เส้นสายลายศิลป์ในผ้าไหมมัดหมี่อีสาน

          เมื่อวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ ที่ผ่านมา ผู้เขียนได้มีโอกาสไปเที่ยวชมงานเทศกาลไหม ประเพณีผูกเสี่ยวและงานกาชาดจังหวัดขอนแก่น ประจำปี ๒๕๕๔ เพื่อเก็บภาพและเรื่องราวเนื้อหาสาระที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับการผลิตและการค้าไหมมานำเสนอแก่ผู้อ่าน มีเรื่องหนึ่งที่ผู้เขียนเห็นว่า ควรแก่การบันทึกไว้เป็นความรู้แก่ผู้สนใจคือ การรวบรวมลายผ้าไหมมัดหมี่อีสานจากแหล่งผลิตต่าง ๆ ที่ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายผ้าไหมนำมาจัดแสดงและจำหน่ายในงานเทศกาลไหมในปีนี้ ซึ่งมีมากมายหลากสีสัน แสดงให้เห็นถึงความกลมกลืนลื่นไหลทางวัฒนธรรม บางลายไหมมีการลอกเลียนแบบกัน แต่ก็มีบางลายไหมที่เป็นอัตลักษณ์ของท้องถิ่น (Local Identity Branding) ตามที่ผู้เขียนจะได้นำเสนอดังต่อไปนี้

          ๑. แหล่งผลิต จ.ขอนแก่น

ลายบ้านเชียง

 

ลายขอน้อยเชิงเทียน

 ลายดาวเรืองหนวดปลาหมึก

ลายบุษบก

ลายเสาชิงช้า

ลายงูหลาม

ลายน้ำฟอง

         ลายหมี่ข้อรวมลาย

ลายหมี่ข้อ

ลายดอกแก้วพิกุลทอง

ลายไหม

 

          ๒. แหล่งผลิต จ.ชัยภูมิ

ลายกระจับ

 

          ๓. แหล่งผลิต จ.สุรินทร์

ลายราชวัตร

ลายราชวัตรและมัดหมี่ไหม

ลายพระตะบอง

           จากการสนทนากับคุณกมลพรรณ ถือฉลาด (๒๕๕๔) เจ้าของร้านกมลพรรณไหมไทย ที่มาออกร้านจำหน่ายผ้าไหมในงานไหมจังหวัดขอนแก่นครั้งนี้ ทำให้ทราบข้อมูลว่า ลายราชวัตรและลายพระตะบอง เป็นลายที่ชาวบ้านของจังหวัดสุรินทร์ในสมัยก่อนได้ประยุกต์มาจากลายผ้าไหมของเขมร ซึ่งเป็นลายอัตลักษณ์ของท้องถิ่นจังหวัดสุรินทร์โดยเฉพาะ ผ้าไหมบางผืนย้อมด้วยสีธรรมชาติ แต่บางผืนก็ย้อมด้วยสีวิทยาศาสตร์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความนิยมของตลาดในขณะนั้น

          ๔. แหล่งผลิตอำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา

ลายเอกลักษณ์อีสาน ไหมหางกระรอกผสมลูกแก้ว ๓ ตระกรอ

แหล่งอ้างอิง

กมลพรรณ ถือฉลาด.  (๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๔).  สัมภาษณ์.  ร้านกมลพรรณไหมไทย ๑๘๕ หมู่ ๒ ต.เขวาสินรินทร์ จ.สุรินทร์.

 



Copyright (c) 2010 by Academic Resources Center สงวนสิทธิ์ห้ามทำซ้ำ ทั้งหมด หรือบางส่วนไม่ว่าในรูปแบบ
หรือสิ่งใดโดยไม่ได้รับการอนุญาตจากผู้ดูแลเว็บไซต์เป็นลายลักษณ์อักษร
Contact Webmaster :library@kku.ac.th or nayder@kku.ac.th