รายงานการวิจัยเชิงคุณภาพเรื่องเจ้าพ่อมอดินแดง : ความเชื่อของนักศึกษา บุคลากร มหาวิทยาลัยขอนแก่น หมู่ 16 ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

นิติทัศน์  วิรุณปักษี, เบญจวรรณ  ทรวงโพธิ์, รติพร  วงศ์ศักดิ์, ลลิตา  ชาญชรา, รัตนา  วินทะไชย, สุภาพร  มีอุตส่าห์, สุภาวดี  ปิงแก้ว และอัจฉราพร   อรรคมุด.  (2552).  เจ้าพ่อมอดินแดง : ความเชื่อของนักศึกษา บุคลากร มหาวิทยาลัยขอนแก่น หมู่ 16 ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น.  คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

 

            รายงานการวิจัยเชิงคุณภาพเรื่องเจ้าพ่อมอดินแดง : ความเชื่อของนักศึกษา บุคลากร มหาวิทยาลัยขอนแก่น หมู่ 16 ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ของ นิติทัศน์  วิรุณปักษี, เบญจวรรณ  ทรวงโพธิ์, รติพร  วงศ์ศักดิ์, ลลิตา  ชาญชรา, รัตนา  วินทะไชย , สุภาพร  มีอุตส่าห์, สุภาวดี  ปิงแก้ว และอัจฉราพร   อรรคมุด เป็นการศึกษาประวัติความเป็นมาของเจ้าพ่อมอดินแดง ความเชื่อในการนับถือองค์เจ้าพ่อมอดินแดงรวมถึงแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อ และความสัมพันธ์ระหว่างมหาวิทยาลัยขอนแก่นกับเจ้าพ่อมอดินแดนตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน 

ศาลเจ้าพ่อมอดินแดงเดิม

             การสร้างศาลเจ้าพ่อมอดินแดงมีมาก่อนนี้ คือมีรูปแบบเป็นแบบศาลเสาเดียวหรือศาลพระภูมิ  สมัยจอมพลสฤษดิ์  ธนะรัชต์  เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการสร้างศาลขึ้นมาใหม่ เป็นศาลเพียงตาที่มีสี่เสา  ต่อมาได้มีการสร้างศาลเจ้าพ่อมอดินแดงขึ้นมาใหม่อีกครั้ง  เพื่อให้ดูเหมาะสมกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น

                

ศาลเจ้ามอดินแดงปัจจุบัน

           จุดเปลี่ยนจากศาลเก่าเกิดขึ้นจากการต้องการลดความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างชาวมหาวิทยาลัยขอนแก่นกับกลุ่มไม่เห็นด้วยเพราะคิดว่าขัดต่อพระพุทธศาสนาถือเป็นเรื่องงมงาย  สมาคมศิษย์เก่าจึงมีแนวคิดที่จะสร้างศาลเจ้าพ่อใหม่ขึ้น ก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ.2546 มีการอัญเชิญพระพุทธรูปมาประดิษฐานที่ศาลาธรรมหลังใหม่และมีการอัญเชิญเทวดามาอยู่เป็นองค์เจ้าพ่อมอดินแดง

ศาลเจ้ามอดินแดงปัจจุบัน สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2546

            จากการสัมภาษณ์ ผศ.ดร.ชลิต  ชัยครรชิต  ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับศาลเจ้าพ่อมอดินแดงว่าสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ยุค  คือ 
1. ยุคดั้งเดิม เป็นยุคที่ชาวบ้านมีการนับถือผีอยู่เป็นส่วนมาก เมื่อมีความเชื่อเกิดขึ้นจึงมีการสร้างสัญลักษณ์ขึ้นเพื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ  ชาวบ้านที่มีความเชื่อเรื่องเจ้าพ่อมอดินแดงจึงได้ร่วมกันสร้างศาลพระภูมิขึ้นเพื่อสักการะ
2. ยุคก่อตั้งมหาวิทยาลัยขอนแก่น ยุคนี้เป็นยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงจากศาลสี่เสา(ศาลเพียงตา)  คือศาลเดิมในปัจจุบัน
3. ยุคปัจจุบัน ยุคนี้เป็นการเปลี่ยนจากศาลเดิมมาเป็นศาลใหม่และมีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมที่มีแต่ผี กลายมาเป็นมีเทวดา และพระพุทธรูป ให้เลือกสักการะตามความเชื่อส่วนบุคคล

สิ่งที่ประชาชนนิยมนำมาถวายเจ้าพ่อ คือ ช้างกับม้า

           การห้อยกระดิ่งที่รั้วศาลเจ้าพ่อมอดินแดงเพื่อแสดงถึงการวอนขอต่อเจ้าพ่อมอดินแดงด้วยการเขียนความต้องการไว้ที่กระดาษแล้วห้อยกับกระดิ่ง ซึ่งสันนิษฐานว่า การห้อยกระดิ่งเพื่อวอนขอต่อเจ้าพ่อดินแดงเกิดจากการที่นักศึกษาญี่ปุ่นที่อยู่ในมหาวิทยาลัยขอนแก่นมาสักการะเจ้าพ่อมอดินแดงแล้วได้มีการบนบานขอสิ่งต่างๆ โดยการเขียนข้อความใส่กระดาษห้อยติดกับกระดิ่ง เพื่อที่จะได้บันดารให้เกิดผลตามความต้องการ

คำกล่าวสักการะเจ้าพ่อดินแดง

เอกสารงานวิจัยฉบับเต็ม1

เอกสารงานวิจัยฉบับเต็ม2

 



Copyright (c) 2010 by Academic Resources Center สงวนสิทธิ์ห้ามทำซ้ำ ทั้งหมด หรือบางส่วนไม่ว่าในรูปแบบ
หรือสิ่งใดโดยไม่ได้รับการอนุญาตจากผู้ดูแลเว็บไซต์เป็นลายลักษณ์อักษร
Contact Webmaster :library@kku.ac.th or nayder@kku.ac.th