มุมอีสานสนเทศ
ค้นหา:     ค้นหาขั้นสูง
เลือกดูตามหมวดหมู่:
English Version

งานเทศกาลไหม ประเพณีผูกเสี่ยว และงานกาชาดจังหวัดขอนแก่น เนื้อหาบทความ

งานเทศกาลไหม ประเพณีผูกเสี่ยว และงานกาชาดจังหวัดขอนแก่น

แสดงผล: 4157
ลงคะแนน: 1
วันที่สร้าง: 03 Dec, 2010
ผู้สร้าง : นายิกา N.
วันที่ปรับปรุง : 06 Jan, 2012
ผู้แก้ไขปรับปรุง : นายิกา N.

          งานเทศกาลไหมจังหวัดขอนแก่น หรือที่นิยมเรียกกันว่า “งานไหม” หรือ “เทศกาลไหม” จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๒ ในสมัยนายชำนาญ พจนา เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น เรียกว่า "งานเทศกาลไหมจังหวัดขอนแก่น" ภายในงานนอกจากจะมีการออกร้านแสดงผ้าไหมและผลิตภัณฑ์ที่ทำจากไหมของทางราชการและเอกชนเพื่อจำหน่ายแก่ผู้สนใจแล้ว ยังมีการแสดงผลงานหรือผลการปฏิบัติราชการประจำปีของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ บริษัท ห้างร้าน ธนาคาร และองค์กรเอกชนต่างๆ ในรูปแบบการจัดนิทรรศการเคลื่อนที่ นอกจากนี้ที่ศาลาไหมยังมีการประกวดผู้มีผลงานดีเด่นในการทอผ้าไหมลายโบราณด้วย ซึ่งมี ๔ รางวัล ได้แก่ รางวัลชนะเลิศ รางวัลรองชนะเลิศที่ ๒ รางวัลรองชนะเลิศที่ ๓ และรางวัลชมเชย
          ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๒๓ ได้เพิ่มงานประเพณีผูกเสี่ยวในงานเทศกาลไหมด้วย โดยได้นำแนวคิดมาจากการจัดประเพณีผูกเสี่ยวของกิ่งอำเภอเปือยน้อย ซึ่งจัดโดยนายเลื่อน รัตนมงคล หัวหน้ากิ่งอำเภอเปือยน้อยในขณะนั้น เรียกชื่องานนี้ใหม่ว่า “งานเทศกาลไหมและประเพณีผูกเสี่ยว" โดยมีจุดประสงค์สำคัญคือ  ๑)  เพื่อให้ประชาชนเข้าใจความหมายของคำว่า “เสี่ยว”อย่างถูกต้อง  ๒) เพื่อฟื้นฟูและอนุรักษ์ประเพณีอันดีงามนี้ไว้เป็น “มรดกทางวัฒนธรรม”  ๓) เพื่อส่งเสริมให้คนในชาติตระหนักถึงความสำคัญของความเป็นมิตรกัน  ๔) เพื่อนำค่าแห่งมิตรภาพไปใช้ให้เป็นประโยชน์ในด้านความร่วมมือในการพัฒนาประเทศชาติและขายายผลการผูกเสี่ยวไปสู่คนในชาติให้มากยิ่งขึ้น
           จนถึงปี พ.ศ.๒๕๒๖ จึงได้เพิ่มงานกาชาดเข้าไปด้วย และมีชื่องานตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันว่า “งานเทศกาลไหม ประเพณีผูกเสี่ยวและงานกาชาดจังหวัดขอนแก่น ประจำปี...” โดยจัดเป็นประจำทุกปี ระหว่างวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน-๑๐ ธันวาคมของทุกปี ที่บริเวณสนามหน้าศาลากลางจังหวัดขอนแก่น ซึ่งจังหวัดขอนแก่นถือเป็นงานเทศกาลประจำปีของจังหวัด  โดยได้รับการสนับสนุนจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์จนเป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย โดยเฉพาะประเพณีผูกเสี่ยว เป็นประเพณีดั้งเดิมของคนกลุ่มวัฒนธรรมไทยลาว หรือชาวอีสานมาแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน คำว่า “เสี่ยว” ในความหมายของชาวอีสาน หมายถึง เพื่อนรัก เพื่อนตาย เพื่อนร่วมชะตาชีวิต ร่วมทุกข์ร่วมสุข ถือเสมือนมีชีวิตเดียวกัน คู่เสี่ยวจะติดต่อไปมาหาสู่และช่วยเหลือเกื้อกูลกันอยู่ตลอดเวลา คนที่จะเป็นคู่เสี่ยวจะต้องเป็น ชายกับชาย หญิงกับหญิง ซึ่งสนิทสนมกัน รสนิยมคล้ายกัน เกิดปีเดียวกัน มีบุคลิกคล้ายกัน พ่อแม่เห็นว่าเด็กรักกันก็จะนำมาผูกแขนต่อหน้าผู้ใหญ่ อบรมให้รักกัน แล้วทั้งสองคนจะได้ชื่อว่าเป็นเสี่ยวกันไปจนกว่าชีวิตจะหาไม่ ไม่มีอะไรมาพรากให้จากกันได้แม้แต่ความตาย ทั้งนี้ความผูกพันของเสี่ยวนี้ไม่เฉพาะกับคู่เสี่ยวเท่านั้น หากมีความหมายผูกพันเชื่อมโยงไปถึงครอบครัว ญาติ พี่น้องและหมู่ของคู่เสี่ยวด้วย

                                                                                              

          สำหรับการจัดงานเทศกาลไหม ประเพณีผูกเสี่ยว และงานกาชาดจังหวัดขอนแก่น ประจำปี ๒๕๕๔ นี้ นายสมบัติ ตรีวัฒน์สุวรรณ ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น เปิดเผยว่า จังหวัดขอนแก่น ร่วมกับ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานขอนแก่น องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ขอนแก่น และภาคเอกชน จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒๙ พ.ย.-๑๐ ธ.ค.๒๕๕๔ รวม ๑๒ วัน ๑๒ คืน ณ บริเวณสนามหน้าศาลากลางจังหวัดขอนแก่น ซึ่งถือเป็นงานประจำปีที่สำคัญของจังหวัดขอนแก่นในช่วงต้นฤดูหนาว ซึ่งการจัดงานเทศกาลไหม ประเพณีผูกเสี่ยว และงานกาชาดจังหวัดขอนแก่น ได้จัดมาตั้งแต่ปี ๒๕๒๒ เป็นต้นมา

          โดยปีนี้จะมีการจัดขบวนแห่ที่ยิ่งใหญ่รวมทั้งรูปแบบการจัดงานที่เน้นศิลปวัฒนธรรมอีสาน รักษาขนบธรรมเนียมการผูกเสี่ยวที่เป็นวัฒนธรรมสืบทอดต่อกันมาหลายชั่วอายุคนในภาคอีสาน และกิจกรรมเทิดพระเกียรติในหลวงครบรอบ ๘๔ พรรษา มีการรับบริจาคสิ่งของช่วยกาชาดเพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ประสบภัย และงานเทศกาลไหมปีนี้ จังหวัดขอนแก่นจะไม่มีการเก็บเงินค่าผ่านประตูแต่อย่างใด เพื่อให้ชาวขอนแก่นมาท่องเที่ยวตามประเพณีหลังจากการเก็บเกี่ยวข้าว ซึ่งปีนี้นาข้าวก็เสียหายหลายแสนไร่ และชาวขอนแก่นต้องเจอกับปัญหาน้ำท่วมมานานเป็นเดือนแล้ว



         

          กิจกรรมในงานตลอด ๑๒ วัน ๑๒ คืน จะมีการแสดงจากศิลปินนักร้องชั้นนำของประเทศ การแสดงดนตรีศิลปวัฒนธรรมอีสาน การประกวดศิลปวัฒนธรรมอีสาน การผูกเสี่ยว การแข่งขันพิณ แคน โหวด กลองยาว ที่ศาลาผูกเสี่ยว

          นอกจากนี้ที่ศาลาไหม มีการประกวดผ้าไหมสวยงาม และรวบรวมผ้าไหมที่มีลวดลายสวยงามในจังหวัดขอนแก่นและในภาคอีสานมาแสดงและจำหน่ายในงานนี้ รวมทั้งสินค้าโอท็อปมากมาย

          พร้อมทั้งมีการประกวดนางงามไหมขอนแก่น ซึ่งเป็นสาวชาวขอนแก่นหรือคนในพื้นที่เท่านั้น ไม่ใช่นางงามเดินสายเหมือนปีที่ผ่านๆ มา มาร่วมประชันความงามบนเวทีประกวดที่โดดเด่นสวยงาม ที่ถือว่าเป็นเวทีประกวดสาวงามที่สำคัญของประเทศไทยแห่งหนึ่ง

          และมาร่วมทำบุญกับกาชาดขอนแก่นในกิจกรรมธารากาชาดลุ้นโชค ลุ้นรางวัลมากมาย โดยมีภาครัฐ เอกชน และสมาคมสื่อมวลชนจังหวัดขอนแก่น มอบเงินและของรางวัลสนับสนุนกาชาด จ.ขอนแก่น อีกเป็นจำนวนมาก "เราช่วยกาชาด กาชาดช่วยเรา"  สำหรับกิจกรรมของร้านกาชาด ปีนี้มีรางวัลธารากาชาดให้กับประชาชนได้ร่วมช่วยกาชาด โดยมีรางวัลตั้งแต่เครื่องใช้ไฟฟ้า รถจักรยานยนต์ และของรางวัลอื่นๆ อีกมากมาย

           วัตถุประสงค์การจัดงานครั้งนี้เพื่อเป็นการแสดงเอกลักษณ์ความสวยสดงดงามของลายผ้าไหมของชาวขอนแก่น ซึ่งถือได้ว่าเป็นแหล่งรวมผ้าไหมที่หลากหลายและสวยงามที่สุดของประเทศไทย

          ผวจ.ขอนแก่น ได้กล่าวยืนยันต่อไปอีกว่า งานเทศกาลไหมปีนี้จะยิ่งใหญ่เช่นทุกปีที่ผ่านมา เพื่อส่งเสริมและอนุรักษ์ประเพณีท้องถิ่นให้คงไว้และเป็นที่รู้จักแพร่หลายยิ่งขึ้น ทางจังหวัดได้จัดงานประเพณีและวัฒนธรรมที่ดีของขอนแก่นสืบเนื่องต่อกันมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๓ ในงานเทศกาลไหม คือ ประเพณีผูกเสี่ยว ที่เป็นการแสดงออกถึงความรัก ความผูกพัน ความเป็นเพื่อนรัก พร้อมที่จะช่วยเหลือซึ่งกันและกันประดุจพี่น้องหรือเพื่อนตาย ดังนั้นการผูกเสี่ยวให้เป็นเสี่ยวฮักเสี่ยวแพงกัน คำว่า "เสี่ยว" ไม่ใช่ธรรมดา ตามภาษาของอีสานบ้านเราหมายถึง เพื่อนตายกันเลยทีเดียว ครั้งนี้จะนำพ่อแม่ ลูกหลาน ผู้ที่เป็นคู่เสี่ยวกัน มาร่วมงานด้วยให้ครอบครัวพ่อแม่ ลูกหลานเขาได้รู้จักกันด้วย จะได้ช่วยเหลือกันไปตลอดนั่นถึงเรียกว่าเสี่ยว ซึ่งปีนี้จะมีคู่เสี่ยวมาร่วมงาน จำนวน ๘๙ คู่ และคู่เสี่ยวเอกจำนวน ๙ คู่ ถือเป็นเลขดี เป็นปีมหามงคลเฉลิมพระเกียรติให้กับในหลวงของเราด้วย จัดขึ้นที่ศาลาผูกเสี่ยวบริเวณคุ้มวัฒนธรรม ซึ่ง อบจ.ขอนแก่น เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบ ซึ่งในปีนี้ทางจังหวัดได้รับเกียรติจาก นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร มาเป้นประธานในพิธี   

          นอกจากนี้ยังเป็นการจัดหารายได้ช่วยเหลือกาชาดจังหวัด ซึ่งเป็นองค์กรหลักที่สำคัญในการสงเคราะห์ผู้ยากไร้ และผู้ประสบสาธารณภัยต่าง ๆ และในกิจการสาธารณประโยชน์ ซึ่งเป็นภารกิจหลักของจังหวัดที่ต้องการให้ประชาชนได้พักผ่อนหลังเสร็จสิ้นการเก็บเกี่ยว ได้นำผลผลิต ผลิตภัณฑ์มาจำหน่ายในงานประจำปี ทั้งเป็นการสนับสนุนนโยบายรัฐบาล เผยแพร่ผลงานโครงการต่าง ๆ เช่น ผลิตภัณฑ์ชุมชน OTOP มีการประกวดและจำหน่ายผลิตผล ผลิตภัณฑ์ รวมทั้งการส่งเสริมการท่องเที่ยว และอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีอีสานอันดีงามให้คงอยู่สืบไป 

           ผวจ.ขอนแก่น กล่าวว่า นอกจากวัตถุประสงค์หลักดังกล่าว งานเทศกาลไหมฯ ยังมุ่งเน้นให้นักธุรกิจ นักออกแบบผลิตภัณฑ์ ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศมาเที่ยวชมได้เห็นคุณภาพความสวยงามของไหมและกระบวนการผลิตผ้าไหมของขอนแก่น มีการพัฒนาคุณภาพ ลวดลาย ได้มาตรฐาน จนส่งออกและนำไปตัดเย็บเสื้อผ้า หรือจัดทำผลิตภัณฑ์จากไหมได้หลากหลายรูปแบบ จนเป็นที่รู้จักดีของชาวไทยและชาวต่างประเทศ

          ขณะที่จุดเด่นของงานคือ ในวันที่ 5 ธันวาคม 2553 ได้มีการประกอบพิธีจุดเทียนชัยถวายพระพร เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ๕ ธันวามหาราช และการจุดพลุ ตะไล ไฟพะเนียง ที่ยิ่งใหญ่และสวยงาม

            นอกจากนี้ยังมีการประกวดพานบายศรี การประกวดนางงามไหม และชมขบวนแห่พิธีเปิดงานอย่างยิ่งใหญ่และสวยงามของอำเภอและหน่วยงานต่างๆ ซึ่งแต่ละขบวนจะมีการตกแต่งอย่างสวยงาม ส่วนกิจกรรมในงาน ประกอบด้วย ร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) ซึ่งบริเวณงานโดยรอบศาลาไหม จะเป็นศูนย์รวมสินค้า OTOP และผลิตภัณฑ์ชุมชน เป็นสินค้าที่ขึ้นชื่อของจังหวัดต่างๆ นอกจากนี้มีกิจกรรมออกร้านนิทรรศการของหน่วยงานราชการใน 26 อำเภอ การออกร้านของภาคเอกชน การจำหน่ายสินค้าประเภท SME และสินค้าราชทัณฑ์ การจำหน่ายผ้าไหม ผลิตภัณฑ์ไหม การแสดงนิทรรศการไหม การประกวดผ้าไหม การทำผ้าบาติกไหม การทอผ้าด้วยกี่กระตุก การมัดหมี่ไหม และชมการแสดงดนตรีของนักร้องลูกทุ่ง-สตริงชื่อดัง การแสดงหมอลำซิ่งของคณะหมอลำชื่อดังทุกคืน


 

 
          "ที่สำคัญงานเทศกาลไหมฯ จ.ขอนแก่น ทุก ๆ ปีที่ผ่านมา ได้มีนโยบายที่จะให้งานประจำปีของ จ.ขอนแก่น เป็นงาน "ปลอดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์" ทุกกรณี เพื่อเป็นจังหวัดนำร่องและสนับสนุนกิจกรรมดีๆ ของสำนักงาน ส่งเสริมสุขภาพแห่งชาติ โดยในบริเวณงานจะไม่อนุญาตให้พ่อค้า แม่ค้า นำเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มาจำหน่ายโดยเด็ดขาด หากฝ่าฝืนจะถูกดำเนินคดี ตามกฎหมายอย่างเฉียบขาด และทางจังหวัดก็จะไม่ขอรับการสนับสนุนจากบริษัทเครื่องดื่มแอลฮอล์อีกด้วย" ผวจ.ขอนแก่น ระบุ

          ด้าน อบจ.ขอนแก่น นายสุชาติ โคตรทุม ปลัด อบจ.ขอนแก่น กล่าวว่า อบจ.ขอนแก่น รับผิดชอบในส่วนของ คุ้มวัฒนธรรม ศาลาผูกเสี่ยว โดยได้สนับสนุนงบประมาณจำนวนกว่า ๓ ล้านบาท ซึ่งในส่วนของกาชาดขอนแก่น อบจ.ได้สนับสนุนงบประมาณให้อีก ๒ แสนบาท ส่วนการจัดกิจกรรมต่างๆ ของคุ้มวัฒนธรรม เช่น พิธีผูกเสี่ยว ประกวดพานบายศรีและขันหมากเบ็ง ประกวดดนตรีพื้นบ้าน การประกวดผ้าไหม การทำผ้าบาติกไหม การทอผ้าด้วยกี่กระตุก การมัดหมี่ไหม การระกวดขับร้องสรภัญญ์ การแสดงโชว์เพลงกล่อมลูกอีสาน บอร์ดนิทรรศการไหม บอร์ดนิทรรศการส่งเสริมการท่องเที่ยวรูปแบบต่างๆ และการฉายภาพยนตร์สารคดีท่องเที่ยว จ.ขอนแก่น ในหัวข้อ "สุขใจไปกับ อบจ.ขอนแก่น" จัดเวทีการแสดงหมู่บ้านงูจงอางแห่งประเทศไทย บ้านโคกสง่า อ.น้ำพอง การแสดงของเยาวชนจากหมู่บ้านเต่า บ้านกอก อ.มัญจาคีรี นอกจากนี้ อบจ.ขอนแก่น ยังได้จัดการแข่งขันตะกร้อเทศกาลไหม อบจ.ขอนแก่นคัพ ครั้งที่ ๖ ประจำปี ๒๕๕๔ แข่งขันทุกคืนที่บริเวณสนามหน้ากองช่าง อบจ. การจัดคุ้มเศรษฐกิจพอเพียง (บ้านตัวอย่าง) บริเวณหน้าศาลาประชาคม โดยสรุปการจัดกิจกรรมในคุ้มวัฒนธรรมปีนี้ อบจ.ขอนแก่น จัดทั้งภาคกลางวัน และภาคกลางคืน

          ขณะที่การรักษาความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ตำรวจ พ.ต.อ.คณิต ดวงหัสดี ผกก.สภ.เมืองขอนแก่น กล่าวว่า ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เมืองขอนแก่น ได้จัดตั้งศูนย์รักษาความปลอดภัยไว้ในบริเวณงาน พร้อมจัดกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจจำนวนมากไว้ประจำตามจุดต่างๆ ทั้งภายในงานและนอกบริเวณงาน ซึ่งก่อนวันงานเจ้าหน้าที่ตำรวจจะมีการตรวจเข้มเพื่อป้องกันเหตุร้ายและการทะเลาะวิวาทของกลุ่มวัยรุ่น แต่คงไม่น่าจะมีเหตุรุนแรงเกิดขึ้น เพราะทุกปีทางจังหวัดได้วางมาตรการเข้มข้นห้ามจำหน่ายสุราในบริเวณงาน อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะมีพิธีเปิดงานไหมฯ ทางตำรวจขอนแก่นจะมีการตรวจเข้มในการกวkดล้างอาชญากรรมในรูปแบบต่างๆ เพื่อความปลอดภัยของประชาชนที่จะมาเที่ยวชมในงานด้วย

          สำหรับการประกวดพานบายศรี เพื่อเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมสิ่งแวดล้อม คณะกรรมการตัดสินการประกวดพานบายศรี โดยการนำของผู้ช่วยศาสตราจารย์ชอบ ดีสวนโคกและนางพัชนี สภา ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดขอนแก่น ได้กำหนดเกณฑ์การประกวดไว้ดังนี้

เกณฑ์การประกวด

          ๑. ใช้วัสดุธรรมชาติโดยคำนึงถึงการอนุรักษ์วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม
          ๒. พานบายศรีต้องมีเส้นผ่าศูนย์กลางฐานไม่ต่ำกว่า ๓๐ เซนติเมตร สูงไม่ต่ำกว่า ๑.๒๐ เมตร ประกอบด้วย ๓ ชั้น
          ๓. ภายในพานบายศรีต้องประกอบไปด้วย ฝ้ายผูกแขน เทียน ๑ คู่ ซิ่นผืนแพร เหล้าก้อง ไข่นวย ข้าวเหนียว กล้วย ข้าวต้มมัด
          ๔. ต้องนำพานบายศรีมาจัดวางให้เรียบร้อยในวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ เวลา ๐๙.๐๐-๑๒.๐๐ น. ณ ศาลาผูกเสี่ยว คุ้มวัฒนธรรม
ทั้งนี้พานที่เข้าประกวดจะได้รับเกียรติเชิญเข้าเป็นพานประกอบพิธีบายศรีสู่ขวัญคู่เสี่ยว ในพิธีผูกเสี่ยวตามที่คณะกรรมการร้องขอ

การให้คะแนน (คะแนนเต็ม ๕๐ คะแนน)
           ๑.  รูปทรงได้สัดส่วน     ๑๐ คะแนน
           ๒.  เทคนิคในการใช้วัสดุ     ๑๐ คะแนน
           ๓.  ความละเอียด ประณีตในการตกแต่งพานบายศรี  ๑๐ คะแนน
           ๔.  การใช้วัสดุธรรมชาติล้วน ๆ       ๕ คะแนน
           ๕.  ความสมบูรณ์ของเครื่องบริวารในพานบายศรี     ๕ คะแนน
           ๖.  ถูกต้องตามหลักธรรมเนียมประเพณีของอีสาน  ๑๐ คะแนน

รางวัลการประกวด
           รางวัลที่ ๑   ได้รับโล่และเงินรางวัล   ๕,๐๐๐ บาท
           รางวัลที่ ๒   ได้รับโล่และเงินรางวัล   ๔,๐๐๐ บาท
           รางวัลที่ ๓   ได้รับโล่และเงินรางวัล   ๓,๐๐๐ บาท
           รางวัลชมเชย ๓ รางวัล   ได้รับเงินรางวัล ๆ ละ  ๒,๐๐๐ บาท

ผลการประกวดพานบายศรี ประจำปี ๒๕๕๔

           รางวัลที่ ๑   อำเภอบ้านแฮด


          

รางวัลที่ ๒   อำเภอมัญจาคีรี


           รางวัลที่ ๓   อำเภอกระนวน


           รางวัลชมเชย ๓ รางวัล ได้แก่ 

อำเภอเปือยน้อย 

 

อำเภอบ้านฝาง

 

อำเภอหนองเรือ

 

    
The schedule of Khon Kaen's Silk Festival, Phuk Sieo Tradition and Red Cross Fair, 2011
November 29th, 2011 front City Hall, Khon Kaen Provincial Office
.
12.30 p.m.   The parade ( starting from Tessaban Suan Sanuk School and parade to the Khon Kaen Provincial Office )
02.30 p.m.   Local music performance at the center stage
05.00 p.m.   Opening Ceremony
05.35 p.m.   Phuk Siao Tradition at Sala Phuk Siao
06.10 p.m.   Silk Fashion Show at Sala Mai 



                                                  งานเทศกาลไหม ประเพณีผูกเสี่ยว และงานกาชาดจังหวัดขอนแก่น ประจำปี ๒๕๕๓ 

          การจัดเทศกาลงานไหมฯ นี้ ถือเป็นภารกิจหลักของจังหวัดขอนแก่น ที่ต้องการให้ประชาชนได้พักผ่อนหลังเสร็จสิ้นการเก็บเกี่ยว ได้นำผลผลิต ผลิตภัณฑ์ มาจำหน่ายในงานเทศกาลประจำปี ทั้งเป็นการสนับสนุนนโยบายรัฐบาล เผยแพร่ผลงานโครงการต่างๆ เช่น ผลิตภัณฑ์ชุมชน ผลิตภัณฑ์โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) มีการประกวดและจำหน่ายผลิตผล ผลิตภัณฑ์ รวมทั้งการส่งเสริมการท่องเที่ยว และอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีอีสานอันดีงามให้คงอยู่สืบไป  สำหรับผ้าไหมและผลิตภัณฑ์ไหมได้จัดแสดงและจัดจำหน่ายที่ศาลาไหมภายในบริเวณงาน

          ผวจ.ขอนแก่น กล่าวว่า งานเทศกาลไหมฯ ยังมุ่งเน้นให้นักธุรกิจ นักออกแบบผลิตภัณฑ์ ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศมาเที่ยวชมงาน เพื่อให้เห็นคุณภาพ ความสวยงามของไหม และกระบวนการผลิตสินค้าที่ทำจากไหมของจังหวัดขอนแก่น มีการพัฒนาคุณภาพ ลวดลาย ได้มาตรฐาน จนส่งออกและนำไปตัดเย็บเสื้อผ้า หรือจัดทำผลิตภัณฑ์จากไหมได้หลากหลายรูปแบบ จนเป็นที่รู้จักดีของชาวไทยและชาวต่างประเทศ

 

          จุดเด่นของงาน คือ วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๓ ได้มีการประกอบพิธีจุดเทียนชัยถวายพระพร เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ ๕ ธันวา มหาราช และการจุดพลุ ตะไล ไฟพะเนียง ที่ยิ่งใหญ่และสวยงาม โดยในปีนี้จะมีคู่เสี่ยวเอก จำนวน ๙ คู่และคู่เสี่ยวทั่วไปมาร่วมงานในปีนี้ ๘๓ คู่ ถือเป็นเลขดีเป็นปีมหามงคลเฉลิมพระเกียรติให้กับในหลวงของเราด้วย

         

          นอกจากนี้ยังมีการประกวดพานบายศรี และการประกวดนางงามไหมขอนแก่น

          สำหรับขบวนแห่พิธีเปิดงาน ได้จัดอย่างยิ่งใหญ่และสวยงาม มีขบวนแห่ของอำเภอและหน่วยงานต่าง ๆ ซึ่งแต่ละขบวนจะมีการตกแต่งอย่างสวยงาม โดยมีวงโยธวาทิตที่ได้รับรางวัลชนะเลิศระดับนานาชาติ จากโรงเรียนเทคโนโลยีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นผู้นำขบวน

 

          ส่วนกิจกรรมในงาน ประกอบด้วย ร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน โอทอป ซึ่งบริเวณงานโดยรอบศาลาไหม จะเป็นศูนย์รวมสินค้าโอทอป และผลิตภัณฑ์ชุมชน เป็นสินค้าที่ขึ้นชื่อของจังหวัดต่าง ๆ นอกจากนี้ มีกิจกรรม ออกร้านนิทรรศการของหน่วยงานราชการใน ๒๖ อำเภอ การออกร้านของภาคเอกชน การจำหน่ายสินค้าประเภทเอสเอ็มอี และสินค้าราชทัณฑ์ การจำหน่ายผ้าไหม ผลิตภัณฑ์ไหม การแสดงนิทรรศการไหม การประกวดผ้าไหม การทำผ้าบาติกไหม การทอผ้าด้วยกี่กระตุก การมัดหมี่ไหม

 

          และชมการแสดงดนตรีของนักร้องชื่อดัง การแสดงหมอลำซิ่งของคณะหมอลำชื่อดัง  การแสดงศิลปวัฒนธรรมอีสาน

          ที่สำคัญงานเทศกาลไหมฯ ปีนี้ จ.ขอนแก่น มีนโยบายที่จะให้งานประจำปีของ จ.ขอนแก่น เป็นงาน “ปลอดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์” ทุกกรณี  เพื่อเป็นจังหวัดนำร่องและสนับสนุนกิจกรรมดี ๆ ของสำนักงานส่งเสริมสุขภาพแห่งชาติ  โดยในบริเวณงานจะไม่อนุญาตพ่อค้า แม่ค้านำเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มาจำหน่ายโดยเด็ดขาด หากฝ่าฝืนจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมายอย่างเฉียบขาด และจังหวัดไม่ขอรับการสนับสนุนจากบริษัทเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ทุกชนิดอีกด้วย” ผวจ.ขอนแก่นระบุ  

          นอกจากนี้ยังเป็นการจัดหารายได้ของกาชาดจังหวัดขอนแก่น ซึ่งเป็นองค์กรหลักที่สำคัญในการสงเคราะห์ผู้ยากไร้ และผู้ประสบสาธารณภัยและกิจการสาธารณประโยชน์ต่าง ๆ  สำหรับกิจกรรมของร้านกาชาดปีนี้ก็จะมีรางวัลใหญ่มาให้กับประชาชนได้ร่วมสนับสนุนกาชาด ร่วมลุ้นรางวัลใหญ่กับสลากกาชาดสมนาคุณ ฉบับละ ๒๐ บาท โดยเฉพาะหางบัตรผ่านประตูราคา ๒๐ บาท เป็นรางวัลใหญ่ รถยนต์กระบะรุ่นใหม่ล่าสุด จำนวน ๒ คัน รางวัลที่ ๑ มี ๑ รางวัลเป็น รถกระบะอีซูซุ ดีแม็ค ซุปเปอร์ไททาเนียม สเปซแค๊ป มูลค่ารางวัลละ ๕๖๒,๕๐๐ บาท รางวัลที่ ๒ มี ๑ รางวัลเป็น รถกระบะอีซูซุ ดีแม็ค ซุปเปอร์ไททาเนียม ตอนเดียว มูลค่ารางวัลละ ๕๐๗,๕๐๐ บาท รางวัลที่ ๓ มี ๔ รางวัลเป็น รถจักรยานยนต์ยามาฮ่ามีโอ มูลค่ารางวัลละ ๔๓,๐๐๐ บาท รางวัลที่ ๔ มี ๖ รางวัลเป็นทองคำ มูลค่ารางวัลละ ๒๐,๐๐๐ บาท รางวัลที่ ๕ มี ๖ รางวัลเป็นทองคำ มูลค่ารางวัลละ ๑๐,๐๐๐ บาท  รางวัลที่ ๖ มี ๒๐ รางวัลเป็นทองคำ มูลค่ารางวัลละ ๕,๐๐๐ บาท รางวัลเลขท้าย ๓ ตัว เสี่ยง ๑ ครั้ง มี ๒๕๐ รางวัลเป็นทองคำ มูลค่ารางวัลละ ๑,๒๕๐ บาท รวม ๒๘๘ รางวัล เป็นเงิน ๑,๘๓๔,๕๐๐ บาท ผู้ที่ถูกรางวัลโปรดนำสลากที่มีหมายเลขตรงกับเลขที่ออกไปรับรางวัลที่ศาลากลางจังหวัดขอนแก่น ภายในวันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๕๔ ซึ่งผู้ถูกรางวัลต้องเป็นผู้ชำระภาษีตามกฎหมาย

  

ผลการออกรางวัลสลากกาชาดสมนาคุณ     

          ด้าน นายพงษ์เทพ มุสิเกตุ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น กล่าวว่า  อบจ.ขอนแก่นรับผิดชอบในส่วนของคุ้มวัฒนธรรม ศาลาผูกเสี่ยว โดยการสนับสนุนงบประมาณจำนวนกว่า ๒ ล้านบาท ในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ การท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์ และการฉายภาพยนตร์สารคดีท่องเที่ยว จังหวัดขอนแก่น ส่วนกาชาดจังหวัดขอนแก่น ทาง อบจ. ขอนแก่น ได้สนับสนุนงบประมาณอีก ๒๐๐,๐๐๐ บาท

เรื่องและภาพโดย นายิกา เดิดขุนทด

ดูเพิ่มเติม

เส้นสายลายไหมมัดหมี่อีสาน

วีดิทัศน์งานไหม 2553 

ขบวนพาเหรดพิธีเปิด          

ประเพณีผูกเสี่ยว         

แหล่งอ้างอิง
ขอนแก่นลิ้งค์.  งานไหม 54 งดเก็บค่าผ่านประตู 29 พ.ย.-10 ธ.ค.54 พ่อเมืองเน้นเทิดพระเกียรติ 84 พรรษา.  ค้นเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2554 จาก   http://forum.khonkaenlink.info/index.php?topic=16765269.0

ที่ทำการปกครองจังหวัดขอนแก่น (กลุ่มงานความมั่นคง).  (๒๕๕๔).  งานเทศกาลไหม ประเพณีผูกเสี่ยวและงานกาชาดจังหวัดขอนแก่น ประจำปี ๒๕๕๔ วันอังคารที่ ๒๙ พฤศจิกายน ถึงวันเสาร์ที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๔ ณ สนามหน้าศาลากลางจังหวัดขอนแก่น.  ขอนแก่น: โรงพิมพ์ศิริภัณฑ์ ออฟเซท.

พงษ์เทพ มุสิเกตุ.  (๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๓).  สัมภาษณ์.  รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น. องค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น.   
วิไลวัจส์ กฤษณะภูติ.  (๒๕๓๕).  เสี่ยวเพื่อนรัก.    ใน ที่ระลึกผูกเสี่ยว ๓๕ เทศกาลไหม ประเพณีผูกเสี่ยวและงานกาชาดขอนแก่น.  (หน้า ๓๓-๓๗).  ขอนแก่น: ศูนย์วัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ศูนย์วัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น.  (๒๕๓๘).  ประเพณีผูกเสี่ยว.  วารสารศูนย์การศึกษาต่อเนื่อง.   ๓, ๑ (มกราคม-เมษายน),  ๑-๓.
สมบัติ ตรีวัฒน์สุวรรณ.  (๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๓).  สัมภาษณ์.  ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น.  ศาลากลางจังหวัดขอนแก่น.                                    สุนีย์ เลี่ยวเพ็ญวงษ์.  (๒๕๓๕).  ประเพณีผูกเสี่ยว.    ใน ที่ระลึกผูกเสี่ยว ๓๕ เทศกาลไหม ประเพณีผูกเสี่ยวและงานกาชาดขอนแก่น.  (หน้า ๒๙-๓๑).  ขอนแก่น: ศูนย์วัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น.                                                                                                 DingDaengThai.  (2010).  2010 Khon Kaen Thailand Silk Fair Opening Day Parade.  Retrieved December 7, 2010, from  http://www.youtube.com/watch?v=GqKH8SVXYd0&NR=1

Khonkaentoday.mp4.  (2010).  งานไหมปี 53.  ค้นเมื่อ 7 ธันวาคม 2553 จาก  http://www.youtube.com/watch?v=3ArwLCnVsZo

สมบัติ ตรีวัฒน์สุวรรณ.  (๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๓).  สัมภาษณ์.  ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น.  ศาลากลางจังหวัดขอนแก่น.                                    สุนีย์ เลี่ยวเพ็ญวงษ์.  (๒๕๓๕).  ประเพณีผูกเสี่ยว.    ใน ที่ระลึกผูกเสี่ยว ๓๕ เทศกาลไหม ประเพณีผูกเสี่ยวและงานกาชาดขอนแก่น.  (หน้า ๒๙-๓๑).  ขอนแก่น: ศูนย์วัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

 

 

 

 

 



ลิขสิทธิ์ © 2012 สงวนลิขสิทธิ์ ห้ามทำซ้ำทั้งหมดหรือบางส่วน ไม่ว่าในรูปแบบใดโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ดูแลเว็บไซต์เป็นลายลักษณ์อักษร
ติดต่อผู้ดูแลเว็บไซต์ : somphot@kku.ac.th ผู้พัฒนาโปรแกรม
หมวดหมู่อื่น ๆ
document การละเล่นสะบ้าในประเพณีตรุษไทยภูผาม่าน
document หลวงพ่อพระยืนมิ่งมงคล
document ประเพณีบุญบั้งไฟ อำเภอกระนวน
document พระพุทธรูปโบราณ อำเภอซำสูง
document การศึกษาความเชื่อเกี่ยวกับการใช้ผ้าไหมมัดหมี่ของชาวอำเภอชนบทจังหวัดขอนแก่น
document ความเชื่อเรื่องผ้าไหมมัดหมี่ของชาวอีสาน
document สิม
document ศักยภาพทางเศรษฐกิจของชุมชนหมู่บ้านอีสานจากอดีตถึงปัจจุบัน
document เศรษฐกิจชุมชนหมู่บ้านอีสาน : ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจอีสานหลังสงครามโลกครั้งที่สองถึงปัจจุบัน (2488-2544)
document เศรษฐกิจชุมชนหมู่บ้านอีสานใต้ : ความอยู่รอดของชุมชนท่ามกลางกระแสความเปลี่ยนแปลง
document ข้อมูลวัด จังหวัดขอนแก่น
document บุคคลสำคัญทางศาสนา จังหวัดขอนแก่น
document ประเพณีแต่งงานชาวอีสาน (ประเพณีกินดอง)
document รายงานการวิจัยเรื่องศักยภาพของชุมชนอีสาน : กรณีศึกษาบ้านฝาง
document การผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องศิลปวัฒนธรรมในกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีว ิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ตอน ศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณี
document การสำรวจสถานภาพองค์ความรู้เบื้องต้นจากงานวิจัยเกี่ยวกับวิถีชีวิตทางสังคมและวัฒนธ รรมของกลุ่มชาติพันธุ์ ในภาคอีสาน พ.ศ. 2500-2545
document คติชน : คุณค่าในการท่องเที่ยวชุมชนบ้านโคกม่วง
document ความสัมพันธ์หญิงชายภายใต้กระแสการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
document ทัศนคติของชาวชนบทอีสานต่อการทำบุญ
document ประเพณี คติความเชื่อมีอิทธิพลต่องานสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นอีสาน
document ประเพณีผูกเสี่ยว
document พฤติกรรมการทำบุญของชาวพุทธในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
document รายงานการวิจัยเรื่องทัศนคติของชาวชนบทอีสานต่อการทำบุญ
document รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์เรื่องรูปแบบศิลปวัฒนธรรมประเพณีการฟ้อนแห่ต้นดอกไม้ : กรณีศึกษาบ้านอาฮี หมู่ที่ 1,6 ตำบลอาฮี อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย
document รายงานวิจัยเรื่องเศรษฐกิจชุมชนหมู่บ้านอีสานห้าทศวรรษหลังสงครามโลกครั้งที่สอง (พ.ศ. 2488-2543) : กรณีศึกษาบ้านบัว จังหวัดสกลนคร
document รายงานวิจัยเรื่องเศรษฐกิจชุมชนหมู่บ้านอีสานห้าทศวรรษหลังสงครามโลกครั้งที่สอง (พ.ศ. 2488-2543) : กรณีศึกษาบ้านโนนม่วง จังหวัดร้อยเอ็ด
document รายงานวิจัยเรื่องเศรษฐกิจชุมชนหมู่บ้านอีสานห้าทศวรรษหลังสงครามโลกครั้งที่สอง (พ.ศ. 2488-2544) : กรณีศึกษาบ้านวังสวาบ จังหวัดขอนแก่น
document วัฒนธรรมอีสานกับการพัฒนา
document วิถีครอบครัวและชุมชนชาติพันธุ์ไทยโย้ย บ้านโพนแพง ตำบลหนองสนม อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร
document รายงานการวิจัยเรื่องการศึกษาโครงสร้างชุมชนชาติพันธุ์ผู้ไทย บ้านโนนหอม ตำบลโนนหอม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร
document ความเชื่อเรื่องปู่ตาตะกวดกับวิถีชีวิตของชาวกูยบ้านตรึม ตำบลตรึม อำเภอศรีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์
document ประเพณีและเทศกาลจังหวัดขอนแก่น
document วัดป่าบ้านตาด
document วัดถ้ำกลองเพล
document วัดบูรพาภิราม
document หมู่บ้านวัฒนธรรมผู้ไทยโคกโก่ง
document วัดสุปัฏนารามวรวิหาร
document วัดถ้ำแสงเพชร
document ประเพณีบุญพระเวส หรือบุนพะเหวด
document คติชน : คุณค่าในการท่องเที่ยวชุมชนบ้านโคกม่วง
document พระมงคลมิ่งเมือง (พระยืน)
document รายงานการวิจัยเชิงคุณภาพเรื่องเจ้าพ่อมอดินแดง : ความเชื่อของนักศึกษา บุคลากร มหาวิทยาลัยขอนแก่น หมู่ 16 ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
document วัดพระบาทภูพานคำ
document ศาลเจ้าพ่อมอดินแดง
document สิม (โบสถ์) 2
document สิม (โบสถ์) 1
document หลวงพ่อพระยืนมิ่งมงคล
document ตำราปลูกเฮือน ฉบับวัดบ้านดอนยม ตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
document ตำราปลูกเฮือน ฉบับสำนักสงฆ์อิสระธรรมวิเวก บ้านคกเหลี่ยน-หนองขอน ตำบลวังแสง อำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม
document คาถา ต้นฉบับวัดศรีเวียงชัย บ้านดอนเวียงจันทน์ ตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
document คติชน : คุณค่าในการท่องเที่ยวชุมชนบ้านโคกม่วง
document ความเชื่อเกี่ยวกับต้นไม้ของชาวบ้านศึกษาเฉพาะกรณีหมู่บ้านโนนอำนวย อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์ และหมู่บ้านทุ่งสว่าง อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ
document ฒ ผู้เฒ่าต้องมอง
document การบริโภคสุนัขในจังหวัดสกลนคร
document การปรับตัวทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ไทแดง บ้านโพนทอง เมืองนาทรายทอง นะคอนหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
document การแต่งงานข้ามวัฒนธรรมหญิงไทยกับชายญี่ปุ่น
document บทบาทของวัดต่อชุมชนในชนบท จังหวัดขอนแก่น
document ความสัมพันธ์หญิงชายภายใต้กระแสการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
document เจ้าโคตร : ผู้เว้าแล้วแล้วโลด
document ปราสาทขอมหายไปไหน? เขมรทำลายหรือใครกันแน่
document ภูมิปัญญาพื้นบ้านศาลผีปู่ตา อำเภอสีชมพู จังหวัดขอนแก่น.
document ลำส่องที่พึ่งสุดท้ายของผู้ป่วยในภาคอีสานจริงหรือ?
document สรภัญญ์ : ภูมิปัญญาชาวบ้านกับบทบาทในสังคมอีสาน
document รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ : คติสัญลักษณ์ของพื้นที่และการจัดการใช้พื้นที่ของวัดในชุมชนหมู่บ้านผู้ไท
document พุทธศาสนากับสิ่งแวดล้อม
document รายงานการวิจัยเรื่องวิเคราะห์ความเข้าใจในหลักพุทธธรรมของพระสงฆ์ในเขตอำเภอเมืองขอ นแก่น จังหวัดขอนแก่น
document วิเคราะห์การทำบุญของคนไทยภายใต้ระบบสังคมบริโภคนิยม
document สรภัญญ์ เพลงขับเพื่อศาสนาและจริยธรรม
document วันสงกรานต์
document การปฏิบัติตนขณะตั้งครรภ์ : การเชื่อมโยงระหว่างความเชื่อดั้งเดิมอีสานกับความรู้ทางการแพทย์สมัยใหม่
document คติความเชื่อและระบบสังคมกับการปลูกสร้างเรือนพื้นบ้านและชุมชนผู้ไท
document คติชนวิทยาที่พบในงานของนักเขียนไทยสมัยรัตนโกสินทร์
document ประเพณีตักบาตรเทโว
document ศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สาระนาฏศิลป์ วิชาเลือกนาฏศิลป์พื้นเมือง เรื่อง ประเพณีผูกเสี่ยวจังหวัดขอนแก่น โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบย้อนกลับ(Backward Design) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนนครขอนแก่น
document ศาลเจ้าปึงเถ่ากง-ม่า ขอนแก่น
document ประเพณีผูกเสี่ยวจังหวัดขอนแก่น
document บุญกฐิน
document ประเพณีขึ้นเฮือนใหม่
document บุญข้าวจี่หรือบุญเดือน ๓
document เบื้องลึกเบื้องหลังพระธาตุนาดูน
document ประวัติวัดศรีคุณเมือง อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย
document ฮีตสิบสอง
document วันสงกรานต์
document วันมาฆบูชา



RSS