Search:
Advanced search
|
Browse by category:
|
Thai Version |
E-saan Literature |
|||||
Northeast of Thailand is the region with a population of many cultures. Which is divided into three groups according to language groups in Thailand - Laos cultural group, The Khmer-Suay cultural group and the Thai Korat cultural group. Between the three groups have spoken. The characters used in different communities, that is, the Thai - Lao Esaan dialect is fairly literal (literal character currency Mon) and a Thai Noi language. (Literally currency Ramkhamhaeng), the literature is a literary form and content of the Lan Xang. (The former kingdom of the Lao People's Democratic Republic) group of Khmer-Suay culture used the Cambodian Khmer alphabet because it does not have its own character. Thai Korat cultural group used the central dialect, had a slight accent. Written in Thai and Khmer character as the central character. Most of the E-saan literature of the Thai - Lao cultural group that are population of more than 2 in 3 of the population in the Northeast of Thailand. The tradition of the Thai - Lao-called "Heed Sib Song-Kong Sib Si" (Twelve conventions that means made by offering food to priests and following religious precepts on twelve month, and to be a householder by fourteen rules of community), it also influences the Esaan people of different cultures as well. Folk literature, especially the Northeast, many have spread to the Khmer-Suay culture and the Thai Korat. Yet a group of Khmer-Suay culture, and Thai Korat culture have a literature of their own one called "Khmer literature" and "Korat literature" according to the literature about which of the following is the literature of the Thai Esaan culture - east of the below 1. The literary and cultural heritage of the Northeastern community Literary and cultural inheritance in the Kingdom of Lan Xang was found to have a close relationship with Chiang Mai Lanna Dynasty Mangrai. And used to inherited a culture of over a Lanna to Lan Xang. The evidence from the story of dynasties in Dar Phong Lan Chang, and chronicles her Ionia. Has matched that. In God's kingdom of Lan Xang Potisan (2063-2093 BC) sent his envoy to the 60 Tripitaka scriptures to Lan Xang. And Thepmongkol Thera and the family of Lanna (Chiang Mai) to propagate the Gospel of the King Muang Kaew known in the Kingdom of Lan Xang in 2066, which in the Buddhist literature of prosperity is over. The literature has been published in the Kingdom of Lan Xang with Also included in the distribution in the territory of the Northeast. Therefore, it is found that the literature about a lot of materials similar to the literature, the North, such as Champa, Smell Sweet Hair Princess, Sinxai and Lin Thong (Golden Tongue). At the same time the character used in the Northeast has a similar built-up of the Yuan and literally sheath cross north. The letter, which evolved from the North of Thailand. To enter the Kingdom of Lan Xang, along with the Buddhist scriptures in it. And the evolution later in their community. We found that the form of letters, different from the original. Thai script is written, fair and less. Which is similar in style to the characters in Laos. These two characters are not important to the community about when it is used. Elementary Education Act of 2464 during the reign of six generations to the font by the Thai school system. 2. The palm leaves manuscript and literature 2.1 Buddhist Literature 2.1.2 Buddhist legend literature such as history and heritage of Buddhism in the land of the Indochinese Peninsula and Lan Xang. The content of the story, the legend, the pagoda in the Northeast, Lan Na and over Lan Xang, such as "Urangkathat, Urangkanithan, Phuan That Phanom" which are Buddhist's chest legend (Phanom Legend of the Bible), "Pra Malai Leab Lok" (Religion heritage in the land Peninsula) over that property that Hom (the origin of the known valve, the successor Wong Saki. And religious) Chetupon or Sethapon (the successor to the Buddhist Mekong River) Pudcha forecasts (which were - on the principles of the Buddha predicted) compound I (principles of life along the Buddhist), "Phean Muang"native legend (dissemination of Buddhism in the Northeast of Thailand and Lan Xang), "Moolsathapana" or "Prathomthapana", the establishment of a primary Buddhism in the land (The origin of the earth and the universe or solar system follow by local concept, the concept of our property for our grandparents), primarily binds the power primal eternity. (The origin of the world and everything. According to the Buddhist concept), the primary information (birth and everything. The idea behind a local grandmother, grandfather) "Kal Nub Mua Suay" (End of Religion in 5000 and the chaos predicted by the Buddha). 2.2 Literary history "Thao Hung or Thao Juang", Maha Seela Weerawong to remove from the original Palm Thai Noi alph titled "Thao Ba-juang", The National Library of Thailand edition at the Thai alphabet and published in the year 2486 that the new title. "Thao Hung or Thao Juang" composed a poem and story. The heroic story in Thailand. Thailand has compiled a vast, unified in the Mekong River. The land of the North (Lanna), the war expanded the territory to the North Vietnamese and southern China. The story of dynasties Yonok was the king in the annals of the king added that the King 19th, for Mangrai, King 25th. So the story of Thao Hung or Thao Juang. It is the first event Thai people to Sukhothai. Thao Hung or alloy of literature (Thao Ba-juang). The study of Dr. Prakrong Nimmanhaemin concluded that the literature distributed in Lan Xang, Northern, Northeastern and in Xishuangbanna region. The style of writing, Dr. Nimmanhaemin come in the form of a poem for the beginning of Thailand. And a few of the locution the literary type of poem that is very long. Hence the name "An epic story of Thao Bajuang." พื้นเมืองเวียงจันทน์ เป็นวรรณกรรมที่กล่าวถึงตำนานการสร้างเมืองเวียงจันทน์และเมืองนครพนม ที่เรียกว่า "โคตรบอง" หรือ "โคตบูรณ์" และกล่าวถึงการสืบสันตติวงศ์ของกษัตรย์ล้านช้างบางยุคบางสมัยด้วย "Phuen Muang Vientiane" (City native). The literature that discusses the creation of the legendary city of Nakhon Phanom and Vientiane, called "Krotabong" or "Krotaboon" and narrate about the succession of king's family of Lan Xang succession. - พื้นเวียง เป็นวรรณกรรมที่กล่าวถึงเฉพาะเหตุการณ์สมัยรัชกาลที่ ๓ ในเหตุการณ์กบถเจ้าอนุวงศ์และสงครามไทย-ญวน ประพันธ์เป็นโคลงสาร บางฉบับใช้ชื่อว่า "ลำพื้นเวียง" เป็นวรรณกรรมประวัติศาสตร์ที่แพร่หลายมากในภาคอีสาน และพบต้นฉบับในภาคอีสานจำนวนมาก จากการศึกษาเนื้อหาของลำพื้นเวียง พบว่ามีเนื้อหาตรงกับกบถเจ้าอนุวงศ์ แต่แตกต่างในเรื่องทัศนคติที่เข้าข้างและเห็นใจเจ้าอนุวงศ์ โดยมีความเห็นว่าราชธานีของไทยและเจ้าเมืองโคราชปกครองกดขี่หัวเมืองภาคอีสานและล้านช้าง เจ้าอนุวงศ์จึงดิ้นรนที่จะเป็นอิสระ และได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากเจ้าเมืองต่าง ๆ ในภาคอีสาน (ดูรายละเอียดใน ธวัช ปุณโณทก. (๒๕๒๓). พื้นเวียง: การศึกษาประวัติศาสตร์และวรรณกรรมอีสาน. กรุงเทพฯ: สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) "Phuen Vieng" (The City) is the only literary event in the reign of King Rama the third. In situation a rebel, Anuwong (King of Lan Xang) and Thai - Vietnamese War. Author of a poem. Some called. "Lam Phuen Vieng" (The city poem), a literary history is more prevalent in the Northeast. And found the original in the Northeast lot. The contents of the trunk of the study the city. Found that the content of literature narrate about Anuwong but is different in attitude, feeling and sympathy that subfamily. The opinion that the era of political oppression, Korat, Thailand, and the ruler of the Northeast and the cities of Lan Xang. The subfamily is struggling to be free. And cooperation as well that the towns in the east (see also, Thawat Punnothok. (2523). The city: a study about the history and literature. Bangkok: Thai Khadi Research Institute, Thammasat University). - นิทานเรื่องขุนบรม หรือตำนานขุนบรม ในพงศาวดารล้านช้างได้กล่าวถึง ตำนานการสร้างบ้านแปงเมืองของชนกลุ่มแม่น้ำโขง นับตั้งแต่เมืองนาน้อยอ้อยหนู เชียงดงเชียงทอง (หลวงพระบาง) และการสืบสันตติวงศ์กษัตริย์ล้านช้าง - พงศาวดารจำปาศักดิ์ - ตำนานพระพุทธรูปองค์ต่าง ๆ เช่น พื้นพระบาง พื้นพระแทรกคำ พื้นพระแก้ว พื้นพระแก่นจันทน์ เป็นต้น ตำนานพระพุทธรูปสำคัญเหล่านี้ ได้กล่าวถึงกษัตริย์ ลำดับกษัตริย์ และราชวงศ์ที่เกี่ยวข้องค่อนข้างมาก โดยให้ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ไปพร้อมด้วย จึงจัดอยู่ในกลุ่มวรรณกรรมทางประวัติศาสตร์ ๒.๓ วรรณกรรมนิทานหรือนิทาน ในอดีตวรรณกรรมนิทานหรือนิทานเปรียบประหนึ่งเป็นมหรสพของชาวอีสานทั่วไป โดยใช้ลำในที่ประชุมชน เช่น ในงันเฮือนดี (งานศพ) หมอลำใช้ลำเป็นมหรสพ เช่น "ลำพื้น" หรือ "ลำเรื่อง" เป็นต้น นอกจากนี้พระภิกษุยังนำมาเทศน์ให้อุบาสกอุบาสิกาฟังในระหว่างเข้าพรรษาที่เรียกว่า "เทศน์ไตรมาส" การที่นิทานเป็นที่สนใจของชาวบ้านอย่างมากดังกล่าว จึงเป็นแรงบันดาลใจให้กวีได้สร้างสรรค์ผลงานที่เป็นวรรณกรรมนิทานจำนวนมาก เพราะนิทานนอกจากจะให้ความสนุกสนานบันเทิงใจแล้ว ผู้ประพันธืยังได้สอดแทรกจริยธรรมและคติสอนใจอยู่ในเนื้อเรื่อง รวมทั้งอุปนิสัยของตัวละครที่เป้นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตตามแนวพื้นบ้านเชิงพุทธศาสนา นิทานที่สำคัญ ๆ และแพร่กระจายในภาคอีสาน ได้แก่ จำปาสี่ต้น นางผมหอม สินไซ ท้าวสีทน ไก้แก้ว การะเกด นกจอกน้อย ปลาแดกปลาสมอ พระลักพระลาม นางแตงอ่อน ท้าวผาแดงนางไอ่ ท้าวขูลู-นางอั้ว สุวรรณสังข์ เป็นต้น ๒.๔ วรรณกรรมคำสอน ในภาคอีสานมีวรรณกรรมประเภทนี้เป็นจำนวนมากและค่อนข้างจะโดดเด่นอยู่ในความสนใจของประชาชน โดยพบว่า หมอลำมักจะนำมาลำในที่ประชุมชนอยู่เนือง ๆ โดยเฉพาะเรื่องราวที่มีเนื้อหาสอนใจ สอนแนวปฏิบัติของบุคคลในครอบครัวและสังคม การดำเนินเรื่องมักเป็นเทศนาโวหารตลอดเรื่อง ไม่มีตัวละคร เช่นเดียวกับโคลงโลกนิติ หรือสุภาษิต เนื้อหาส่วนใหญ่เป็นคำสอนแนวประพฤติปฏิบัติ โดยยึดคติธรรมทางพุทธศาสนาและจารีตท้องถิ่น เช่น ธรรมดาสอนดลก ฮีตสิบสองคองสิบสี่ พระยาคำกองสอนไพร่ อินทิญาณสอนลูก ท้าวคำสอน กาพย์ปู่สอนหลาน กาพย์หลานสอนปู่ ย่าสอนหลาน ยอดคำสอน สาส์นสมคึด กาลนับมื้อส้วย ลึบปสูญ หรือลบบ่สูญ และ สิริจันโทวาทคำสอน เป็นต้น ๒.๕ วรรณกรรมเบ็ดเตล็ด คือ วรรณกรรมที่ไม่อาจจัดกลุ่มอยู่ในประเภทหนึ่งประเภทใดได้ เพราะการสร้างสรรคืวรรณกรรมเหล่านี้มักมีจุดมุ่งหมายเฉพาะกิจ พบว่าส่วนใหญ่ใช้ในพิธีกรรม ดังนี้ (๑) วรรณกรรมที่ใช้ในพิธีกรรมสูดขวน (บทสู่ขวัญ) เช่น บทสูดขวน (บทสู่ขวัญทั่วไป) บทสูดขวนอยู่กรรม (ใช้สู่ขวัญแม่ลูกอ่อนก่อนจะออกจากการอยู่ไฟ) บทสูดขวนเด็ก บทสูดขวนหนุ่มสาว (ใช้สู่ขวัญเมื่อเจ็บป่วยหาสาเหตุไม่ได้) บทสูดขวนแต่งงาน บทสูดขวนเฮือน (ใช้สู่ขวัญขึ้นบ้านใหม่) บทสูดขวนเกวียน บทสูดขวนควาย (กล่าวถึงบุญคุณควายที่ช่วยทำนาและขอขมาควายที่ทุบตี) (๒) วรรณกรรมที่ใช้ในพิธีกรรมขอฝน หรือประเพณีแห่บั้งไฟ ได้แก่ คำเซิ้งต่าง ๆ ไม่มีการจดบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร (มุขปาฐะ) เช่น คำเซิ้งบั้งไฟ คำเซิ้งนางแมว (แห่นางแมว) ส่วนใหญ่ด้นกลอนสด และกลอนที่จำสืบต่อกันมา เน้นความสนุกสนานรื่นเริ่งเป็นที่ตั้ง (๓) วรรณกรรมที่ใช้เกี้ยวพาราสีระหว่างหนุ่มสาว ที่เรียกว่า "ผญาเครือ" หรือ "ผะหยาเครือ" คือ คำพูดโต้ตอบของหนุ่มสาวที่เกี้ยวกัน โดยสำนวนโวหารเปรียบเทียบบ้าง ยกภาษิตท้องถิ่นมาอ้างอิงเพื่อเกี้ยวพาราสีและฝากรักบ้าง (๔) นิทานที่เล่าเพื่อความสนุกสนานและตลกขบขัน เช่น นิทานขบขันเชิงปัญญาเรื่อง เซียงเมี่ยง นิทานตลกเรื่อง โตงโตย นิทานขบขันเชิงหยาบโลน เช่น นิทานก้อม เป็นต้น ๓. การศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบวรรณกรรมอีสานและล้านช้าง รูปแบบวรรณกรรม หมายถึง ฉันทลักษณ์ ภาษาถิ่น และอักษรถิ่น ซึ่งธวัช ปุณโณทก (๒๕๕๓) กล่าวว่า ในการศึกษาเปรียบเทียบวรรณกรรมทั่วไปนั้น รูปแบบหมายถึง ฉันทลักษณ์ แต่การศึกษาเปรียบเทียบวรรณกรรมท้องถิ่นต้องให้ความสำคัญกับภาษาถิ่นและอักษรถิ่นด้วย ๔. การใช้วรรณกรรมของภาคอีสาน การใช้วรรณกรรมของชาวอีสานในสมัยอดีตขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการใช้ว่าจะใช้วรรณกรรมอย่างไร เช่น ใช้เทศน์หรือใช้ในพิธีกรรมสำคัญทางพุทธศาสนา ใช้อ่านในที่ประชุมชน ใช้เป็นต้นบทของการแสดงพื้นบ้าน เป็นต้น ๕. ลักษณะโครงสร้างวรรณกรรมอีสาน ธวัช ปุณโณทก (๒๕๕๓) กล่าวว่า จากการศึกษาโครงสร้างเนื้อหาของวรรณกรรมอีสานและล้านช้าง พบว่ามีโครงสร้างเนื้อเรื่องร่วมกันเกือบทุกเรื่อง โดยเฉพาะวรรณกรรมที่รับอิทธิพลมาจากนิทานพื้นบ้านและวรรณกรรมคติธรรม นอกจากนี้ยังพบว่าเนื้อเรื่องวรรณกรรมท้องถิ่นหนึ่ง ๆ ได้แพร่กระจายไปสู่ท้องถิ่นอื่นอีกด้วย เช่น สังข์ทอง มโนห์รา สังข์ศิลป์ชัย ฯลฯ ซึ่งจะพบว่าเกือบทุกภาคมีวรรณกรรมทั้งสามเรื่องดังกล่าว โดยเฉพาะเนื้อเรื่องในปัญญาสชาดก (ภาคอีสานและล้านช้าง เรียกว่า "พระเจ้าห้าสิบชาติ" ) แพร่กระจายไปทุกภูมิภาคอย่างทั่วถึง แม้ว่าบางภูมิภาคจะมีไม่ครบทั้ง ๕๐ เรื่อง วรรณกรรมพื้นบ้านเหล่านี้ก็คือ นิทานจักร ๆ วงศ์ ๆ นั่นเอง การที่พบวรรณกรรมท้องถิ่นในหลายภูมิภาคมีลักษณะคล้ายคลึงกัน สะท้อนให้ว่าค่านิยมสังคมไทยใกล้เคียงกัน และยังสะท้อนให้เห็นว่าทุกภูมิภาคใช้วรรณกรรมท้องถิ่นเป็นสื่อในการสอนจริยธรรม ศีลธรรม คติเตือนใจ แง่คิดคำสอนตามความศรัทธาทางศาสนา โดยเชื่อเรื่องบาปบุญคุณโทษ ชาตนี้ชาติหน้า และกรรมดีกรรมชั่ว เพื่อให้ผู้อ่าน ผู้ฟังได้ยึดเป็นแบบอย่างในการประพฤติปฏิบัติตนให้ถูกครรลองครองธรรม written by: Nayika Derdkhuntod References ธวัช ปุณโณทก. (๒๕๕๓). เอกสารประกอบการสัมมนาเครือข่ายระดับชาติด้านการอนุรักษ์และเผยแพร่เอกสารมรดกภูมิปัญญาไทย ครั้งที่ ๗ เรื่อง เอกสารมรดกของภาคอีสานตอนกลางและอีสานตอนใต้ ระหว่างวันที่ ๘-๑๑ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ณ โรงแรมตักสิลา จังหวัดมหาสารคาม. (อัดสำเนา) ธวัช ปุณโณทก. (๒๕๒๒). วรรณกรรมอีสาน. กรุงเทพ: โอเดียนสโตร์. ธวัช ปุณโณทก. (๒๕๒๕). วรรณกรรมท้องถิ่น. กรุงเทพ: โอเดียนสโตร์. Contact Webmaster : somphot@kku.ac.th or nayder@kku.ac.th |