หลวงพ่อพระยืนมิ่งมงคล
“หลวงพ่อพระยืนมิ่งมงคล” เป็นพระพุทธรูปศิลา
ที่สร้างขึ้นในสมัยก่อนประวัติศาสตร์
หรือเรียกว่าสมัยขอมโบราณของอาณาจักรขอม
(ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๙) เป็นพระพุทธรูปขอม
สร้างขึ้นสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๒ (พุทธศตวรรษที่ ๑๕-๑๖)
เป็นโบราณวัตถุที่สร้างขึ้นสักการบูชาในสมัยขอมเรืองอำนาจ
“หลวงพ่อพระยืนมิ่งมงคล” มี ๒ องค์ คือ
หลวงพ่อพระยืนมิ่งมงคลเหล่าตะวันออก
และหลวงพ่อพระยืนมิ่งมงคลเหล่าตะวันตก
หลวงพ่อพระยืนมิ่งมงคล ประดิษฐานอยู่บริเวณ
โรงเรียนชุมชนบ้านพระยืนองค์หนึ่ง เรียกว่า องค์ตะวันออก
เพราะอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของหมู่บ้านพระยืน
มีอาณาบริเวณเฉพาะ สร้างศาลาเป็นที่กำบังแดดฝนอย่างดี
หลวงพ่อพระยืนมิ่งมงคล ประดิษฐานอยู่บริเวณเหล่าตะวันตก
ของหมู่บ้านพระยืนอีกองค์หนึ่ง ซึ่งแต่เดิมคนรุ่นเก่า เล่าว่า
เป็นพระพุทธรูปยืน แต่ถูกโจรทุบทำลาย
ดังคำบอกเล่าในศิลาจารึกที่ฐานพระพุทธรูปที่จารึกไว้
เมื่อคราวปฏิสังขรณ์เสร็จเมื่อรัตนโกสินศก ๑๑๑ (พ.ศ.๒๔๓๕)
พระพุทธรูปศิลาทั้งสององค์นี้ เป็นพระพุทธรูปสมัยขอม
เป็นพระที่มีพุทธลักษณะแบบสกุลช่างของขอมโดยแท้จริง
คือ เป็นพระนาคปรก มีอายุราว ๑,๐๐๐ กว่าปีมาแล้ว
ลักษณะของพระพุทธรูปสมัยขอม มีพุทธลักษณะสำคัญ ดังนี้
๑. เป็นพระพุทธรูปแกะสลักศิลาทราย หรือศิลาแลง
๒. เป็นพระพุทธรูปที่มีพระวรกายกำยำ
๓. เป็นพระพุทธรูปที่มีนาคปรก ๗ เศียรเป็นรัศมีประภามณฑล
๔. เป็นพระพุทธรูปนั่งขัดสมาธิ ปางมารวิชัย
และเป็นพระพุทธรูปปางประทานพร
๕. เป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะพระโอษฐ์แบะ
พระเนตรโต พระพักตร์เหลี่ยม พระขนง เป็นสันตรง
พระนาสิกโด่งสั้น ทรงจีวรแบบเนื้อไม้มีกลีบ
แหล่งอ้างอิง
หลวงพ่อพระยืนมิ่งมงคล. [online] เข้าได้จาก: http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=16706, 2553.
|