มุมอีสานสนเทศ
ค้นหา:     ค้นหาขั้นสูง
เลือกดูตามหมวดหมู่:
English Version

บุญกฐิน เนื้อหาบทความ

บุญกฐิน

แสดงผล: 575
ลงคะแนน: 0
วันที่สร้าง: 27 Dec, 2010
ผู้สร้าง :
วันที่ปรับปรุง : 16 Jan, 2012
ผู้แก้ไขปรับปรุง : นายิกา N.
     กฐินเป็นงานบุญที่มีปีละครั้ง ท่านจึงจัดเป็นกาลทาน  แปลว่า "ถวายตามกาลสมัย"  ตามพระวินัยกำหนดกาลไว้ คือ ตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ผู้มีจิตศรัทธาเลื่อมใส ใคร่จะทอดกฐิน ก็ให้ทอดได้ในระหว่างระยะเวลานี้ จะทอดก่อนหรือทอดหลังกำหนดนี้ ก็ไม่เป็นการทอดกฐิน

                   



ทำที่ไหน     
        ทำที่บ้าน ที่ชุมชน และที่วัด

ทำอย่างไร
          วิธีทำ
                   ผู้มีจิตศรัทธา อยากทำบุญกฐิน ต้องตระเตรียมเครื่องกฐิน และดำเนินการดังนี้
         ๑. จัดหาผ้าไตรจีวร และอัฐบริขาร เครื่องกระถินไว้ให้ครบถ้วน อย่าลืมตาลปัตร
         ๒. จัดหาเครื่องบริวารกฐิน ตามประเพณีนิยม เช่น สาดเสื่อ หมอนลาย จอบ เสียม ครก สาก หม้อหุงข้าว หวด มวย เชือกกฐิน กล้วย อ้อย มะละกอ
        
๓. ต้องจัดหา หรือ ยืม พานแว่นฟ้า จำนวน ๓ พาน พร้อมครอบไตร
        
           
       
         ๔. กำหนดวันทำบุญ มีวันรวมงานกฐิน วันถวายกฐิน
         ๕. เขียนหรือพิมพ์ใบจองกฐิน

         ๖. เมื่อถึงวันรวมงานที่กำหนดไว้ ก็จัดองค์กฐินมาตั้งที่บ้านหรือที่สำนักงาน อื่น ๆ ตามที่กำหนดเอาไว้ ประดับตกแต่งให้สวยงาม ตั้งพานแว่นฟ้าให้สวยงาม
                  คำว่าเครื่องกฐิน หมายถึง เครื่องกฐินตามข้อ ๑ ข้อ ๒ และ ข้อ๓ 

        
          ๗. ในช่วงตั้งกองกฐินตั้งแต่เช้าถึงเย็นค่ำนั้น จะมีท่านผู้มีจิตศรัทธา อาจเป็นญาติมิตร เพื่อนบ้าน และเพื่อนร่วมงานมาร่วมงาน มีการร่วมทำบุญ ซึ่งอาจเป็นเงินหรือสิ่งของ เช่น พริก มะเขือ เกลือ ปลาร้า เสื่อ หมอนขิด หมอนลาย และของมีค่าต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก ตอนกลางคืน อาจมีมหรสพสมโภช ตามความเหมาะสม        
                       
              ๘. วันถวายกฐิน หรือทอดกฐิน (วันงาน)
              ๘.๑  จัดขบวนแห่กองกฐิน ถ้าไปถวายวัดที่อยู่ห่างไกล ซึ่งอยู่ต่างอำเภอ หรือต่างจังหวัดก็จัดเครื่องกฐินใส่รถยนต์ไป พอใกล้จะถึงวัดก็จัดขบวนแห่ให้เป็นระเบียบสวยงาม แห่รอบศาลาการเปรียญหรืออุโบสถ 3 รอบ นำกองกฐินหรือองค์กฐินขึ้นศาลาการเปรียญ จัดให้เป็นระเบียบเรียบร้อย 
             ๘.๒  ขึงเชือกกฐินรอบภายในศาลา ตั้งไตรจีวร ได้แก่ ไตรครอง และไตรสวด โดยเริ่มตั้งไว้ตรงหน้าพระภิกษุ รูปที่ ๒ ตามลำดับไป
             ๘.๓  นำเอาผ้าอังสะ เปลี่ยนพระประธาน ธูป เทียน แพร บาตร ๑ ลูก ร่ม ๓ คัน รองเท้า 3 คู่  ตาละปัด 1 อัน  ถ้ามีสัปทนถวายด้วยก็ยิ่งจะเป็นบุญมาก
          
                       
           
             ๙. นำสายสิญจน์ จากองค์พระพุทธรูปที่ตั้งโต๊ะหมู่บูชา มามัดที่กองกฐิน นำเชือกกฐินอ้อมมัดกับสายสิญจน์ให้ได้
          ๑๐. เจ้าภาพนำไตรครอง ไตรสวด ไปประกอบพิธีถวาย หันหน้าไปทางทิศตะวันออก พิธีกรนำเชิญเทวดาผู้เป็นใหญ่ทางทิศตะวันออก เสร็จแล้วหันหน้าไปทางทิศใต้ พิธีกรนำเชิญเทวดาทิศใต้ หันหน้าไปทางทิศตะวันตก  พิธีกรนำเชิญเทวดาทิศตะวันตก เสร็จแล้วหันหน้าไปทางทิศอุดร พิธีกรนำเชิญเทวดาทิศอุดร  (คำกล่าวเชิญเทวดาทั้ง ๔ ทิศโปรดดูท้ายบทความ) 
          ๑๑. พิธีกรหรือเจ้าภาพกล่าวคำถวายกฐิน

                                                 

            ตอนนี้ จะขอกล่าวเรื่องกฐิน เพียงย่อ ๆ พอให้เข้าใจ และบอกสอนผู้อื่นได้
              ๑. กฐินแปลว่า ไม้สดึง นำไม้ไผ่มาเหลาให้เรียบร้อย ทำเป้น ๔ มุม หรือมัดติดกัน ให้เป็น ๔เหลี่ยม เวลาทำจีวรก็เอาผ้ามาขึงตามนั้น เพื่อเย็บสะดวก เพราะสมัยก่อน ทำจีวรเอง ไม่มีตลาดให้ไปซื้อ ไม้สดึง แปลว่า “กฐิน”
              ๒. จองกฐิน ก็คือ เขียนหนังสือไปติดไว้ที่วัดว่า (จะมาทอดกฐินท่วัดนี้ ในวันที่เท่านั้น เพื่อบอกให้พระในวัดนี้ทราบ จะได้ไม่หนีไปไหน อยู่ให้ครบอย่างน้อย ๕ รูป)
              ๓. กฐิน เป็น “กาลทาน” ถวายตามกาลเวลา คือ ถวายเริ่มตั้งแต่ วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงกลางเดือน ๑๒ เป็นเวลา ๑ เดือน แต่อย่าไปถวายก่อนพระเจ้าอยู่หัว ต้องให้พระองค์ถวายก่อน อย่างน้อยพระองค์ถวายแล้ว ๑ วัดขึ้นไป ประชาชนจึงค่อยถวาย มันเป็นธรรมเนียม
              ๔. การกสงฆ์ กฐินต้องมีพระภิกษุ ๕ รูปขึ้นไป จึงจะรับกฐินได้ พระภิกษุ ๕ รูปนั้น ต้องจำพรรษาอยู่ในวัดเดียวกันและอธิษฐานพรรษา ในพรรษาแรกเท่านั้น คือ ท่านเรียกว่า “ปุริมพรรษา” เป็นเดือน ๘ แรก ไม่ใช่ เดือน ๘ ที่๒ จะนิมนต์มาจากวัดอื่น ให้ครบองค์ ๕ ไม่ได้
ถ้านิมนต์มาจากที่อื่น ให้มาอนุโมทนาให้ครบ ๕ รูป กฐินไม่เป็นอันกรานและไม่ได้รับอานิสงส์ ๕ คือ ไม่เป็นกฐินนั่นเอง

                 พระอรรถกถาจารย์  กล่าวไว้ในสามันตะปสาธิกา หลักสูตรมหาเปรียญธรรม ๖ ประโยคว่า “ตํ เจ นิสีมฏฺ โฐ อนุโมทติ เอมฺปิ อนตฺถตํ โหติ” แปลว่า กฐินไม่เป็นอันกรานและไม่ได้อานิสงส์ (ไม่เป็นกฐิน)
           
              ๕. ใครกรานกฐิน ผู้รับกฐิน และพระภิกษุ ผู้มาร่วมอนุโมทนา
              ๖. ใครถวายกฐินได้ ในสมันตะปสาทิกาอรรถกถาวินัย กล่าวไว้ว่า เป็นคฤหัสถ์ หรือพระภิกษุด้วยกันก็ได้ กฐินต้องทำให้เสร็จในวันเดียว
         

                                                    
             

          ๗. คุณสมบัติของพระภิกษุผู้ควรรับกฐิน
                    ๗.๑ ต้องรู้ธรรม ๘ ประการ คือ
                        ๗.๑.๑ รู้บุพพกิจ ๗ อย่าง
                        ๗.๑.๒ รู้จักถอนไตรจีวร
                        ๗.๑.๓ รู้จักอธิษฐานไตรจีวร
                        ๗.๑.๔ รู้จักกรานกฐิน
                        ๗.๑.๕ รู้จักมาติกา คือ รู้แม่บทที่บอกให้ทราบว่า “กฐินเดาะ”
                        ๗.๑.๖ รู้ปลิโพธ คือ รู้สาเหตุว่า กฐินนี้เดาะหรือยังไม่เดาะ
                        ๗.๑.๗ รู้จักการเดาะกฐิน
                        ๗.๑.๘ รู้จักอานิสงส์กฐิน


                                                                 คำว่า รู้ธรรม ๘ ประการนั้น คืออย่างไร
 

 คำว่า รู้ธรรม ๘ ประการนั้น คือดังนี้
                  ๑. รู้บุพพกิจ ๗ คือ รู้จักซักผ้า กะผ้า ย้อมผ้า ฯ ปัจจุบันนี้ เหลือข้อ ๗ ข้อเดียว ได้แก่ ทำกัปปะ คือ พินทุ เท่านั้น ซึ่งวิธีการพินทุผ้า  คือการจุด ด้วยปากกาลงในผ้าจีวร  สังฆาฏิ สบง และอังสะ เป็นการทำผ้าให้มีตำหนิให้เป็นผ้าที่ถูกใช้แล้ว
 
                 ๒. รู้จักถอนไตรจีวร
                    วิธีทำ
                    - ให้เอาจีวรมาวางใส่ตัก หรือข้าง ๆ หัวเข่า เอาจีวรเก่าที่ห่มอยู่ โดยจับที่ชายจีวรเก่า ไปวางทับชายจีวรใหม่ แล้วเอามือลูบจากจีวรเก่าลงไปหาจีวรใหม่ ลูบหลายครั้ง พร้อมเปล่งวาจาด้วย ดังนี้
                      ๑. ตั้ง นโม ๓ จบ
                      ๒. กล่าวว่า "อิมัง จีวรัง ปัจจุทธรามิ" พร้อมลูบไป
                         "ทุติยัมปิ อิมัง จีวรัง ปัจจุทธรามิ" ลูบไป
                         "ตติยัมปิ อิมัง จีวรัง ปัจจุทธรามิ" ลูบไปด้วย
                         เสร็จ
 
                  ๓. รู้จักอธิษฐานจีวร
                    เมื่อถอนจีวรเก่าใส่จีวรใหม่แล้ว ก็ยกเอาจีวรใหม่ใส่ในวงแขน นั่งกระโหย่ง ประณมมือ ท่ามกลางคณะพระสงฆ์แล้วเปล่งวาจาว่า
                   -  ตั้ง นโม ๓ จบ
                    - อิมัง จีวรัง อธิษฐานมิ
                    - ทุติยัมปิ อิมัง จีวรัง อธิษฐานมิ
                    - ตติยัมปิ อิมัง จีวรัง อธิษฐานมิ     เสร็จ

                 ๔. รู้จักกรานกฐิน
                      จีวรที่ถอนและอธิษฐานแล้วนั้น ต้องนำมากราน ดังนี้
                     - ตั้ง นโม ๓ จบ
                     - เปล่งวาจาว่า
                             อิมินา อุตตะราสังเคนะ กฐินัง อัตถะรามิ
                             ทุติยัมปิ อิมินา อุตตะราสังเคนะ กฐินัง อัตถะรามิ
                             ตติยัมปิ อิมินา อุตตะราสังเคนะ กฐินัง อัตถะรามิ
                             (ต้องประณมมือ นั่งกระโหย่ง ท่ามกลางคณะสงฆ์)
                   - ถ้าใช้สังฆาฏิ ต้องเปลี่ยนเป็น อิมายสังฆาฏิยา กฐินํ อัตถะรามิ
                   - ถ้าใช้ผ้าสบง ก็ต้องเปลี่ยนเป็น อันตะวาระสะ เกนะ กฐินัง อัตถะรามิ      เสร็จ
         

                                                                -การอนุโมทนากฐิน-
                เมื่อภิกษุผู้รับกฐิน เปล่งวาจา กรานกฐินแล้วก็ห่มจีวรผืนใหม่นั้นให้เรียบร้อย นั่งกระโหย่ง ประณมมือ ในท่ามกลางหัตถบาสสงฆ์ แล้วกล่าวคำว่า “อัตถตัง ภันเต สังฆัสสะ กฐินัง ธัมมิโก กฐินัตถาโร อนุโมทถะ”  แปลว่า ท่านผู้มีอายุ ข้า ฯ ขอรับกฐินที่สงฆ์กรานแล้ว และการกรานนั้นก็ชอบโดยธรรม ขอให้ท่านทั้งหลาย ขออนุโมทนา เถิด

                                                                -พระสงฆ์ในหัตถบาส-
                 นั่งกระโหย่ง ประณมมือ เปล่งวาจาพร้อมกันว่า “อัตถะตัง อาวุโส สังฆัสสะ กฐินัง ฮัมมิโก กฐินัตถาโร อนุโมทามิ”
                 แปลว่า ท่านผู้มีอายุ กฐินที่สงฆ์กรานแล้ว และการกรานนั้นก็เป็นธรรม ข้าพเจ้าทั้งหลายขออนุโมทนา

                  ๕. รู้จักมาติกา ๘
                    คือรู้แม่บท หรือตัวชี้วัดที่จะบ่งบอกลักษณะของกฐินว่า เป็นกฐินเดาะหรือไม่               
          มาติกาที่ ๑ กฐินเดาะด้วยการหนีไปจากวัด
          มาติกาที่ ๒ กฐินเดาะเพราะทำจีวรไม่เสร็จ ในวัดนั้นทันเวลาที่กำหนด
          มาติกาที่ ๓ กฐินเดาะด้วยการตกลงใจ เช่น ตกลงใจว่าจะไม่ทำจีวรให้เสร็จ และจะออกจากวัดไปที่อื่นไม่กลับมาอีก ถือว่ากฐินเดาะทันที
          มาติกาที่ ๔ กฐินเดาะด้วยการกำหนดเอาว่า ไปทำให้ผ้าเสียหาย ไฟไหม้ ถูกลักขโมย
          มาติกาที่ ๕ กฐินเดาะด้วยการกำหนดความสิ้นหวัง คือไม่หวังจะได้ผ้ามาทำจีวร คือถอดใจ
          มาติกาที่ ๖  กฐินเดาะกำหนดด้วยได้ยินข่าว เช่น ได้ยินว่า วัดที่เราอยู่นั้น กฐินเดาะแล้ว ขาดอานิ  สงส์แล้ว
          มาติกาที่ ๗ กฐินเดาะเพราะเลยเวลาที่กำหนด คือแสวงหาผ้าไม่ได้ผ้า เกินกลางเดือน ๔ ถือว่า กฐินเดาะเพราะล่วงเขต
          มาติกาที่ ๘ กฐินเดาะเพราะความพร้อมพรั่งของพระสงฆ์  เนื่องจากพระสงฆ์ประชุมแจ้งเดาะกฐิน แต่พระผู้รับกฐิน  แต่พระผู้อนุโมทนามาประชุมทันอยู่โดยฉุกละหุก ไม่พร้อมพรั่ง แต่คณะสงฆ์พร้อมพรั่งอยู่

                ๖. รู้จักปลิโพธ
                    ๑. อาวาสปลิโพธ คือ เป็นห่วงอาวาส กฐินไม่เดาะ
                    ๒. จีวรปลิโพธ คือ เป็นห่วงจีวร กฐินไม่เดาะ

               ๗. รู้จักจัดการเดาะกฐิน
                    คือการรู้จักว่า อานิสงส์ของกฐินหมดแล้ว สิทธิพิเศษที่ได้รับจากอานิสงส์ของกฐินสิ้นสุดลง หมดลงแล้ว คำว่า “การจัดการ”  คือเข้าใจ

               ๘. รู้จักอานิสงส์กฐิน
                    คือ รู้จักอานิสงส์ ๕ ประการ อันมี
                  ๘.๑  จะไปไหนมาไหน ไม่ต้องบอกลา
                  ๘.๒  จะไปไหนมาไหน ไม่ต้องถือผ้าไตรจีวรไปครบสำรับ
                  ๘.๓  ฉันอาหารร่วมกันเป็นหมู่คณะได้
                  ๘.๔  เก็บผ้าไว้ทำจีวรไว้มากได้
                  ๘.๕  มีคนมาถวายสิ่งของในวัด พระภิกษุผู้มีอานิสงส์ ย่อมมีสิทธิ์ได้รับสิ่งของนั้น
 
                                                                -คำถวายกฐิน-
                  ๑. ตั้งนโม ๓ จบ
                  ๒. กล่าวว่า
                     อิมัง ภันเต สปริวารัง กฐินะจีระทุสสัง สังคัสสฺ โอโณชยาม สาธุ โน ภันเต ภิกขุ สังโฆ อิมัง สปริวารัง กฐินจีวระทุสสัง ปฏิคัณหาตุ ปฏิคเหตวา จ อิมินา ทุสเสนะ กฐินัง อัตถุระตุ อัมหากัง ทีฆรัตตัง หิตายะ สุขายะ


                     คำแปล ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้ากฐิน กับทั้งบริวารเหล่านี้ แด่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับผ้ากฐินกับทั้งบริวารเหล่านี้ ครั้นรับแล้ว จงกรานกฐินด้วยผ้านี้ เพื่อปณะโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนาน.......เทอญ

  

ดูข้อมูลเพิ่มเติม

คำป่าวอัญเชิญเทวดาทั้ง ๔ ทิศ

           ปุริมัญจะ ทิสังราชา ธะตะรัฏโฐ ตัปปะสาสะติ คันธัพพานัง อาธิปะติ มหาราชา ยะสัสสิ โส ปุตตาปิ ตัสสะ พะหะโว อินทะนามา มะหัพพะลา อิทธิมันโต ชุติมันโต วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อภิกกามุง ภิกขูนัง สมิติงวะนังฯ
           ทักขิณัญจะ ทิสังราชา ธะตะรัฏโฐ ตัปปะสาสะติ คันธัพพานัง อาธิปะติ มหาราชา ยะสัสสิ โส ปุตตาปิ ตัสสะ พะหะโว อินทะนามา มะหัพพะลา อิทธิมันโต ชุติมันโต วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อภิกกามุง ภิกขูนัง สมิติงวะนังฯ
           ปัจฉิมัญจะ ทิสังราชา ธะตะรัฏโฐ ตัปปะสาสะติ คันธัพพานัง อาธิปะติ มหาราชา ยะสัสสิ โส ปุตตาปิ ตัสสะ พะหะโว อินทะนามา มะหัพพะลา อิทธิมันโต ชุติมันโต วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อภิกกามุง ภิกขูนัง สมิติงวะนังฯ
           อุตรัญจะ ทิสังราชา ธะตะรัฏโฐ ตัปปะสาสะติ คันธัพพานัง อาธิปะติ มหาราชา ยะสัสสิ โส ปุตตาปิ ตัสสะ พะหะโว อินทะนามา มะหัพพะลา อิทธิมันโต ชุติมันโต วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อภิกกามุง ภิกขูนัง สมิติงวะนังฯ

คำแปล
ขออัญเชิญเทพเจ้าเหล่าเทพยดาทั้งหลาย ที่สิงสถิตอยู่ด้านทิศตะวันออก ทิศใต้ ทิศตะวันตก และทิศเหนือ อันมีท้าวธะตะระฐะ ผู้เป็นใหญ่เป็นประธาน และมีพวกคนธรรพ์ทั้งหลายเป็นบริวาร ขอเชิญได้เสด็จมาเป็นสักขีพยาน ในการที่ฝูงข้าทั้งหลาย ได้ร่วมใจกันถวายกฐินในวันนี้ และขอเชิญท่านมาอำนวยพรให้ฝูงข้าทั้งหลายจงประสบแต่ความสุขความเจริญตลอดกาลนาน เทอญ (สมพร ทีภูเวียง, ๒๕๕๒)

แหล่งอ้างอิง

สมพร ทีภูเวียง. (๒๕๕๒) . คู่มือ บ้าน-วัด-โรงเรียน ภาคปฏิบัติตามประเพณี ๑๒ เดือน. ขอนแก่น: บริษัท เพ็ญพรินติ้ง.

สมพร ทีภูเวียง.  (๒๕๕๒).  พิธีกร-พิธีการภาคปฏิบัติ สู่ขวัญสมัยนิยมภาคปฏิบัติ.  ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.

THAITRIP.COM. (c.1999) . พิธีทอดกฐิน. ค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2553. จาก http://www.thaitrip.com/kathin/

OKNATION.NET. (2550) . ทอดกฐินสามัคคี ...ปีนี้ทำบุญกันหรือยัง. ค้นเมื่อ 29 ธันวาคม 2553. จาก http://www.oknation.net/blog/print.php?id=156626

 

 รวบรวมเรียบเรียงโดย นายิกา เดิดขุนทด

ถ่ายภาพโดย ละออ ข้อยุ่น

 

 

 

 
       

 



ลิขสิทธิ์ © 2012 สงวนลิขสิทธิ์ ห้ามทำซ้ำทั้งหมดหรือบางส่วน ไม่ว่าในรูปแบบใดโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ดูแลเว็บไซต์เป็นลายลักษณ์อักษร
ติดต่อผู้ดูแลเว็บไซต์ : somphot@kku.ac.th ผู้พัฒนาโปรแกรม
หมวดหมู่อื่น ๆ
document การละเล่นสะบ้าในประเพณีตรุษไทยภูผาม่าน
document หลวงพ่อพระยืนมิ่งมงคล
document ประเพณีบุญบั้งไฟ อำเภอกระนวน
document พระพุทธรูปโบราณ อำเภอซำสูง
document การศึกษาความเชื่อเกี่ยวกับการใช้ผ้าไหมมัดหมี่ของชาวอำเภอชนบทจังหวัดขอนแก่น
document ความเชื่อเรื่องผ้าไหมมัดหมี่ของชาวอีสาน
document สิม
document ศักยภาพทางเศรษฐกิจของชุมชนหมู่บ้านอีสานจากอดีตถึงปัจจุบัน
document เศรษฐกิจชุมชนหมู่บ้านอีสาน : ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจอีสานหลังสงครามโลกครั้งที่สองถึงปัจจุบัน (2488-2544)
document เศรษฐกิจชุมชนหมู่บ้านอีสานใต้ : ความอยู่รอดของชุมชนท่ามกลางกระแสความเปลี่ยนแปลง
document ข้อมูลวัด จังหวัดขอนแก่น
document บุคคลสำคัญทางศาสนา จังหวัดขอนแก่น
document ประเพณีแต่งงานชาวอีสาน (ประเพณีกินดอง)
document รายงานการวิจัยเรื่องศักยภาพของชุมชนอีสาน : กรณีศึกษาบ้านฝาง
document การผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องศิลปวัฒนธรรมในกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีว ิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ตอน ศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณี
document การสำรวจสถานภาพองค์ความรู้เบื้องต้นจากงานวิจัยเกี่ยวกับวิถีชีวิตทางสังคมและวัฒนธ รรมของกลุ่มชาติพันธุ์ ในภาคอีสาน พ.ศ. 2500-2545
document คติชน : คุณค่าในการท่องเที่ยวชุมชนบ้านโคกม่วง
document ความสัมพันธ์หญิงชายภายใต้กระแสการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
document ทัศนคติของชาวชนบทอีสานต่อการทำบุญ
document ประเพณี คติความเชื่อมีอิทธิพลต่องานสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นอีสาน
document ประเพณีผูกเสี่ยว
document พฤติกรรมการทำบุญของชาวพุทธในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
document รายงานการวิจัยเรื่องทัศนคติของชาวชนบทอีสานต่อการทำบุญ
document รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์เรื่องรูปแบบศิลปวัฒนธรรมประเพณีการฟ้อนแห่ต้นดอกไม้ : กรณีศึกษาบ้านอาฮี หมู่ที่ 1,6 ตำบลอาฮี อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย
document รายงานวิจัยเรื่องเศรษฐกิจชุมชนหมู่บ้านอีสานห้าทศวรรษหลังสงครามโลกครั้งที่สอง (พ.ศ. 2488-2543) : กรณีศึกษาบ้านบัว จังหวัดสกลนคร
document รายงานวิจัยเรื่องเศรษฐกิจชุมชนหมู่บ้านอีสานห้าทศวรรษหลังสงครามโลกครั้งที่สอง (พ.ศ. 2488-2543) : กรณีศึกษาบ้านโนนม่วง จังหวัดร้อยเอ็ด
document รายงานวิจัยเรื่องเศรษฐกิจชุมชนหมู่บ้านอีสานห้าทศวรรษหลังสงครามโลกครั้งที่สอง (พ.ศ. 2488-2544) : กรณีศึกษาบ้านวังสวาบ จังหวัดขอนแก่น
document วัฒนธรรมอีสานกับการพัฒนา
document วิถีครอบครัวและชุมชนชาติพันธุ์ไทยโย้ย บ้านโพนแพง ตำบลหนองสนม อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร
document รายงานการวิจัยเรื่องการศึกษาโครงสร้างชุมชนชาติพันธุ์ผู้ไทย บ้านโนนหอม ตำบลโนนหอม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร
document ความเชื่อเรื่องปู่ตาตะกวดกับวิถีชีวิตของชาวกูยบ้านตรึม ตำบลตรึม อำเภอศรีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์
document ประเพณีและเทศกาลจังหวัดขอนแก่น
document วัดป่าบ้านตาด
document วัดถ้ำกลองเพล
document วัดบูรพาภิราม
document หมู่บ้านวัฒนธรรมผู้ไทยโคกโก่ง
document วัดสุปัฏนารามวรวิหาร
document วัดถ้ำแสงเพชร
document ประเพณีบุญพระเวส หรือบุนพะเหวด
document คติชน : คุณค่าในการท่องเที่ยวชุมชนบ้านโคกม่วง
document พระมงคลมิ่งเมือง (พระยืน)
document รายงานการวิจัยเชิงคุณภาพเรื่องเจ้าพ่อมอดินแดง : ความเชื่อของนักศึกษา บุคลากร มหาวิทยาลัยขอนแก่น หมู่ 16 ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
document วัดพระบาทภูพานคำ
document ศาลเจ้าพ่อมอดินแดง
document สิม (โบสถ์) 2
document สิม (โบสถ์) 1
document หลวงพ่อพระยืนมิ่งมงคล
document ตำราปลูกเฮือน ฉบับวัดบ้านดอนยม ตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
document ตำราปลูกเฮือน ฉบับสำนักสงฆ์อิสระธรรมวิเวก บ้านคกเหลี่ยน-หนองขอน ตำบลวังแสง อำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม
document คาถา ต้นฉบับวัดศรีเวียงชัย บ้านดอนเวียงจันทน์ ตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
document คติชน : คุณค่าในการท่องเที่ยวชุมชนบ้านโคกม่วง
document ความเชื่อเกี่ยวกับต้นไม้ของชาวบ้านศึกษาเฉพาะกรณีหมู่บ้านโนนอำนวย อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์ และหมู่บ้านทุ่งสว่าง อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ
document ฒ ผู้เฒ่าต้องมอง
document การบริโภคสุนัขในจังหวัดสกลนคร
document การปรับตัวทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ไทแดง บ้านโพนทอง เมืองนาทรายทอง นะคอนหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
document การแต่งงานข้ามวัฒนธรรมหญิงไทยกับชายญี่ปุ่น
document บทบาทของวัดต่อชุมชนในชนบท จังหวัดขอนแก่น
document ความสัมพันธ์หญิงชายภายใต้กระแสการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
document เจ้าโคตร : ผู้เว้าแล้วแล้วโลด
document ปราสาทขอมหายไปไหน? เขมรทำลายหรือใครกันแน่
document ภูมิปัญญาพื้นบ้านศาลผีปู่ตา อำเภอสีชมพู จังหวัดขอนแก่น.
document ลำส่องที่พึ่งสุดท้ายของผู้ป่วยในภาคอีสานจริงหรือ?
document สรภัญญ์ : ภูมิปัญญาชาวบ้านกับบทบาทในสังคมอีสาน
document รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ : คติสัญลักษณ์ของพื้นที่และการจัดการใช้พื้นที่ของวัดในชุมชนหมู่บ้านผู้ไท
document พุทธศาสนากับสิ่งแวดล้อม
document รายงานการวิจัยเรื่องวิเคราะห์ความเข้าใจในหลักพุทธธรรมของพระสงฆ์ในเขตอำเภอเมืองขอ นแก่น จังหวัดขอนแก่น
document วิเคราะห์การทำบุญของคนไทยภายใต้ระบบสังคมบริโภคนิยม
document สรภัญญ์ เพลงขับเพื่อศาสนาและจริยธรรม
document วันสงกรานต์
document การปฏิบัติตนขณะตั้งครรภ์ : การเชื่อมโยงระหว่างความเชื่อดั้งเดิมอีสานกับความรู้ทางการแพทย์สมัยใหม่
document คติความเชื่อและระบบสังคมกับการปลูกสร้างเรือนพื้นบ้านและชุมชนผู้ไท
document คติชนวิทยาที่พบในงานของนักเขียนไทยสมัยรัตนโกสินทร์
document ประเพณีตักบาตรเทโว
document ศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สาระนาฏศิลป์ วิชาเลือกนาฏศิลป์พื้นเมือง เรื่อง ประเพณีผูกเสี่ยวจังหวัดขอนแก่น โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบย้อนกลับ(Backward Design) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนนครขอนแก่น
document ศาลเจ้าปึงเถ่ากง-ม่า ขอนแก่น
document ประเพณีผูกเสี่ยวจังหวัดขอนแก่น
document งานเทศกาลไหม ประเพณีผูกเสี่ยว และงานกาชาดจังหวัดขอนแก่น
document ประเพณีขึ้นเฮือนใหม่
document บุญข้าวจี่หรือบุญเดือน ๓
document เบื้องลึกเบื้องหลังพระธาตุนาดูน
document ประวัติวัดศรีคุณเมือง อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย
document ฮีตสิบสอง
document วันสงกรานต์
document วันมาฆบูชา



RSS