ค้นหา:
ค้นหาขั้นสูง
|
เลือกดูตามหมวดหมู่:
|
English Version |
มูนมังขอนแก่น |
|||||
มูน หรือ มูนมัง เป็นคำไทยอีสาน หมายถึง มรดก (บุญเกิด พิมพ์วรเมธากุล และนภาพร พิมพ์วรเมธากุล, 2545) ดังนั้น มูนมังขอนแก่น จึงหมายถึง มรดกของจังหวัดขอนแก่นที่สืบทอดต่อกันมาจากบรรพบุรุษรุ่นแล้วรุ่นเล่าจนถึงรุ่นลูกหลานในยุคปัจจุบัน ซึ่งมุมอีสานสนเทศได้พยายามรวบรวมและเสาะแสวงหาข้อมูลมาจัดเก็บไว้ในฐานข้อมูลอีสานสนเทศ ดังมีรายละเอียดดังนี้ “ขอนแก่น” เป็นคำไทยธรรมดา ไม่มีคำแปลเหมือนชื่อเมืองอื่น ๆ ที่ใช้ศัพท์ภาษาอื่นตั้งแล้วแปลความหมายให้เหมาะสมกับภูมิประเทศ หรือประวัติความเป็นมาของแต่ละจังหวัด เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ตอนกลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีความเจริญรุ่งเรืองในด้านต่าง ๆ เป็นศูนย์กลางทางการศึกษา คือ เป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่ใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีศักยภาพทางการท่องเที่ยวทั้งทางธรรมชาติและโบราณสถานมากมาย ดังปรากฏร่องรอยให้เห็นในปัจจุบัน เช่น แหล่งขุดค้นซากฟอสซิลไดโนเสาร์ และภาพเขียนสีถ้ำฝ่ามือแดง อำเภอภูเวียง เมืองโบราณสมัยทวาราวดี ที่อำเภอชุมแพ เสมาหินที่เมืองชัยวาน อำเภอมัญจาคีรี และศาสนสถานสมัยขอมที่อำเภอเปือยน้อย เป็นต้น มีวัฒนธรรมประเพณีต่าง ๆ มีผลิตภัณฑ์พื้นบ้านที่ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวและผู้มาเยือน เช่น ผ้าไหมมัดหมี่อำเภอชนบท นอกจากนี้ยังมีแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงาม และการคมนาคมที่สะดวกตลอดปี ซึ่งชาวพื้นเมืองนับถือว่าเป็นปูชนียสถานที่สำคัญยิ่งของจังหวัด โดยในวันเพ็ญเดือน ๖ ของทุกปีจะมีพิธีฉลองและนมัสการเป็นประจำ ชาวเมืองจึงถือเอาสิ่งมงคลนี้มาตั้งชื่อเมืองว่า “เมืองขามแก่น” แต่ต่อมาเรียกเพี้ยนไปเป็น “ขอนแก่น” ปัจจุบันทางจังหวัดได้นำเจดีย์ขามแก่นมาเป็นตราประจำจังหวัด
ประวัติของเมืองขอนแก่นปรากฏหลักฐานทางด้านประวัติศาสตร์และมานุษยวิทยาว่า อาณาเขตจังหวัดขอนแก่นเคยเป็นดินแดนที่มีผู้คนตั้งบ้านเรือนอยู่ มีความเจริญรุ่งเรือง มีอารยธรรมสูงส่งมาก่อนสมัยประวัติศาสตร์และคาบเกี่ยวกับสมัยประวัติศาสตร์ ทำให้ขอนแก่นเป็นเมืองที่มีมรดกทางวัฒนธรรมของชนชาติโบราณมากมาย ดังนี้ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ สมัยกรุงสุโขทัย สมัยกรุงศรีอยุธยาและกรุงธนบุรี สมัยรัตนโกสินทร์ เจ้าแก้วบุฮม (แก้วบรม) กับเพี้ยเมืองแพน (เทียบบรรดาศักดิ์ได้เสมอชั้น “พระ”) สองพี่น้อง ซึ่งเป็นโอรสของเจ้าแสนปัจจุทุม (ท้าวแสนแก้วบุฮม) ได้ยกกองทัพจากบ้านเพี้ยปู่ แขวงเมืองทุละคม (ปัจจุบันอยู่ในเวียงจันทน์) ข้ามแม่น้ำโขงมาตั้งถิ่นฐานที่บ้านโพธิ์ตาก (ปัจจุบันคือ บ้านโพธิ์ตาม ตำบลบ้านกง อ.เมืองขอนแก่น) และบ้านยางเดี่ยว บ้านโพธิ์ศรี (ปัจจุบันคือ บ้านโพธิ์ศรี ตำบลบ้านโน อ.กระนวน จ.ขอนแก่น) บ้านโพธิ์ชัย เมืองมัญจาคีรี (ปัจจุบันคือ บ้านโพธิ์ชัย อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น) โดยเจ้าแก้วบุฮมได้อพยพไพร่พลเข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านโพธิ์ชัย เพี้ยเมืองแพนอพยพเข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านชีโหล่น ขึ้นกับเมืองท่งหรือเมืองสุวรรณภูมิ ครั้นต่อมาอีกราว ๙ ปี ในปี พ.ศ. ๒๓๓๑ เพี้ยเมืองแพนก็ได้พาราษฎรและไพร่พลประมาณ ๓๓๐ คน ขอแยกตัวออกจากเมืองสุวรรณภูมิไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ฝั่งบึงบอน ตั้งขึ้นเป็นเมืองที่บ้านดอนพยอม เมืองเพี้ย (ปัจจุบันคือ บ้านเมืองเพี้ย ตำบลเมืองเพี้ย อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น) จากพงศาวดารหัวเมืองมณฑลอีสานของ หม่อมอมรวงศ์วิจิตร อ้างถึงใน จิ๊กโก๋โรแมนติก, ๒๕๕๒ กล่าวว่า "ลุจุลศักราช ๑๑๕๙ ปีมเสง นพศก (พ.ศ. ๒๓๔๐) ฝ่ายเพี้ยเมืองแพน บ้านชีโหล่น เมืองสุวรรณภูมิ เห็นว่าเมืองแสนได้เป็นเจ้าเมืองชนบทก็อยากจะได้เป็นบ้าง จึงเกลี้ยกล่อมผู้คนให้อยู่ในบังคับสามร้อยคนเศษ จึงสมัครขึ้นอยู่ในเจ้าพระยานครราชสีมา แล้วขอตั้งบ้านบึงบอนเป็นเมือง เจ้าพระยานครราชสีมาได้มีใบบอกมายังกรุงเทพฯ จึงโปรดเกล้าฯ ตั้งให้เพี้ยเมืองแพนเป็นที่พระยานครศรีบริรักษ์ เจ้าเมือง ยกบ้านบึงบอนขึ้นเป็นเมืองขอนแก่น ขึ้นกับเมืองนครราชสีมา..." ส่วนพงศาวดารภาคอีสานฉบับของ พระยาขัตติวงษา (เหลา ณ ร้อยเอ็ด, พ.ศ. ๒๓๒๕) มีความสำคัญตอนหนึ่งว่า “...ทราบข่าวว่าเมืองแสนกลัวความผิดหลบตัวหนีลงไป พึ่งพระยาโคราช บอกให้เมืองแสนลงไปเมืองเจ้าเมือง จึงโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระจันทรประเทศ ขึ้นมาตั้งบ้านกองแก้ว เป็นเมืองชนบท มีไพร่พลสมัครไปด้วย ๓๔๐ คน ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑ พ.ศ. ๒๓๔๐ ฝ่ายเพี้ยเมืองแพนบ้านชีโหล่น เมืองสุวรรณภูมิเห็นว่าเมืองแสนได้เมืองชนบทก็อยากจะได้บ้าง จึงเกลี้ยกล่อมคน ได้สามร้อยคนเศษจึงสมัครขึ้นอยู่กับเจ้าพระยานครราชสีมาแล้วขอตั้งบ้านบึงบอนเป็นเมือง เจ้าพระยานครราชสีมาได้มีใบบอกมายังกรุงเทพฯ จึงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งเพียเมืองแพนเป็นพระนครศรีบริรักษ์ดำรงตำแหน่งเจ้าเมือง โดยยกบ้านบึงบอนขึ้นเป็นเมืองขอนแก่น...” แต่อีกตำนานหนึ่ง (สมชื่น เชี่ยวกุล, ๒๕๓๘; อนุพันธ์ นิตินัย, ๒๕๔๙) กล่าวว่า หลังจากที่พระวอและพระตา แยกตัวออกจากนครเวียงจันทน์มาอยู่ที่หนองบัวลำภูได้ ๓ ปี เมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๒ เพี้ยเมืองแพน ได้อพยพผู้คนประมาณ ๓๓๐ ครอบครัวจากบ้านชีโหล่น (ปัจจุบันบ้านชีโหล่นอยู่ในเขตอำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด) แห่งเมืองท่ง แขวงเมืองสุวรรณภูมิ (ปัจจุบันคือ อ.สุวรรณภูมิ จ.ร้อยเอ็ด) เพื่อมาตั้งบ้านเมืองที่บ้านบึงบอน อยู่ทางทิศตะวันตกของบึงบอน โดยขอขึ้นกับเจ้าพระยานครราชสีมา เจ้าพระยานครราชสีมาได้มีใบบอกไปยังกรุงเทพฯ รัชกาลที่ ๑ จึงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งเพียเมืองแพนเป็น “พระนครศรีบริรักษ์” ว่าราชการเมือง โดยยกบ้านบึงบอนขึ้นเป็นเมืองขอนแก่น ประวัติการย้ายถิ่นฐานเมืองขอนแก่น ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ ในปี พ.ศ. ๒๓๓๙ ได้มีการย้ายเมืองขอนแก่นจากบ้านบึงบอนไปตั้งอยู่ที่บ้านหนองเหล็ก (ปัจจุบันคือ ตำบลบ้านแพง อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม) โดยเจ้าเมืองขอนแก่นได้ขอขึ้นตรงกับกรุงเทพมหานคร คือจะขอส่งส่วยต่อกรุงเทพฯ โดยตรงไม่ผ่านเมืองสุวรรณภูมิ โดยให้เหตุผลว่า บ้านดอนพยอมเมืองเพี้ยอยู่ใกล้กับแขวงเมืองนครราชสีมา เพราะอยู่ใกล้กับเมืองชนบท ซึ่งขึ้นกับแขวงเมืองนครราชสีมาในขณะนั้น แต่ในความเป็นจริงแล้วเข้าใจว่า เจ้าเมืองในขณะนั้นอยากจะแยกตัวออกเป็นอิสระ เพื่อแยกเป็นเมืองใหญ่ การย้ายเมืองครั้งนี้ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท้าวคำบ้ง (บุตรเจ้าแก้วบุฮม) เป็นพระนครศรีบริรักษ์ เจ้าเมืองขอนแก่นต่อมา และให้เมืองขอนแก่นขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เนื่องจากบรรพบุรุษของเจ้าเมืองขอนแก่นมีพื้นเพเดิมมาจากเมืองเวียงจันทน์ซึ่งนับถือศาสนาพุทธ การสร้างเมืองใหม่ที่บ้านบึงบอนจึงต้องมีการสร้างวัดคู่กันไปด้วยตามประเพณี จึงได้มีการสร้างวัดขึ้น ๔ วัด ในสมัยนั้นคือ (๑) วัดเหนือ เป็นวัดที่อยู่ทางทิศเหนือหรือทางต้นน้ำ ใช้สำหรับเจ้าเมืองบำเพ็ญกุศลและประกอบพิธีการสำคัญต่าง ๆ (๒) วัดกลาง เป็นวัดที่อยู่กึ่งกลางเมือง สำหรับข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ได้บำเพ็ญกุศลและประพิธีกรรมต่าง ๆ (๓) วัดแขกหรือวัดท่าแขก ใช้เป็นที่สำหรับพระสงฆ์หรือคนต่างถิ่นจะได้พักอาศัยหรือทำบุญกุศลและประกอบพิธีต่างๆ (๔) วัดใต้ เป็นวัดที่อยู่ทางทิศใต้หรือทางด้านใต้ของต้นน้ำ ใช้สำหรับประชาชนพลเมืองบำเพ็ญกุศลและประกอบพิธีการต่าง ๆ พระนครศรีบริรักษ์ (คำบ้ง) ปกครองเมืองขอนแก่น อยู่ ๒๒ ปีก็ถึงแก่กรรม ท้าวจามบุตร ซึ่งเป็นบุตรได้รับแต่งตั้งเป็นพระนครศรีบริรักษ์ ขึ้นเป็นเจ้าเมืองแทนจนถึง ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๓๙๘ (ในสมัยรัชกาลที่ ๔) พระนครศรีบริรักษ์ (คำยวง) เจ้าเมืองขอนแก่นในขณะนั้นถึงแก่อนิจกรรม รัชกาลที่ ๔ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท้าวอินธิวงษ์ บุตรคนเล็กของพระนครศรีบริรักษ์ (คำยวง) เป็นเจ้าเมืองขอนแก่น เพราะมีวิชาความรู้ดีกว่าพี่ชายคนอื่น ๆ และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยานครศรีบริรักษ์ สืบมา ในปี พ.ศ. ๒๔๐๗ พระยานครศรีบริรักษ์ (อินธิวงษ์) ได้ถึงแก่อนิจกรรม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท้าวคำบุ่ง พี่ชายท้าวอินธิวงษ์ ผู้เป็นอุปฮาด (ปลัดเมืองขอนแก่น) ให้เป็นเจ้าเมืองขอนแก่นสืบแทนน้องชาย แต่ได้ขึ้นว่าราชการเมืองเพียงแค่ ๓ ปี เพราะชราภาพมากแล้ว ในปี พ.ศ. ๒๔๑๐ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท้าวอู๋ ผู้เป็นหลานของท้าวอินธิวงษ์ ขึ้นเป็นพระนครศรีบริรักษ์ เจ้าเมืองขอนแก่น และให้ท้าวหนูหล้า บุตรคนเล็กของท้าวอินธิวงษ์ เป็นอุปฮาด (ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๔๐ ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระพิทักษ์สารนิคม) และเจ้าเมืองได้ย้ายเมืองขอนแก่นจากบ้านโนนทันไปตั้งอยู่ที่บ้านโนนทอง (บ้านเมืองเก่า) จนถึงปี พ.ศ. ๒๔๑๓ จึงได้ย้ายจากบ้านเมืองเก่าไปตั้งอยู่ที่บ้านดอนบมริมแม่น้ำชี (ตำบลเมืองเก่า อ.เมือง จ.ขอนแก่นในปัจจุบัน) โดยมีท้าวอู๋ ผู้เป็นหลานเป็นผู้ช่วยในการย้ายเมือง จนถึง พ.ศ. ๒๔๑๐ ย้ายเมืองขอนแก่นอีก คราวนี้ไปตั้งอยู่บ้านดอนบม ตำบลเมืองเก่า ริมแม่น้ำชีด้านทิศตะวันออก ห่างจากตัวจังหวัดปัจจุบันประมาณ ๘ กิโลเมตร ในปี พ.ศ. ๒๔๓๓ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ ๕ ได้มีการเปลี่ยนแปลงเขตการปกครองหัวเมืองไกลใหม่ทั่วภาคอีสาน และได้เปลี่ยนบริเวณหัวเมืองลาวฝ่ายเหนือเป็นบริเวณหัวเมืองลาวพวน ดังนั้นเมืองขอนแก่นจึงขึ้นกับบริเวณหัวเมืองลาวพวน โดยมีข้าหลวงใหญ่อยู่ที่เมืองหนองคาย ดังนั้นในปี พ.ศ. ๒๔๓๔ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ จึงโปรดให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม เป็นข้าหลวงต่างพระองค์และมาดำรงตำแหน่งเป็นข้าหลวงใหญ่ประจำอยู่ที่เมืองหนองคาย ในการเดินทางไปหนองคายต้องมาข้ามเรือที่ขอนแก่นด้วย วันหนึ่งพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคมเสด็จผ่านแขวงเมืองขอนแก่น ได้ประทับแรมที่บ้านทุ่มหนึ่งราตรี เพราะเส้นทางคมนาคมหรือทางม้าโคเกวียนสมัยก่อนจากนครราชสีมาต้องผ่านมาทางเมืองชนบท-บ้านทุม ไปหนองคาย และในสมัยนั้นเมืองขอนแก่นได้โอนสังกัดจากนครราชสีมามาขึ้นต่อข้าหลวงใหญ่หัวเมืองลาวฝ่ายเหนือตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๓๓ แล้ว เสด็จในกรมได้ทรงรับสั่งกับพระยานครศรีบริรักษ์ (อู๋) ว่าขอนแก่นตั้งอยู่ริมแม่ชีไม่เหมาะ เพราะเวลาน้ำหลากน้ำจะท่วม ทำให้การเดินทางสัญจรไปมาลำบาก และเมืองมีขนาดเล็ก ประกอบกับอยู่ห่างจากเส้นทางที่จะไปหนองคาย ทรงเห็นว่าบ้านทุ่มทำเลดีมีผู้คนหนาแน่นใกล้เส้นทางไปมา ประกอบกับในสมัยนั้นได้มีสายโทรเลขที่เดินจากเมืองนครราชสีมา ผ่านเมืองชนบท เข้าเขตเมืองขอนแก่น ข้ามลำน้ำชีที่ท่าหมากทัน ตรงไปท่าพระ บ้านทุ่ม โดยไม่เข้าตัวเมืองขอนแก่น ตรงไปข้ามลำน้ำพองไปบ้านหมากแข้งเมืองอุดรธานี ทรงดำริว่าที่ว่าการเมืองขอนแก่นที่ตั้งอยู่บ้านดอนบม ไม่สะดวกแก่ราชการ จึงทรงรับสั่งให้พระนครศรีบริรักษ์ (อู๋) ย้ายเมืองขอนแก่นไปอยู่บ้านทุ่ม ซึ่งใกล้เส้นทางระหว่างเมืองนครราชสีมาและบ้านหมากแข้ง เมืองอุดรธานี ในปลายปี พ.ศ. ๒๔๓๔ และเปลี่ยนนามเรียกขานตำแหน่งเจ้าเมืองเป็น ผู้ว่าราชการเมือง ดังนั้นเมืองขอนแก่นจึงย้ายไปอยู่บ้านทุ่ม เป็นเวลา ๘ ปี (สถานที่ตั้งเมืองในปัจจุบันอยู่ประมาณกิโลเมตรที่ ๑๓ ตำบลบ้านทุ่ม อำเภอเมืองขอนแก่น) ดูเพิ่มเติม สถานที่สำคัญ
แหล่งอ้างอิง กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๙ ขอนแก่น. (ม.ป.ป.). ชุมชนโบราณ/เมืองโบราณ/ขอนแก่น. ค้นเมื่อ 30 ธันวาคม ๒๕๕๓ จาก http://thai-culture.net/khonkaen/detailcontent.php?sub_id=45
ติดต่อผู้ดูแลเว็บไซต์ : somphot@kku.ac.th ผู้พัฒนาโปรแกรม |