มัญจาคีรีนามเมืองเก่า บึงกุดเค้าคู่เมืองบ้าน
นมัสการหลวงปู่ผาง ตลาดกลางที่นอนหมอน
แสนออนซอนดอนเต่า งามลำเนาเขาภูเม็ง
เล็งชมกล้วยไม้ป่าบาน โบราณสถานโนนศิลาเลข
สิมชั้นเอกวัดสระทอง น้ำตกลือก้องห้วยเข
ผ้าไหมสุดเก๋หนองหญ้าปล้อง
สถานที่ตั้งและอาณาเขต
อำเภอมัญจาคีรีมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
ประวัติ
อำเภอมัญจาคีรี เดิมตั้งที่ว่าการอำเภออยู่ที่บ้านหัวหน้า ตำบลจระเข้ อำเภอเมืองขอนแก่น โดย ณ ที่นั้นมีภูเขาชื่อ "เม็ง" ซึ่งราชบัณฑิตยสถานสันนิษฐานว่าเพี้ยนมาจากคำ "มญฺจ" ในภาษาบาลี อันแปลว่า "เตียง" หรือ "แท่น" อำเภอนั้นจึงได้ชื่อว่า "มัญจาคีรี" หมายความตามตัวอักษรว่า "ภูเขามัญจา" หรือ "ภูเขาเม็ง" แปลได้อีกว่า อำเภอที่ตั้งอยู่ใกล้เขาอันมีรูปดั่งเตียงหรือแท่น
ต่อมา พ.ศ. 2419 ย้ายที่ว่าการอำเภอไปตั้งที่บ้านสวนหม่อน พ.ศ. 2430 ไปที่ตำบลกุดเค้า แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น "อำเภอกุดเค้า" ตามตำบลที่ตั้ง จึงกลับใช้ชื่อ "มัญจาคีรี" ดังเดิมเมื่อ พ.ศ. 2481
เมืองมัญจาคีรี หรือ อำเภอมัญจาคีรี ปรากฏอยู่ในทำเนียบมณฑลอุดร กล่าวว่า เมื่อ พ.ศ. 2433 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าให้ตั้งเมืองขึ้น ชื่อ เมืองมัญจาคีรี โดยมี จางวางเอกพระยาพฤติคุณธนเขม (สน สนธิสัมพันธ์)เป็นเจ้าเมืองคนแรก ของเมืองมัญจาคีรี หรือ อำเภอมัญจาคีรี เมื่อ พ.ศ. 2433-2439 เจ้าเมืองคนที่ 2 คือ พระเกษตรวัฒนา (โส สนธิสัมพันธ์)เมื่อ พ.ศ. 2439-2443 และมีปรากฏประวัติเมืองมัญจาคีรี ในหนังสือประวัติจังหวัดในประเทศไทย ในห้องสมุดของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า - กรุงเทพฯ)
การปกครองส่วนภูมิภาค
อำเภอมัญจาคีรีแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็นแปดตำบล หนึ่งร้อยสิบหกหมู่บ้าน ได้แก่
กุดเค้า สวนหม่อน หนองแปน โพนเพ็ก คำแคน นาข่า นางาม ท่าศาลา
การปกครองส่วนท้องถิ่น
ท้องที่อำเภอมัญจาคีรีประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวน 9 แห่ง ได้แก่
ภูมิศาสตร์
เศรษฐกิจ
1.อาชีพหลัก ได้แก่ ทำนาข้าว ทำไร่อ้อย ทำไร่มันสำปะหลัง เลี้ยงโค กระบือ เป็ด ไก่ และห่าน
2.อาชีพเสริม ได้แก่ ทำเส้นไหม การทอผ้าไหม หมอนขิต และเครื่องจักรสาน รวมถึงการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งจะทำหลังฤดูการเก็บเกี่ยว
3.ธนาคาร มี 3 แห่ง ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
การคมนาคม ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 2062
สถานที่ท่องเที่ยว
หมู่บ้านเต่า ตั้งอยู่ที่บ้านกอก อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น ห่างจะอำเภอเมืองประมาณ ๕๐ กิโลเมตร เป็นหมู่บ้านที่มีเต่าเพ็ก(เต่าเหลือง) ทั่วหมู่บ้าน
เต่าเพ็ก เป็นชื่อเรียกของคนภาคอีสานที่เรียกเต่าเหลือง เต่าเทียน หรือเต่าแขนง ซึ่งเป็นเต่าชนิดเดียวกัน ที่มาของชื่อเต่าเพ็กมาจากอาหารที่เต่าชอบกินตามธรรมชาติ คือหญ้าเพ็ก ซึ่งขึ้นอยู่ทั่วไปในแหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ เต่าเพ็กมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า “Indotestudo elongate” มีพบอยู่ทั่วทุกภาคในประเทศไทย และในแคว้นอัสสัม พม่า มาเลเซีย ตลอดทั่วอินโดจีน เต่าเหลืองมักพบอยู่ในป่า เขตที่ราบสูงหรือภูเขา เป็นเต่าบทชนิดที่พบมากที่สุดของประเทศไทย แม้ว่าจะไม่สามารถอยู่ในน้ำได้ แต่เต่าเหลืองก็ชอบอาศัยอยู่ในที่ชื้นเย็น
เต่าเหลืองที่อยู่ตามธรรมชาติในภาคเหนือ และภาคอีสานของประเทศไทย เราสามารถคำนวณอายุของเต่าได้
เต่าเหลืองเป็นเต่าที่มีกระดองสูง มีลักษณะคล้ายหมวกเหล็กทหาร ขนาดโตเต็มที่มีกระดองสีเหลืองยาว ๓๐ เซนติเมตร มีน้ำหนัก ๗ กิโลกรัม ขาหลังแข็งแรง สั้น ป้อง ทู่ มีเกล็ดขนาดใหญ่ที่ผิวหนัง ขาหลังมีลักษณะแบบขาช้าง นิ้วไม่มีพังผืด มีเล็บที่แข็งแรง กระดองท้องของตัวผู้จะเว้าเข้าไปประมาณ ? ของลำตัวเต่า ส่วนตัวเมียจะแบนราบ กระดองของเต่าเหลืองจะมีสีเหลืองปนดำ กระดองท้องมีสีเหลือง แต่จะมีสีดำตรงกลางแผ่น หัวมีสีเหลือง ขามีสีเทาดำ มีเกล็ดสีเหลือง เล็บมีสีเหลืองหรือขาว เต่าเพ็กจะเริ่มผสมพันธุ์กันในช่วงปลายฤดูฝน หลังจากนั้นประมาณ ๑-๒ เดือน จึงจะมีการวางไข่ตามพื้นดิน ตัวเมียใช้ขาหลัง และกระดองส่วนก้นขุดหลุมลึกประมาณครึ่งตัวเต่า การวางไข่ครั้งละประมาณ ๔-๖4-6 ฟอง ไข่เต่าเพ็กจะแตกต่างจากไข่เต่าตนุ กล่าวคือมีลักษณะรีคล้ายไข่ไก่ แต่มีขนาดป้อมกว่านิดหน่อยและมีผิวสากมือเล็กน้อย เปลือกไข่แข็งกว่าเปลือกไข่เต่าทะเล แม่เต่าจะกลบดินให้มิดจนกว่าไข่จะฟักเป็นตัวออกมาเอง ไข่เต่าจะฟักออกมาเป็นตังใช้เวลาประมาณ ๓-๔ เดือน ช่วงแรกเกิด กระดองเต่าจะนิ่มมาก ตัวยาวประมาณ ๓-๕ ซม. เท่านั้น กระดองลูกเต่าจะเริ่มแข็งเมื่ออายุได้ประมาณ ๑ ปี
ชาวบ้านผู้เฒ่าผู้แก่เชื่อกันว่า เจ้าคุณปู่เป็นชายแก่รูปร่างสูงใหญ่ นุ่งขาวห่มขาวมีเต่าเพ็ก (เต่าเหลือง) เป็นบริวาร มีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่า เต่าเพ็กที่บ้านกอกมีอายุยืนยาวสืบเชื้อสายกันมาพร้อมๆ กับการก่อตั้งบ้านกอก เมื่อประมาณพ.ศ.๒๓๑๐ เต่าเพ็กจะรวมกันอยู่มาก ในบริเวณที่เรียกว่าศาลเจ้าคุณปู่ (ดอนเต่า) ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ ๔ ไร่ ในบริเวณนี้เป็นที่ตั้งของศาลเจ้าพ่อมเหศักดิ์ ๒ ศาล ชื่อเจ้าปู่ฟ้าระงึมและมีหอพระพุทธ ๑ หลัง บริเวณดอนเต่านี้มีกอไผ่อยู่ทั่วไป ใบไผ่ ร่วงหล่นทับถมกันเป็นที่อยู่อาศัยของเต่าได้เป็นอย่างดี ชาวบ้านเชื่อกันว่าเต่าในบริเวณดอนเต่านี้ เป็นสัตว์เลี้ยงของเจ้าปู่ฟ้าระงึม จึงเรียกเต่าพวกนี้ว่าเต่ามเหศักดิ์อีกชื่อหนึ่ง เมื่อชาวบ้านกอกเชื่อว่าเต่าเพ็กเป็นเต่าของเจ้าปู่ฟ้าระงึม จึงมีความยำเกรงไม่ทำอันตรายเต่าในเขตหมู่บ้าน แต่ถ้าเผลอทำร้ายโดยไม่ได้ตั้งใจก็จะไปขอขมาต่อเจ้าคุณปู่ ในหมู่บ้านจะไม่สร้างรั้วบ้านหรือกำแพงสูง ทั้งนี้เพื่อให้เต่าสามารถเข้ามาหาอาหารหรือหลบร้อน รวมทั้งออกไข่ในบริเวณที่ดินว่างของบ้านได้สะดวก นอกจากนั้นพวกสัตว์ต่างๆ เช่น วัว ควาย สุนัข เป็ด ไก่ ฯ ก็มีความคุ้นเคยกับเต่าเพ็กเป็นอย่างดี โดยไม่ทำร้ายซึ่งกันและกัน ชาวบ้านเล่าว่าเต่าเพ็กมีสัญชาตญาณในการกินอาหารดีมาก เพราะเต่ามักไปจับกลุ่มออกันแน่น ในบ้านผู้ใหญ่บ้านหรือร้านขายของชำ ที่มักจะมีการนำขนุนหรือเศษอาหารมารวมกันไว้ในช่วงเย็นของแต่ละวัน อาหารของเต่าเพ็กในหมู่บ้านได้แก่ ขนุน สับปะรด แตงไทย พืชผักพวกแตงกวา ผักบุ้ง ผักกาด กะหล่ำปลี หน่อไม้ และซากสัตว์ จากการสำรวจของชาวบ้านพบว่า เต่าในหมู่บ้านมีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี ปัจจุบันมีอยู่ประมาณมากกว่า ๒,๐๐๐ ตัว ทำให้อาหารในบริเวณดอนเต่ามีไม่เพียงพอ เต่าจึงออกหากินตามหมู่บ้านใกล้เคียง โดยไม่มีใครกล้าทำอันตรายเต่าเหล่านี้ เนื่องจากมีเรื่องเล่าว่าเคยมีราษฎรจากที่อื่นมาจับเต่าไปต้มกิน ทำให้อาเจียนเป็นโลหิตและตายในทันที ชาวบ้านจึงยึดถือเป็นประเพณีไม่ทำร้ายเต่า
ข้อควรรู้เกี่ยวกับเต่าเหลือง
1. 2. ตามธรรมชาติของสัตว์เลื้อยคลาน เมื่อวางไข่ แล้วจะปล่อยให้ฟักเป็นตัวตามธรรมชาติ ไม่มีการกกไข่ พลิกไข่ ดังนั้นการจับหรือพลิกไข่ อาจจะทำให้ไข่เน่าเสีย หรือลูกเต่าออกมาพิการได้ 3. อุณหภูมิเป็นเครื่องกำหนดเพศของเต่า ไข่เต่าที่ได้รับอุณหภูมิlสูงจะฟักออกมาเป็นเพศเมีย 4. เต่าแต่ละชนิดกินอาหารต่างกัน เช่นเต่านาชอบกินหอยขม เต่าเดือยชอบกินเห็ด ดังนั้นการเลี้ยงเต่าจึงต้องศึกษาเกี่ยวกับอาหารเต่าให้ถูกต้อง |
การเดินทางไปหมู่บ้านเต่า
เมื่อเดินทางไปถึงจากขอนแก่นไปตามทางหลวงหมายเลข ๑๒ (ขอนแก่น-ชุมแพ) ประมาณ ๑๐ กิโลเมตร เมื่อถึงบ้านทุ่มเลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข ๒๐๖๒ (ขอนแก่น-มัญจาคีรี) ประมาณ ๕๔ กิโลเมตร (ก่อนถึงอำเภอมัญจาคีรี ๒ กิโลเมตร) หรือสังเกตหลักกิโลเมตรที่ ๔๐ ด้านซ้ายมือจะพบปั๊มเชลล์ และปากทางเข้าหมู่บ้านเต่า เป็นศาลมีรูปเต่ายืนอยู่ เข้าไปประมาณ ๕๐ เมตร ก็จะถึงหมู่บ้านเต่า
สิม ( โบสถ์ ) วัดสระทองบ้านบัว ตั้งอยู่ที่บ้านบัว ตำบลกุดเค้า เป็นอาคารที่มีคุณค่าทางสถาปัตยกรรม แสดงลักษณะเด่นชัดของถิ่นอีสาน มีการแต้มสีภาพภายนอกอาคารประดับแว่นแก้วฐานชุกชี ภายในยังคงประดิษฐานพระประธานศิลาทรายรูปแบบอีสานที่หาได้ยาก โดยในปี ๒๕๔๕ ได้รับรางวัลอาคารทรงคุณค่า ด้านการอนุรักษ์มรดกและวัฒนธรรมแห่งเอเชียและแปซิฟิก จากองค์การยูเนสโก้ ( UNESCO )