบสถ์คริสต์บ้านซ่งแย้
document แก่งกะเบา
document สวนหินผางาม
document ศูนย์วัฒนธรรมอีสานใต้
document ปรางค์กู่
document พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอุบลราชธานี
document วัดมโนภิรมย์
document วนอุทยานเขากระโดง
document อุทยานแห่งชาติตาดโตน
document อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง
document อุทยานแห่งชาติภูสระดอกบัว
document น้ำตกสำโรงเกียรติ
document ปราสาทเมืองต่ำ
document ด่านพรมแดนช่องเม็ก
document ตลาดสินค้าอินโดจีน จังหวัดมุกดาหาร
document อุทยานแห่งชาติภูแลนคา
document ถ้ำโพธิสัตว์
document พระเจ้าใหญ่วัดหงษ์
document อุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ
document มอหินขาว
document หมู่บ้านทอผ้าไหม
document อุทยานแห่งชาตินาแห้ว
document วัดหินหมากเป้ง
document อุทยานแห่งชาติผาแต้ม
document ปรางค์กู่สวนแตง
document หมู่บ้านทอผ้าไหมบ้านเขว้า
document เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว
document อุทยานแห่งชาติภูจอง-นายอย
document วัดบูรพาราม
document พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสุรินทร์
document แก่งหินงามสามพันโบก จ.อุบลราชธานี
document วัดภูทอก
document หมู่บ้านช้างบ้านตากลาง
document หมู่บ้านทอผ้าไหมบ้านท่าสว่าง
document หมู่บ้านหัตถกรรมเขวาสินรินทร์
document ตลาดท่าเสด็จ
document ปราสาทศรีขรภูมิ
document แหล่งโบราณคดีบ้านก้านเหลือง
document ปราสาทบ้านพลวง
document สะพานมิตรภาพไทย-ลาว
document เขื่อนสิรินธร
document วัดพระเหลาเทพนิมิตร
document อุทยานแห่งชาติภูสระบัว
document สวนเกษตรชิตสกนธ์
document หมู่บ้านหมอลำ บ้านปลาค้าว
document แหล่งเรียนรู้ชุมชนโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์เพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอนสาระ เศรษฐศาสตร์ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาชัยภูมิเขต 1
document Eco-tourism : การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
document กลยุทธ์การตลาดการท่องเที่ยวจังหวัดร้อยเอ็ด
document กลยุทธ์การตลาดการท่องเที่ยวชายแดน : กรณีศึกษาสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 2 จังหวัดมุกดาหาร
document การจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านปราสาท อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา
document การตลาดเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติภูกระดึง จังหวัดเลย
document การท่องเที่ยวกับกระแสวัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลง
document การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน : กรณีศึกษา หาดชบา ตำบลชบา อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
document การบริหารจัดการการท่องเที่ยวแบบชุมชนมีส่วนร่วม กรณีหมู่บ้านโคกโก่งอำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
document การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการท่องเที่ยว หมู่บ้านบุไทรโฮมสเตย์ อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา
document การเสริมบทบาทของ อบต. ในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว กรณีศึกษา อบต. บ้านเป็ดกับบึงหนองโคตร อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น
document การพัฒนาการจัดการสวนเกษตรสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร : กรณีศึกษา สวนยอ รอยัล ทรอปปิคส์
document การพัฒนาการท่องเที่ยวในเชิงบริบท
document การพัฒนาตลาดการท่องเที่ยวของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : กรณีศึกษาแหล่งท่องเที่ยวในอีสานใต้ บุรีรัมย์ นครราชสีมา สุรินทร์ ศรีสะเกษและอุบลราชธานี
document การพัฒนาตลาดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : กรณีศึกษาแหล่งท่องเที่ยวใน 5 จังหวัด คือ ขอนแก่น นครราชสีมา บุรีรัมย์ เลยและอุบลราชธานี
document การพัฒนาตลาดสินค้าของที่ระลึกเพื่อการท่องเที่ยวในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอน ล่าง
document การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเสริมทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวสำหรับผู้ทำงานในธุร กิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว
document การพัฒนาแบบเรียนและคู่มือครูรายวิชา ส071 ท้องถิ่นของเรา 1 เรื่องสภาพแวดล้อมทางกายภาพของภูเวียงสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น
document การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ อำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น
document การศึกษาธุรกิจการบริการอาหารเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในพื้นที่ภาคตะวั นออกเฉียงเหนือตอนล่าง
document การศึกษาศักยภาพทรัพยากรการท่องเที่ยวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
document การศึกษาเพื่อกำหนดแผนปรับปรุงสิ่งแวดล้อมของพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว สถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าลำปาว (สวนสะออน) และหาดดอกเกด (เขื่อนลำปาว) จังหวัดกาฬสินธุ์
document ข่าวเกี่ยวมหาวิทยาลัยขอนแก่นในหนังสือพิมพ์
document การพัฒนาตลาดสินค้าของที่ระลึกเพื่อการท่องเที่ยวในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอน ล่าง
document การพัฒนาแบบเรียนและคู่มือครูรายวิชา ส071 ท้องถิ่นของเรา 1 เรื่องสภาพแวดล้อมทางกายภาพของภูเวียงสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น
document การศึกษารูปแบบของแหล่งที่พักแรมที่สนับสนุนการท่องเที่ยวในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนื อตอนล่าง
document ความรู้ทัศนคติและการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวในท้องถิ่น : กรณีศึกษา หาดบางแสน 2 อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น
document ทบทวนแผนพัฒนาการท่องเที่ยวภาคอีสาน
document ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อแรงจูงใจที่ทำให้นักท่องเที่ยวเดินทางไปท่องเที่ยวบริเวณพรมแด นด่านตรวจคนเข้าเมืองมุกดาหาร
document ปัจจัยสำหรับการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในวนอุทยาน (สวนหิน) ของประเทศไทย : กรณีศึกษา วนอุทยานผางาม จังหวัดเลย
document ปัจจัยที่มีผลต่อการท่องเที่ยวของชาวต่างชาติในจังหวัดอุดรธานี
document พฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงพุทธของนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวในจังหวัดสกลนคร
document รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์การพัฒนาการท่องเที่ยวแหล่งทรัพยากรทางวัฒนธรรมตามเส้นทาง ลำแม่น้ำมูล
document รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์รูปแบบของที่ระลึกทึ่อาจพัฒนาขึ้นเพื่อการท่องเที่ยวตามลำ แม่น้ำมูล
document รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ศักยภาพการท่องเที่ยวของแหล่งที่อยู่อาศัยสัตว์ป่าชายน้ำต ามลำแม่น้ำมูล
document รายงานการวิจัยเรื่องการพัฒนาตลาดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : กรณีศึกษาแหล่งท่องเที่ยวใน 5 จังหวัดคือ ขอนแก่น นครราชสีมา บุรีรัมย์ เลยและอุบลราชธานี
document รายงานการวิจัยเรื่องการพัฒนาตลาดการท่องเที่ยวของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : กรณีศึกษาแหล่งท่องเที่ยวในอีสานใต้ คือ บุรีรัมย์ นครราชสีมา สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
document รายงานการวิจัยเรื่องการพัฒนาศักยภาพในการนำเที่ยวของชุมชนโดยรอบ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พื้นที่โคกภูตากา อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น
document รายงานการวิจัยเรื่องการศึกษารูปแบบของแหล่งที่พักแรมที่สนับสนุนการท่องเที่ยวในเขต ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน : กรณีศึกษาจังหวัดหนองคาย
document รายงานการวิจัยเรื่องการศึกษารูปแบบของแหล่งที่พักแรมที่สนับสนุนการท่องเที่ยวในเขต ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
document การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจในชุมชนลุ่มแม่น้ำมูลตั้งแต่ พ.ศ. 2475 ถึงปัจจุบัน
document กบฎผู้มีบุญโสภาแห่งบ้านสาวะถี จังหวัดขอนแก่น
document ประวัติตำบลเขื่อนอุบลรัตน์
document เขื่อนอุบลรัตน์
document สะพานหินธรรมชาติ อำเภออุบลรัตน์
document อุทยานแห่งชาติน้ำพอง-ภูเม็ง อำเภออุบลรัตน์
document หาดจอมทอง หินลอยน้ำ อำเภออุบลรัตน์
document หาดบางแสน 2
document ประวัติอำเภอเขื่อนอุบลรัตน์
document ศาลเจ้าจอมนรินทร์
document สวนเต่าเพ็ก
document หมู่บ้านงูจงอาง
document พระนรินทร์สงครามหรือพระยานรินทร์
document ศาลเจ้าจอมนรินทร์
document เส้นทางท่องเที่ยวถวายเทียนพรรษาภาคอีสาน
document การศึกษาบทบาทการละเล่นพื้นบ้านของเด็กจังหวัดขอนแก่น
document ตัวชี้วัดที่มีปัญหามากของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำแนกตามตัวชี้วัดระดับจังหวัด ปี 2552
document รายงานการวิจัยการจัดการและการพัฒนาการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ : กรณีศึกษาการวางแผนพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวระหว่างภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สปป.ลาว กัมพูชาและเวียดนาม
document สรุปประสบการณ์การจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศภาคอีสาน
document การจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านปราสาท อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา
document การบริหารจัดการการท่องเที่ยวแบบชุมชนมีส่วนร่วม กรณีหมู่บ้านโคกโก่ง อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
document การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจในชุมชนลุ่มแม่น้ำมูลตั้งแต่ พ.ศ. 2475 ถึงปัจจุบัน
document ความรู้ทัศนคติและการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวในท้องถิ่น : กรณีศึกษา หาดบางแสน 2 อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น
document รายงานการประชุมประชาพิจารณ์โครงการวิจัยเพื่อเสนอแนะการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมของแหล่ งท่องเที่ยวในเขตจังหวัดขอนแก่นและจังหวัดใกล้เคียง : เส้นทางที่ 2 พระธาตุขามแก่น กู่ประภาชัย หมู่บ้านงูจงอาง น้ำตกบ๋าหลวง วัดโพธาราม อุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ เขื่อนอุบลรัตน์ วัดพระพุทธบาทภูพานคำ บ้านท่าเรือ บางแสน 2 อุทยานแห่งชาติน้ำพอง
document รายงานฉบับสมบูรณ์เรื่องการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
document รายงานที่ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัย ประเภทอุดหนุนทั่วไป มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปีงบประมาณ 2545 โครงการวิจัยเรื่องการออกแบบพัฒนาสื่อเพื่อการส่งเสริมการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์ก ารท่องเที่ยวกรณีศึกษาในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
document รายงานวิจัยชุดโครงการวิจัยการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เรื่องการเพิ่มศักยภาพในการพัฒนารูปแบบการผลิตสินค้าประเภทของที่ระลึกเพื่อการท่องเ ที่ยวในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
document รายงานการวิจัยศักยภาพของชุมชนอีสาน : กรณีศึกษาบ้านดอนแคน ตำบลทุ่งกุลา อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด
document อำเภอหนองสองห้อง จ.ขอนแก่น
document อำเภอภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่น
document สถานที่ท่องเที่ยว อ.ชนบท
document อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น
document จังหวัดบุรีรัมย์ [BURIRAM]
document จังหวัดกาฬสินธุ์ Kalasin
document จังหวัดเลย(loei)
document จังหวัดอุบลราชธานี (Ubonratchathani Province)
document การเปลี่ยนแปลงอาชีพของชาวอีสานในชุมชนชานเมืองหลักตั้งแต่ตั้งชุมชนถึงปัจจุบัน
document พัฒนาการของการใช้ที่ดินชุมชนชานเมืองหลักภาคอีสาน
document รายงานการวิจัยเรื่องการเปลี่ยนแปลงและรูปแบบการพัฒนาหมู่บ้านในเขตป่าเตรียมการสงวน : ศึกษากรณีบ้านโคกสง่า อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ
document รายงานการวิจัยเรื่องพัฒนาการของการใช้ที่ดินและการเปลี่ยนแปลงอาชีพของชาวอีสานในชุ มชนเมืองหลัก : กรณีบ้านโนนขมิ้น จังหวัดอุดรธานี
document รายงานการวิจัยเรื่ององค์กรชุมชน : 6 กรณีศึกษาในภาคอีสาน
document ศักยภาพของชุมชนและองค์กรชุมชนในการพัฒนาตนเอง: กรณีศึกษาเทศบาลตำบลไทรโยง-ไชยวาล
document สถานภาพการศึกษาประวัติศาสตร์และโบราณคดีอีสานในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา
document เทคโนโลยีการถลุงเหล็กและการผลิตเกลือของอีสานสมัยโบราณ
document พลวัตชุมชนชายแดนไทย-ลาวในกระแสโลกาภิวัตน์
document สถานภาพการให้ความร่วมมือทางวิชาการของมหาวิทยาลัยขอนแก่นแก่ประเทศเพื่อนบ้าน พ.ศ. 2535-2537
document สิทธิเด็กในครอบครัวจากมุมมองการปฏิบัติต่อเด็กของครอบครัวชนบท
document การวางแผนพัฒนาระดับภูมิภาค : ทัศนะจากญี่ปุ่น การวางแผนพัฒนาระดับภูมิภาค : ทัศนะจากญี่ปุ่น
document การสร้างอัตลักษณ์ของชาวชุมชนแออัดในจังหวัดขอนแก่น
document รายงานการวิจัยเรื่องประวัติศาสตร์เศรษฐกิจลุ่มแม่น้ำชีระหว่าง พ.ศ. 2475-2527 : กรณีสามหมู่บ้านในจังหวัดร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ และขอนแก่น
document รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์การพัฒนาการท่องเที่ยวแหล่งทรัพยากรทางวัฒนธรรมตามเส้นทาง ลำแม่น้ำมูล
document มูนมังขอนแก่น
document กู่แก้ว อ.เมือง จ.ขอนแก่น
document การพัฒนาเกมการเล่นพื้นเมืองของไทย "งูกินหาง" เพื่อการแข่งขัน
document การพัฒนาเกมการเล่นพื้นเมืองของไทย "เตย" เพื่อการแข่งขัน
document หกเหลี่ยมเศรษฐกิจ
document อำเภอบ้านแฮด
document ศาลเจ้าปู่ครูเย็น ริมบึงแก่นนคร จ.ขอนแก่น
document ศาลเจ้าแม่สองนาง ริมบึงแก่นนคร จ.ขอนแก่น
document อำเภอหนองนาคำ
document อำเภอโคกโพธิ์ไชย
document อำเภอโนนศิลา
document ประวัติความเป็นมาของอำเภอภูเวียง
document พระมหาธาตุแก่นนคร วัดหนองแวง พระอารามหลวง
document ประวัติความเป็นมาอำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น
document พระธาตุพระอานนท์ วัดมหาธาตุ จังหวัดยโสธร
document ประวัติความเป็นมาของหลวงพ่อพระลับ
document ขอนแก่นเคานท์ดาวน์ ปาร์ตี้ปีแสง 2011
document เมืองโบราณโนนเมือง
document วัดป่าพระนอนพัฒนาราม
document ประวัติเมืองเชียงคาน



RSS