จังหวัดอุบลราชธานี (Ubonratchathani Province)

 
คำขวัญประจำจังหวัดอุบลราชธานี
เมืองดอกบัวงาม แม่น้ำสองสี
มีปลาแซบหลาย หาดทรายแก่งหิน
ถิ่นไทยนักปราชญ์ ทวยราษฎร์ใฝ่ธรรม
งามล้ำเทียนพรรษา ผาแต้มก่อนประวัติศาสตร์
 
จังหวัดอุบลราชธานี
ข้อมูลเพิ่มเติม
สภาพภูมิศาสตร์
          จังหวัดอุบลราชธานี ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกสุดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีพื้นที่ประมาณ 16,112 ตารางกิโลเมตร หรือ 10 ล้านไร่ ที่ตั้งสัมพันธ์ของจังหวัด ติดต่อกับ 2 ประเทศ คือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และ กัมพูชาประชาธิปไตย ส่วนภายในประเทศ ติดต่อกับ 3 จังหวัด คือ ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ และยโสธร

          จังหวัดอุบลราชธานี มีรูปร่างคล้ายรูปหัวใจ หรือรวงผึ้ง ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่ เป็นพื้นที่ราบลูกคลื่นลอนตื้น ตอนกลางเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำมูล มีเทือกเขาดงรัก เป็นพรมแดนธรรมชาติทางด้านทิศใต้

          ลำน้ำสายสำคัญ ได้แก่ แม่น้ำมูล แม่น้ำชี แม่น้ำโขง ลำเซบก ลำเซบาย ลำโดมน้อยและลำโดมใหญ่

          ลักษณะภูมิอากาศ เป็นแบบร้อนชื้น มี 3 ฤดู ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ พัดผ่านช่วงฤดูฝน ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ พัดผ่านช่วงฤดูหนาว และพายุดีเปรสชั่นเข้ามามีอิทธิพลช่วงเดือนสิงหาคม ถึงเดือนกันยายน... เพิ่มเติม

ความสำคัญของจังหวัด   จังหวัดอุบลราชธานี เป็นจังหวัดหนึ่งที่มีทำเลที่ตั้ง เป็นที่ราบอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรหลากหลายชนิด มีแม่น้ำหลายสายไหลมาบรรจบกัน ทำให้เหมาะสมแก่การพักพิงตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่อดีต ได้พบร่องร่อยการอยู่อาศัย ของคนตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ไม่ต่ำกว่าหนึ่งหมื่นปีมาแล้ว จากที่เคยดำรงชีพแบบสังคมล่าสัตว์ ได้พัฒนาการเข้าสู่สังคมเกษตรกรรม เมื่อประมาณ 3,000-2,000 ปี ที่ผ่านมา พบหลักฐานกระจายอยู่หลายพื้นที่ ทั้งตะวันออกและตะวันตกของจังหวัดอุบลราชธานี รวมถึงได้พบภาพเขียนสี ตามเพิงผามากในบริเวณตะวันออกริมแม่น้ำโขงด้วย ร่องรอยชุมชนโบราณสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่สำคัญ เช่น เพิ่มเติม

งานประเพณี ชาวพื้นเมืองส่วนใหญ่นับถือพุทธศาสนา เป็นผู้มีจิตใจเมตตา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อผู้ตกทุกข์ได้ยาก ยิ้มง่าย และด้านขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ นั้น ก็ยังมีลัทธิพราหมณ์เข้ามาปะปนอยู่บ้าง เช่น หากมีงานมงคล เช่น ขึ้นบ้านใหม่ การแต่งงาน แม้การประกอบพิธีบายศรีสู่ขวัญ ก็ยังมีพิธีทางพราหมณ์เข้ามาผสมโดยทั่วไป ...เพิ่มเติม

 

แหล่งท่องเที่ยว 

ข้อมูลอุบลราชธานเป็นเมืองใหญ่ริมฝั่งแม่น้ำมูล ที่มีประวัติความเป็นมากว่า ๒๐๐ ปี เล่ากันว่า ท้าวคำผง ท้าวทิดพรหม และท้าวก่ำ ซึ่งเป็นบุตรหลาน พระวอ พระตา หนีภัยสงครามจากพระเจ้าสิริบุญ-สาร เจ้าแห่งนครเวียงจันทน์เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารของพระเจ้าตากสินมหาราชและต่อมาได้สร้างเมืองขึ้นที่บริเวณดงอู่ผึ้ง ใกล้กับแม่น้ำมูล ครั้นพ.ศ. ๒๓๒๓ พระเจ้าตากสินมหาราชได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พระยาราชสุภาวดี เชิญตราพระราชสีห์มาพระราชทานนามเมืองว่า “อุบลราชธานี” ทรงให้ท้าวคำผงเป็นเจ้าเมืองคนแรกซึ่งต่อมาได้พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระปทุมวงศา เมืองอุบลราชธานี มีเจ้าเมืองสืบกันมาถึง ๔ คน ตราบจนถึงปี พ.ศ. ๒๔๒๕ จึงได้มีการแต่งตั้งข้าหลวง และผู้ว่าราชการจังหวัดมาปกครองดูแลจนถึงทุกวันนี้
อุบลราชธานี ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ เป็นระยะทาง ๖๒๙ กิโลเมตร สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นที่ราบสูงและภูเขา มีแม่น้ำมูลไหลผ่านตอนกลางของพื้นที่ และมีหน้าผาหินทรายบริเวณชายฝั่งแม่น้ำโขงอันเป็นเส้นกั้นพรมแดนระหว่างประเทศไทยและลาว
จังหวัดอุบลราชธานี มีพื้นที่ประมาณ ๑๕,๗๔๔ ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น ๒๐ อำเภอ และ ๕ กิ่งอำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองอุบลราชธานี วารินชำราบ เดชอุดม บุณฑริก นาจะหลวย น้ำยืน พิบูลมังสาหาร โขงเจียม ศรีเมืองใหม่ ตระการพืชผล เขมราฐ ม่วงสามสิบ เขื่องใน กุดข้าวปุ้น ตาลสุม โพธิ์ไทร สำโรง สิรินธร ดอนมดแดง ทุ่งศรีอุดม กิ่งอำเภอนาเยีย กิ่งอำเภอนาตาล กิ่งอำเภอเหล่าเสือโก้ก กิ่งอำเภอสว่างวีระวงศ์ และกิ่งอำเภอน้ำขุ่น
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดอำนาจเจริญ
ทิศใต้ ติดต่อกับราชอาณาจักรกัมพูชา ตามแนวเทือกเขาพนมดงรัก
ทิศตะวันออก ติดต่อกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดยโสธร และจังหวัดศรีสะเกษ

การเดินทาง

รถยนต์ ใช้ทางหลวงหมายเลข ๑ (พหลโยธิน) ไปสระบุรี เลี้ยวเข้าทางหลวงหมายเลข ๒ (มิตรภาพ) ต่อด้วยทางหลวงหมายเลข ๒๔ (โชคชัย-เดชอุดม) ไปจนถึงอุบลราชธานี หรือใช้ เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา แล้วต่อด้วยทางหลวงหมายเลข ๒๒๖ ผ่านบุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และเข้าสู่จังหวัดอุบลราชธานี

       


แผนที่
เพิ่มเติม...

 นายกลยุทธ รจนา นักศึกษาฝึกงาน

 

 

 

 

 



Copyright (c) 2010 by Academic Resources Center สงวนสิทธิ์ห้ามทำซ้ำ ทั้งหมด หรือบางส่วนไม่ว่าในรูปแบบ
หรือสิ่งใดโดยไม่ได้รับการอนุญาตจากผู้ดูแลเว็บไซต์เป็นลายลักษณ์อักษร
Contact Webmaster :library@kku.ac.th or nayder@kku.ac.th