E-Saan Information Corner
Search:     Advanced search
Browse by category:
Thai Version

รายงานการวิจัยเชิงคุณภาพเรื่องเจ้าพ่อมอดินแดง : ความเชื่อของนักศึกษา บุคลากร มหาวิทยาลัยขอนแก่น หมู่ 16 ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น Article

รายงานการวิจัยเชิงคุณภาพเรื่องเจ้าพ่อมอดินแดง : ความเชื่อของนักศึกษา บุคลากร มหาวิทยาลัยขอนแก่น หมู่ 16 ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

Views: 838
Votes: 0
Posted: 29 Jun, 2010
by: Studnet K.K.
Updated: 09 Sep, 2011
by: Nayika N.

นิติทัศน์  วิรุณปักษี, เบญจวรรณ  ทรวงโพธิ์, รติพร  วงศ์ศักดิ์, ลลิตา  ชาญชรา, รัตนา  วินทะไชย, สุภาพร  มีอุตส่าห์, สุภาวดี  ปิงแก้ว และอัจฉราพร   อรรคมุด.  (2552).  เจ้าพ่อมอดินแดง : ความเชื่อของนักศึกษา บุคลากร มหาวิทยาลัยขอนแก่น หมู่ 16 ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น.  คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

 

            รายงานการวิจัยเชิงคุณภาพเรื่องเจ้าพ่อมอดินแดง : ความเชื่อของนักศึกษา บุคลากร มหาวิทยาลัยขอนแก่น หมู่ 16 ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ของ นิติทัศน์  วิรุณปักษี, เบญจวรรณ  ทรวงโพธิ์, รติพร  วงศ์ศักดิ์, ลลิตา  ชาญชรา, รัตนา  วินทะไชย , สุภาพร  มีอุตส่าห์, สุภาวดี  ปิงแก้ว และอัจฉราพร   อรรคมุด เป็นการศึกษาประวัติความเป็นมาของเจ้าพ่อมอดินแดง ความเชื่อในการนับถือองค์เจ้าพ่อมอดินแดงรวมถึงแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อ และความสัมพันธ์ระหว่างมหาวิทยาลัยขอนแก่นกับเจ้าพ่อมอดินแดนตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน 

ศาลเจ้าพ่อมอดินแดงเดิม

             การสร้างศาลเจ้าพ่อมอดินแดงมีมาก่อนนี้ คือมีรูปแบบเป็นแบบศาลเสาเดียวหรือศาลพระภูมิ  สมัยจอมพลสฤษดิ์  ธนะรัชต์  เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการสร้างศาลขึ้นมาใหม่ เป็นศาลเพียงตาที่มีสี่เสา  ต่อมาได้มีการสร้างศาลเจ้าพ่อมอดินแดงขึ้นมาใหม่อีกครั้ง  เพื่อให้ดูเหมาะสมกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น

                

ศาลเจ้ามอดินแดงปัจจุบัน

           จุดเปลี่ยนจากศาลเก่าเกิดขึ้นจากการต้องการลดความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างชาวมหาวิทยาลัยขอนแก่นกับกลุ่มไม่เห็นด้วยเพราะคิดว่าขัดต่อพระพุทธศาสนาถือเป็นเรื่องงมงาย  สมาคมศิษย์เก่าจึงมีแนวคิดที่จะสร้างศาลเจ้าพ่อใหม่ขึ้น ก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ.2546 มีการอัญเชิญพระพุทธรูปมาประดิษฐานที่ศาลาธรรมหลังใหม่และมีการอัญเชิญเทวดามาอยู่เป็นองค์เจ้าพ่อมอดินแดง

ศาลเจ้ามอดินแดงปัจจุบัน สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2546

            จากการสัมภาษณ์ ผศ.ดร.ชลิต  ชัยครรชิต  ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับศาลเจ้าพ่อมอดินแดงว่าสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ยุค  คือ 
1. ยุคดั้งเดิม เป็นยุคที่ชาวบ้านมีการนับถือผีอยู่เป็นส่วนมาก เมื่อมีความเชื่อเกิดขึ้นจึงมีการสร้างสัญลักษณ์ขึ้นเพื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ  ชาวบ้านที่มีความเชื่อเรื่องเจ้าพ่อมอดินแดงจึงได้ร่วมกันสร้างศาลพระภูมิขึ้นเพื่อสักการะ
2. ยุคก่อตั้งมหาวิทยาลัยขอนแก่น ยุคนี้เป็นยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงจากศาลสี่เสา(ศาลเพียงตา)  คือศาลเดิมในปัจจุบัน
3. ยุคปัจจุบัน ยุคนี้เป็นการเปลี่ยนจากศาลเดิมมาเป็นศาลใหม่และมีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมที่มีแต่ผี กลายมาเป็นมีเทวดา และพระพุทธรูป ให้เลือกสักการะตามความเชื่อส่วนบุคคล

สิ่งที่ประชาชนนิยมนำมาถวายเจ้าพ่อ คือ ช้างกับม้า

           การห้อยกระดิ่งที่รั้วศาลเจ้าพ่อมอดินแดงเพื่อแสดงถึงการวอนขอต่อเจ้าพ่อมอดินแดงด้วยการเขียนความต้องการไว้ที่กระดาษแล้วห้อยกับกระดิ่ง ซึ่งสันนิษฐานว่า การห้อยกระดิ่งเพื่อวอนขอต่อเจ้าพ่อดินแดงเกิดจากการที่นักศึกษาญี่ปุ่นที่อยู่ในมหาวิทยาลัยขอนแก่นมาสักการะเจ้าพ่อมอดินแดงแล้วได้มีการบนบานขอสิ่งต่างๆ โดยการเขียนข้อความใส่กระดาษห้อยติดกับกระดิ่ง เพื่อที่จะได้บันดารให้เกิดผลตามความต้องการ

คำกล่าวสักการะเจ้าพ่อดินแดง

เอกสารงานวิจัยฉบับเต็ม1

เอกสารงานวิจัยฉบับเต็ม2

 



Copyright © 2012. All rights reserved. Reproduction in whole or in part. Whether in any form without prior written permission of the webmaster.
Contact Webmaster : somphot@kku.ac.th or nayder@kku.ac.th
Others in this Category
document Sim
document การศึกษาความเชื่อเกี่ยวกับการใช้ผ้าไหมมัดหมี่ของชาวอำเภอชนบทจังหวัดขอนแก่น
document ศักยภาพทางเศรษฐกิจของชุมชนหมู่บ้านอีสานจากอดีตถึงปัจจุบัน
document เศรษฐกิจชุมชนหมู่บ้านอีสาน : ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจอีสานหลังสงครามโลกครั้งที่สองถึงปัจจุบัน (2488-2544)
document เศรษฐกิจชุมชนหมู่บ้านอีสานใต้ : ความอยู่รอดของชุมชนท่ามกลางกระแสความเปลี่ยนแปลง
document E-Saan Wedding Ceremony (Kindong)
document รายงานการวิจัยเรื่องศักยภาพของชุมชนอีสาน : กรณีศึกษาบ้านฝาง
document การผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องศิลปวัฒนธรรมในกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีว ิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ตอน ศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณี
document การสำรวจสถานภาพองค์ความรู้เบื้องต้นจากงานวิจัยเกี่ยวกับวิถีชีวิตทางสังคมและวัฒนธ รรมของกลุ่มชาติพันธุ์ ในภาคอีสาน พ.ศ. 2500-2545
document คติชน : คุณค่าในการท่องเที่ยวชุมชนบ้านโคกม่วง
document ความสัมพันธ์หญิงชายภายใต้กระแสการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
document ทัศนคติของชาวชนบทอีสานต่อการทำบุญ
document ประเพณี คติความเชื่อมีอิทธิพลต่องานสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นอีสาน
document ประเพณีผูกเสี่ยว
document พฤติกรรมการทำบุญของชาวพุทธในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
document รายงานการวิจัยเรื่องทัศนคติของชาวชนบทอีสานต่อการทำบุญ
document รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์เรื่องรูปแบบศิลปวัฒนธรรมประเพณีการฟ้อนแห่ต้นดอกไม้ : กรณีศึกษาบ้านอาฮี หมู่ที่ 1,6 ตำบลอาฮี อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย
document รายงานวิจัยเรื่องเศรษฐกิจชุมชนหมู่บ้านอีสานห้าทศวรรษหลังสงครามโลกครั้งที่สอง (พ.ศ. 2488-2543) : กรณีศึกษาบ้านบัว จังหวัดสกลนคร
document รายงานวิจัยเรื่องเศรษฐกิจชุมชนหมู่บ้านอีสานห้าทศวรรษหลังสงครามโลกครั้งที่สอง (พ.ศ. 2488-2543) : กรณีศึกษาบ้านโนนม่วง จังหวัดร้อยเอ็ด
document รายงานวิจัยเรื่องเศรษฐกิจชุมชนหมู่บ้านอีสานห้าทศวรรษหลังสงครามโลกครั้งที่สอง (พ.ศ. 2488-2544) : กรณีศึกษาบ้านวังสวาบ จังหวัดขอนแก่น
document วัฒนธรรมอีสานกับการพัฒนา
document วิถีครอบครัวและชุมชนชาติพันธุ์ไทยโย้ย บ้านโพนแพง ตำบลหนองสนม อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร
document รายงานการวิจัยเรื่องการศึกษาโครงสร้างชุมชนชาติพันธุ์ผู้ไทย บ้านโนนหอม ตำบลโนนหอม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร
document ความเชื่อเรื่องปู่ตาตะกวดกับวิถีชีวิตของชาวกูยบ้านตรึม ตำบลตรึม อำเภอศรีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์
document ประเพณีและเทศกาลจังหวัดขอนแก่น
document วัดป่าบ้านตาด
document วัดถ้ำกลองเพล
document วัดบูรพาภิราม
document หมู่บ้านวัฒนธรรมผู้ไทยโคกโก่ง
document วัดสุปัฏนารามวรวิหาร
document วัดถ้ำแสงเพชร
document คติชน : คุณค่าในการท่องเที่ยวชุมชนบ้านโคกม่วง
document สิม (โบสถ์) 1
document สิม (โบสถ์) 2
document ตำราปลูกเฮือน ฉบับวัดบ้านดอนยม ตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
document ตำราปลูกเฮือน ฉบับสำนักสงฆ์อิสระธรรมวิเวก บ้านคกเหลี่ยน-หนองขอน ตำบลวังแสง อำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม
document คาถา ต้นฉบับวัดศรีเวียงชัย บ้านดอนเวียงจันทน์ ตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
document คติชน : คุณค่าในการท่องเที่ยวชุมชนบ้านโคกม่วง
document ความเชื่อเกี่ยวกับต้นไม้ของชาวบ้านศึกษาเฉพาะกรณีหมู่บ้านโนนอำนวย อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์ และหมู่บ้านทุ่งสว่าง อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ
document ฒ ผู้เฒ่าต้องมอง
document The dog consumption in Sakon Nakhon Province.
document The cultural adaptation of Tai Daeng ethnic groups in Ban Phonthong, Muang Nasaithong, Nakhonluang Vientiane, Lao People's Democratic Republic
document Cross-cultural marriage of Thai women with Japanese men
document Role of temple in rural community in Khon Kaen province.
document ความสัมพันธ์หญิงชายภายใต้กระแสการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
document Jaokote: managing conflict system
document ปราสาทขอมหายไปไหน? เขมรทำลายหรือใครกันแน่
document ภูมิปัญญาพื้นบ้านศาลผีปู่ตา อำเภอสีชมพู จังหวัดขอนแก่น.
document Saraphan: local wisdom and its role in Isan society
document An analysis of Understanding in Bhuddhadhamma of the Buddhist Monks of Maung district of Khon Kaen Province
document วิเคราะห์การทำบุญของคนไทยภายใต้ระบบสังคมบริโภคนิยม
document สรภัญญ์ เพลงขับเพื่อศาสนาและจริยธรรม
document History and folklore related to important places of the communities around Bung Kean Nakon
document Devo tradition
document A study of mattayomsuksa students in Nakhon Khon Kaen School, outcome in dramatic art at the lower secondary native dramatic art, Pook Siew Tradition at Khon Kaen using backward design learning.
document Shrine Pung Thao Kong - Ma, Khon Kaen
document The study of belief and social aspects in the formation of Phutai traditional house and settlement
document Tradition, a confidant (Pook Xiao)
document Silk Festival, Tradition, a Confidant and the Annual Red Cross, Khon Kaen Province
document Kathina
document The process of social space construction of the man who is alleged to be Pop



RSS