มุมอีสานสนเทศ
ค้นหา:     ค้นหาขั้นสูง
เลือกดูตามหมวดหมู่:
English Version

ศาลเจ้าปึงเถ่ากง-ม่า ขอนแก่น เนื้อหาบทความ

ศาลเจ้าปึงเถ่ากง-ม่า ขอนแก่น

แสดงผล: 1673
ลงคะแนน: 0
วันที่สร้าง: 08 Nov, 2010
ผู้สร้าง : นายิกา N.
วันที่ปรับปรุง : 15 Dec, 2011
ผู้แก้ไขปรับปรุง : นายิกา N.

ความเป็นมา
          ในสมัยอยุธยาเมื่อคนจีนอพยพเข้ามามากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อง่ายต่อการควบคุมคนจีน กษัตริย์ในสมัยนั้นได้ทรงแต่งตั้งขุนนางเป็นคนจีนในตำแหน่ง พระยาโชฏึกราชเศรษฐี  มาควบคุมคนจีนด้วยกันเอง  คนจีนในเมืองไทยเมื่อมีความเดือดร้อนก็มักพากันมาหาพระยาโชฏึกฯ  บ้านของพระยาโชฏึกฯ ก็กลายเป็นสถานที่สังสรรค์ของคนจีนทั้งหลาย เวลามีงานเลี้ยงมีสารทพิธีต่าง ๆ ก็ใช้บ้านของพระยาโชฏึกฯ เป็นที่จัดงาน เมื่อนานวันเข้าคนจีนมีจำนวนมาก แบ่งกันเป็นชุมชนหลาย ๆ ชุมชน เห็นว่าบ้านของพระยาโชฏึกฯ คับแคบ ไม่เหมาะแก่การจัดงานสังสรรค์และจัดทำพิธีกรรมต่าง ๆ จึงได้ร่วมใจกันจัดสร้างศาลเจ้าของแต่ละชุมชน  แรกเริ่มได้สร้างเป็นศาลเจ้า เรียกกันว่า ศาลเจ้าปึงเถ่ากง-ม่า และก็ได้นิยมสร้างเป็นศาลเจ้าเผยแพร่ออกไปตามแต่ละชุมชนแต่ละจังหวัด นอกจากนี้ ก็ยังมีการสร้างศาลเจ้าของเทพเจ้าองค์อื่นตามมาด้วย เช่น ศาลเจ้าพ่อกวนอู และศาลเจ้าแม่กวนอิม เป็นต้น


           

          ปึงเถ่ากง-ม่า เป็นเทพเจ้าศักดิ์สิทธิ์และเชื่อว่าเมื่อได้กราบไหว้จะดลบันดาลให้ครอบครัวอยู่เย็นเป็นสุข ประกอบกิจการงานลุล่วงด้วยดี เป็นศาลเจ้าที่คนจีนตลอดจนคนไทยเชื้อสายจีนเคารพนับถือและมีความศรัทธามาก เป็นศูนย์รวมน้ำใจแสดงถึงความรัก ความสามัคคี เปรียบเสมือนศาลเจ้าพ่อหลักเมืองของคนจีนและคนไทยเชื้อสายจีน

ความเป็นมาของศาลเจ้าปึงเถ่ากง-ม่า ขอนแก่น

          ศาลเจ้าปึงเถ่ากง-ม่า ขอนแก่น มีมาตั้งแต่เมื่อใดไม่ปรากฏเพราะไม่มีการบันทึกไว้เป็นหลักฐาน จากการสอบถามนายสุรพงษ์ โตแสงทวีชัย ประธานกรรมการจัดงานสมโภชศาลเจ้าปึงเถ่ากง-ม่า ขอนแก่น ประจำปี ๒๕๕๓ และคนเฒ่าคนแก่ทราบเพียงว่า สมัยก่อนรอบบึงแก่นนครเป็นถนนลูกรัง พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรม ชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพทำสวนและเลี้ยงสุกร ในปี พ.ศ. ๒๔๙๙ เทศบาลเมืองขอนแก่นมีโครงการปรับปรุงบึงแก่นนคร มีการขุดลอกบึงโดยให้ชุมชนต่าง ๆ รอบบึงแก่นนครมีส่วนร่วม โดยเทศบาลจ้างชาวชุมชนรอบบึงแก่นนครขุดดินในบึง ในอัตราตารางเมตรละ ๒ บาท มีคนมาร่วมงานขุดลอกบึงเป็นจำนวนมาก ดินที่ขุดได้ส่วนหนึ่งทางเทศบาลนำมาถมถนน อีกส่วนหนึ่งนำมาถมที่ศาลเจ้าปึงเถ่ากง-ม่า ซึ่งในขณะนั้นมีพื้นที่ต่ำกว่าถนน
          ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๐๔ ร้านง้วนกิมฮง ประธานคณะกรรมการศาลเจ้าปึงเถ่ากง-ม่า ขอนแก่นในขณะนั้น ได้ประชุมปรึกษาหารือคณะกรรมการ ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น ๑๒ คน เห็นสมควรให้ดำเนินการก่อสร้างและขยายพื้นที่ศาลเจ้าใหม่แทนศาลเจ้าเดิมที่ก่อสร้างมานาน มีขนาดเล็ก และเริ่มจะเสื่อมโทรมตามกาลเวลา คณะกรรมการศาลเจ้าฯ ในปีนั้นและปีต่อ ๆ มาจึงได้ระดมเงินบริจาคเพื่อเป็นทุนในการก่อสร้างศาลเจ้าฯ หลังใหม่  จนในราวปี พ.ศ. ๒๕๓๖ คณะกรรมการศาลเจ้าฯ ได้ก่อสร้างอาคารศาลเจ้าปึงเถ่ากง-ม่าและศาลเจ้าปู่ครูเย็นหลังใหม่ขึ้นในบริเวณศาลเจ้าปู่ครูเย็น ริมบึงแก่นนคร ด้วยงบประมาณ ๑๒ ล้านบาท จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๓๙ ได้ก่อสร้างศาลเจ้าทั้งสองแล้วเสร็จ นายชุมพล อรุณยะเดช  ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการศาลเจ้าฯ ในขณะนั้นได้จัดงานฉลองสมโภชศาลเจ้าหลังใหม่ เมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ (คณะกรรมการจัดงานประจำปี ๒๕๔๙ สมาคมปึงเถ่ากง-ม่า ขอนแก่น และสื่อมวลชนจังหวัดขอนแก่น, ๒๕๔๙)

งานสมโภชศาลเจ้าปึงเถ่ากง-ม่า ขอนแก่น 
          งานสมโภชศาลเจ้าปึงเถ่ากง-ม่า เดิมทำกันที่ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองขอนแก่น ถนนศรีจันทร์ แต่หลังจากศาลเจ้าปึงเถ่ากง-ม่าหลังใหม่สร้างเสร็จในปี พ.ศ. ๒๕๓๙ และมีการฉลองสมโภชในปีเดียวกันนั้น ในปีต่อมาคณะกรรมการจัดงานศาลเจ้าปึงเถ่ากง-ม่า ขอนแก่น ประจำปี ๒๕๔๐ ได้กำหนดทำพิธีสมโภชศาลเจ้าที่ศาลหลังใหม่ริมบึงแก่นนคร ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๐ เป็นเวลา ๑๐ วัน ๑๐ คืน และสมาคมปึงเถ่ากง-ม่า ขอนแก่นจึงได้ถือเอาเดือนพฤศจิกายนของทุกปีเป็นเทศกาลจัดงานสมโภชศาลเจ้าปึงเถ่ากง-ม่า ขอนแก่น เป็นงานประจำปี โดยมีงานสมโภช ๑๐ วัน ๑๐ คืนนับแต่นั้นมา 
          งานสมโภชศาลเจ้าปึงเถ่ากง-ม่า วันแรกของการเปิดงานเริ่มที่ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองขอนแก่น มีการจุดประทัด จุดพลุเปิดงาน หลังจากนั้นจัดให้มีขบวนแห่เทพเจ้า แป๊ะยิ้ม ล้อโก้ว เจ้าแม่กวนอิม ธงทิว ขบวนฟ้อนรำ ขบวนดนตรีจีน และการแสดงต่าง ๆ ของสมาคมดนตรีจีนขอนแก่น รำพัด รำไท้เก๊ก ขบวนเทพเจ้าน้อย สุดท้ายขบวนอัญเชิญแห่เจ้ารอบเมืองรับการเซ่นไหว้จากสาธุชนพร้อมกับขบวนสิงโต-มังกรทอง เอ็งกอ คนตีฆ้องและกอง อีกมากมาย มีการแห่มังกรและเชิดสิงโตไปรอบเมืองตามถนนสายต่าง ๆ ในตัวเมืองขอนแก่น ในการทำพิธีวันแรกซึ่งเป็นวันอัญเชิญเจ้ามาสถิตที่ศาล โดยผู้อัญเชิญได้นำรูปและกระถางธูปมาจากศาลอื่น ๆ ในขอนแก่นเหมือนเป็นการเชิญเจ้าต่าง ๆ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั่วเมืองขอนแก่นมาร่วมงานด้วย ได้แก่  ไต้ฮงกง เจ้าปู่จางวาง โป๊ยเซียนโจ้วซือ เจ้าแม่กิมบ้อหรือพระแม่ทรงธรรม เจ้าพ่อหนองไผ่ พระแม่ธรณี เจ้าพ่อเกษม ท้าวเพี้ยเมืองแพน ศาลบือบ้าน เจ้าพ่อหนองสะแบง เจ้าแม่สองนาง เจ้าพ่อเซียงแก้ว เจ้าพ่อมเหศักดิ์ เจ้าพ่อขุนภักดี เจ้าพ่อหมื่นเตา-เจ้าแม่ศรีมาลา และเจ้าพ่อมอดินแดง 

 
         

         

         

          วันที่สองจะเป็นวันไหว้เจ้า ซึ่งต้องมีของไหว้คือ ซาแซ (ได้แก่ หมู เป็ด ไก่ ไข่ต้ม หรือปลาหมึกแห้ง) ขนม ผลไม้ กระดาษเงิน กระดาษทอง เหล้า และน้ำชา

           นอกจากนี้ต้องมีเครื่องเซ่น ได้แก่ แพะ ๒ ตัว หมู ๔ ตัว

           ในบริเวณงานจะมีถุงข้าวทิพย์ น้ำตาลทิพย์ และน้ำมันพืชสำหรับเติมตะเกียง จำหน่ายให้บูชา เชื่อว่าบูชาข้าวทิพย์แล้วจะทำให้ครอบครัวมีข้าวปลาอาหารอุดมสมบูรณ์ สุขภาพแข็งแรง บูชาน้ำตาลทิพย์แล้วจะทำให้การเจรจาพาทีมีเสน่ห์ นุ่มนวลอ่อนหวาน ติดต่อการงาน ค้าขายเจริญรุ่งเรือง บูชาแผ่นทองคำแท่ง จะทำให้ครอบครัวร่ำรวยเงินทอง บูชาน้ำมันพืชเติมในตะเกียงของศาลเจ้าจะทำให้ตนเองและครอบครัวเจริญรุ่งเรือง โชติช่วงชัชวาล

           นอกจากนี้ยังมี  “เพ้า”  หรือ ชุดทรงของปึงเถ่ากง-ม่า ทำด้วยกระดาษเพื่อจำหน่ายให้กับคนที่มาร่วมงานได้ซื้อถวายกง-ม่า และจะนำมาเผาในวันสุดท้ายของงาน เพื่อให้กง-ม่าได้นำไปใช้  ในงานสมโภชนี้จะมีการนำของที่คนบริจาคมาประมูลขายหารายได้เข้าศาลเจ้าด้วย

การเซ่นไหว้ศาลเจ้า
           นายสุรพลทวี แสงสกุลไทย ประธานคณะกรรมการศาลเจ้าปึงเถ่ากง-ม่า ขอนแก่น ประจำปี ๒๕๕๒  กล่าวว่า  “ศาลเจ้าปึงเถ่ากง-ม่า ขอนแก่นได้ก่อสร้างอยู่ในบริเวณศาลเจ้าปู่ครูเย็น ริมบึงแก่นนคร ซึ่งมีอยู่ก่อนแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๔ โดยการนำของเถ้าแก่กิมฮงและชาวเมืองขอนแก่น  การเซ่นไหว้ศาลเจ้าปึงเถ่ากง-ม่า  มีคติความเชื่อกันว่าในรอบปีนั้นเมื่อท่านได้ดูแลปกปักรักษาให้ทำมาหากินอยู่เย็นเป็นสุขแล้ว ครั้นถึงปลายปีก่อนที่จะเข้าสู่เทศกาลสิ้นปี ในฐานะที่เป็นเทพยดาอารักษ์ปกป้อง รักษาดูแลชุมชนและเขตเมือง ทำหน้าที่คุ้มครองเภทภัยอันตรายแก่ผู้ทำความดีอยู่ในศีลธรรมจะเดินทางสู่สวรรค์เพื่อรายงานเง็กเซียนฮ่องเต้ให้ได้ทราบว่าประชาชนมีความเป็นอยู่อย่างไร จึงเป็นที่มาของการจัดงานเซ่นไหว้และแสดงงิ้วตามประเพณีท้องถิ่นเพื่อสักการะต่อศาลเจ้าปึงเถ่ากง-ม่ารวมถึงได้มีการบวงสรวงบนบานศาลกล่าวขอให้ท่านปกป้องรักษาให้ทำมาหากินอยู่เย็นเป็นสุขตลอดปีที่ผ่านมา ก่อให้เกิดเป็นวัฒนธรรมประเพณีสืบทอดตลอดมา”
          ในการเซ่นไหว้ศาลเจ้าประจำปีนั้น ที่บริเวณศาลเจ้าปึงเถ่ากง-ม่า ขอนแก่น มีป้ายบอกให้ทุกคนที่มาไหว้เจ้าทราบว่ามีลำดับการไหว้เจ้าอย่างไร โดยให้ผู้มีจิตศรัทธาใช้ธูปไหว้เจ้าองค์ละ ๓ ดอก เรียงลำดับ ดังนี้  เทพเจ้าฟ้าดิน  ปึงเถ่ากง-ม่า  เจ้าแม่ทับทิม  เทพเจ้าโชคลาภ (ไฉซิ่งเอี้ย)  ศาลเจ้าที่ (ตี่จู๋เอี่ยกง)  เจ้าปู่ครูเย็น

          หลังจากนั้นนำธูป ๓ ดอกไปปักที่กระถางธูปเพื่อไหว้เจ้าทุกองค์ ซึ่งทางคณะกรรมการจัดงานประจำปีได้อัญเชิญเจ้าทั้งหลายเหล่านี้มาสถิตที่ศาลเจ้าปึงเถ่ากง-ม่า ในเทศกาลไหว้เจ้าประจำปีนี้ด้วย ดังนี้  ไต้ฮงกง เจ้าปู่จางวาง โป๊ยเซียนโจ้วซือ เจ้าแม่กิมบ้อหรือพระแม่ทรงธรรม เจ้าพ่อหนองไผ่ พระแม่ธรณี เจ้าพ่อเกษม ท้าวเพี้ยเมืองแพน ศาลบือบ้าน เจ้าพ่อหนองสะแบง เจ้าแม่สองนาง เจ้าพ่อเซียงแก้ว เจ้าพ่อมเหศักดิ์ เจ้าพ่อขุนภักดี เจ้าพ่อหมื่นเตา-เจ้าแม่ศรีมาลา และเจ้าพ่อมอดินแดง 

 

การคัดเลือกคณะกรรมการจัดงานประจำปี
          ในแต่ละปีจะมีการคัดเลือกคณะกรรมการดำเนินงานเพื่อจัดงานประจำปีและหารายได้เข้าศาลเจ้าปึงเถ่ากง-ม่า ประกอบด้วยกรรมการ ๔๐ คน คัดเลือกจากห้างร้านต่าง ๆ ในจังหวัดขอนแก่น แล้วนำมาให้กง-ม่าเลือก โดยมีผู้อาวุโสเป็นสักขีพยาน

          วิธีการคัดเลือกคณะกรรมการที่ทำเป็นประเพณีสืบต่อกันมา คือ นำรายชื่อผู้แทนห้างร้านต่าง ๆ มารวมกันแล้วใช้ตะเกียบคีบรายชื่อขึ้นมาทีละคน แล้วโยนไม้คว่ำหงาย 2 อัน ที่เรียกว่า  “ปวั่ะปวย”  ในการเสี่ยงทายคัดเลือกกรรมการแต่ละคน มีการโยนเสี่ยงทายปวั่ะปวย ๓ ครั้ง หากผลการเสี่ยงทายออกมาเป็น “เต๊งป่วย” ๒ ครั้ง คือ  ไม้คว่ำ-หงาย  ๒ ครั้ง และ “ป่วยเต๊ง” ๑ ครั้ง คือ ไม้คว่ำ-คว่ำ ๑ ครั้ง แสดงว่า กง-ม่าพอใจคนนั้นได้รับเลือกเป็นกรรมการ ถ้าไม้ทั้งสองอันคว่ำหงายไม่เป็นไปตามนี้ทั้งสามครั้งแสดงว่ากง-ม่าไม่พอใจคนนั้น ก็ต้องคีบรายชื่อคนใหม่และทำเช่นเดียวกันนี้ไปจนได้กรรมการครบ ๔๐ คน (คนที่คีบรายชื่อเพื่อคัดเลือกกรรมการในปีต่อไปอาจเป็นประธานกรรมการคนปัจจุบันหรือแล้วแต่จะกำหนด)

 

ดูเพิ่มเติม คลิปรายการที่นี่ขอนแก่น

งานฉลองสมโภชศาลเจ้าปึงเถ่ากง-ม่า ขอนแก่น 2553       

แหล่งอ้างอิง
คณะกรรมการจัดงานประจำปี ๒๕๔๙ สมาคมปึงเถ่ากง-ม่า ขอนแก่น และสื่อมวลชนจังหวัดขอนแก่น.  (๒๕๔๙).  ขอเชิญเที่ยวงานงิ้ว ไหว้ศาลเจ้าปึงเถ่ากง-ม่า ขอนแก่น ประจำปี ๒๕๔๙ วันที่ ๒๑-๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ ริมบึงแก่นนคร ขอนแก่น.  ขอนแก่น: โรงพิมพ์ศิริภัณฑ์ ออฟเซท.
สมชื่น เชี่ยวกุล.  (๒๕๓๙).  รายงานการวิจัยเรื่องภูมิหลังและคติชนวิทยาที่เกี่ยวข้องกับสถานที่สำคัญของชุมชนเมืองรอบบึงแก่นนคร.  ขอนแก่น: ภาควิชาภาษาต่างประเทศ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ขอนแก่นลิงค์ดอทคอม.  (๒๕๕๓).  คลิปรายการที่นี่ขอนแก่น "งานฉลองสมโภชศาลเจ้าปึงเถ่ากง-ม่าขอนแก่น ๕-๑๕ พ.ย. ๕๓.  ค้นข้อมูลวันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ จาก  http://forum.khonkaenlink.info/index.php?topic=271740.msg3249172#msg3249172

Khonkaen 4 U.  (c.2010).  สมโภชศาลเจ้าปึงเถ่ากง-ม่า ปี 52 ยิ่งใหญ่.  ค้นข้อมูลวันที่ 1 พฤศจิกายน 2553 จาก http://www.khonkaen4u.com/forum/viewthread.php?tid=2920

เรื่องและภาพโดย  นายิกา เดิดขุนทด



ลิขสิทธิ์ © 2012 สงวนลิขสิทธิ์ ห้ามทำซ้ำทั้งหมดหรือบางส่วน ไม่ว่าในรูปแบบใดโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ดูแลเว็บไซต์เป็นลายลักษณ์อักษร
ติดต่อผู้ดูแลเว็บไซต์ : somphot@kku.ac.th ผู้พัฒนาโปรแกรม
หมวดหมู่อื่น ๆ
document การละเล่นสะบ้าในประเพณีตรุษไทยภูผาม่าน
document หลวงพ่อพระยืนมิ่งมงคล
document ประเพณีบุญบั้งไฟ อำเภอกระนวน
document พระพุทธรูปโบราณ อำเภอซำสูง
document การศึกษาความเชื่อเกี่ยวกับการใช้ผ้าไหมมัดหมี่ของชาวอำเภอชนบทจังหวัดขอนแก่น
document ความเชื่อเรื่องผ้าไหมมัดหมี่ของชาวอีสาน
document สิม
document ศักยภาพทางเศรษฐกิจของชุมชนหมู่บ้านอีสานจากอดีตถึงปัจจุบัน
document เศรษฐกิจชุมชนหมู่บ้านอีสาน : ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจอีสานหลังสงครามโลกครั้งที่สองถึงปัจจุบัน (2488-2544)
document เศรษฐกิจชุมชนหมู่บ้านอีสานใต้ : ความอยู่รอดของชุมชนท่ามกลางกระแสความเปลี่ยนแปลง
document ข้อมูลวัด จังหวัดขอนแก่น
document บุคคลสำคัญทางศาสนา จังหวัดขอนแก่น
document ประเพณีแต่งงานชาวอีสาน (ประเพณีกินดอง)
document รายงานการวิจัยเรื่องศักยภาพของชุมชนอีสาน : กรณีศึกษาบ้านฝาง
document การผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องศิลปวัฒนธรรมในกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีว ิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ตอน ศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณี
document การสำรวจสถานภาพองค์ความรู้เบื้องต้นจากงานวิจัยเกี่ยวกับวิถีชีวิตทางสังคมและวัฒนธ รรมของกลุ่มชาติพันธุ์ ในภาคอีสาน พ.ศ. 2500-2545
document คติชน : คุณค่าในการท่องเที่ยวชุมชนบ้านโคกม่วง
document ความสัมพันธ์หญิงชายภายใต้กระแสการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
document ทัศนคติของชาวชนบทอีสานต่อการทำบุญ
document ประเพณี คติความเชื่อมีอิทธิพลต่องานสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นอีสาน
document ประเพณีผูกเสี่ยว
document พฤติกรรมการทำบุญของชาวพุทธในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
document รายงานการวิจัยเรื่องทัศนคติของชาวชนบทอีสานต่อการทำบุญ
document รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์เรื่องรูปแบบศิลปวัฒนธรรมประเพณีการฟ้อนแห่ต้นดอกไม้ : กรณีศึกษาบ้านอาฮี หมู่ที่ 1,6 ตำบลอาฮี อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย
document รายงานวิจัยเรื่องเศรษฐกิจชุมชนหมู่บ้านอีสานห้าทศวรรษหลังสงครามโลกครั้งที่สอง (พ.ศ. 2488-2543) : กรณีศึกษาบ้านบัว จังหวัดสกลนคร
document รายงานวิจัยเรื่องเศรษฐกิจชุมชนหมู่บ้านอีสานห้าทศวรรษหลังสงครามโลกครั้งที่สอง (พ.ศ. 2488-2543) : กรณีศึกษาบ้านโนนม่วง จังหวัดร้อยเอ็ด
document รายงานวิจัยเรื่องเศรษฐกิจชุมชนหมู่บ้านอีสานห้าทศวรรษหลังสงครามโลกครั้งที่สอง (พ.ศ. 2488-2544) : กรณีศึกษาบ้านวังสวาบ จังหวัดขอนแก่น
document วัฒนธรรมอีสานกับการพัฒนา
document วิถีครอบครัวและชุมชนชาติพันธุ์ไทยโย้ย บ้านโพนแพง ตำบลหนองสนม อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร
document รายงานการวิจัยเรื่องการศึกษาโครงสร้างชุมชนชาติพันธุ์ผู้ไทย บ้านโนนหอม ตำบลโนนหอม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร
document ความเชื่อเรื่องปู่ตาตะกวดกับวิถีชีวิตของชาวกูยบ้านตรึม ตำบลตรึม อำเภอศรีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์
document ประเพณีและเทศกาลจังหวัดขอนแก่น
document วัดป่าบ้านตาด
document วัดถ้ำกลองเพล
document วัดบูรพาภิราม
document หมู่บ้านวัฒนธรรมผู้ไทยโคกโก่ง
document วัดสุปัฏนารามวรวิหาร
document วัดถ้ำแสงเพชร
document ประเพณีบุญพระเวส หรือบุนพะเหวด
document คติชน : คุณค่าในการท่องเที่ยวชุมชนบ้านโคกม่วง
document พระมงคลมิ่งเมือง (พระยืน)
document รายงานการวิจัยเชิงคุณภาพเรื่องเจ้าพ่อมอดินแดง : ความเชื่อของนักศึกษา บุคลากร มหาวิทยาลัยขอนแก่น หมู่ 16 ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
document วัดพระบาทภูพานคำ
document ศาลเจ้าพ่อมอดินแดง
document สิม (โบสถ์) 2
document สิม (โบสถ์) 1
document หลวงพ่อพระยืนมิ่งมงคล
document ตำราปลูกเฮือน ฉบับวัดบ้านดอนยม ตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
document ตำราปลูกเฮือน ฉบับสำนักสงฆ์อิสระธรรมวิเวก บ้านคกเหลี่ยน-หนองขอน ตำบลวังแสง อำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม
document คาถา ต้นฉบับวัดศรีเวียงชัย บ้านดอนเวียงจันทน์ ตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
document คติชน : คุณค่าในการท่องเที่ยวชุมชนบ้านโคกม่วง
document ความเชื่อเกี่ยวกับต้นไม้ของชาวบ้านศึกษาเฉพาะกรณีหมู่บ้านโนนอำนวย อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์ และหมู่บ้านทุ่งสว่าง อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ
document ฒ ผู้เฒ่าต้องมอง
document การบริโภคสุนัขในจังหวัดสกลนคร
document การปรับตัวทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ไทแดง บ้านโพนทอง เมืองนาทรายทอง นะคอนหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
document การแต่งงานข้ามวัฒนธรรมหญิงไทยกับชายญี่ปุ่น
document บทบาทของวัดต่อชุมชนในชนบท จังหวัดขอนแก่น
document ความสัมพันธ์หญิงชายภายใต้กระแสการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
document เจ้าโคตร : ผู้เว้าแล้วแล้วโลด
document ปราสาทขอมหายไปไหน? เขมรทำลายหรือใครกันแน่
document ภูมิปัญญาพื้นบ้านศาลผีปู่ตา อำเภอสีชมพู จังหวัดขอนแก่น.
document ลำส่องที่พึ่งสุดท้ายของผู้ป่วยในภาคอีสานจริงหรือ?
document สรภัญญ์ : ภูมิปัญญาชาวบ้านกับบทบาทในสังคมอีสาน
document รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ : คติสัญลักษณ์ของพื้นที่และการจัดการใช้พื้นที่ของวัดในชุมชนหมู่บ้านผู้ไท
document พุทธศาสนากับสิ่งแวดล้อม
document รายงานการวิจัยเรื่องวิเคราะห์ความเข้าใจในหลักพุทธธรรมของพระสงฆ์ในเขตอำเภอเมืองขอ นแก่น จังหวัดขอนแก่น
document วิเคราะห์การทำบุญของคนไทยภายใต้ระบบสังคมบริโภคนิยม
document สรภัญญ์ เพลงขับเพื่อศาสนาและจริยธรรม
document วันสงกรานต์
document การปฏิบัติตนขณะตั้งครรภ์ : การเชื่อมโยงระหว่างความเชื่อดั้งเดิมอีสานกับความรู้ทางการแพทย์สมัยใหม่
document คติความเชื่อและระบบสังคมกับการปลูกสร้างเรือนพื้นบ้านและชุมชนผู้ไท
document คติชนวิทยาที่พบในงานของนักเขียนไทยสมัยรัตนโกสินทร์
document ประเพณีตักบาตรเทโว
document ศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สาระนาฏศิลป์ วิชาเลือกนาฏศิลป์พื้นเมือง เรื่อง ประเพณีผูกเสี่ยวจังหวัดขอนแก่น โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบย้อนกลับ(Backward Design) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนนครขอนแก่น
document ประเพณีผูกเสี่ยวจังหวัดขอนแก่น
document งานเทศกาลไหม ประเพณีผูกเสี่ยว และงานกาชาดจังหวัดขอนแก่น
document บุญกฐิน
document ประเพณีขึ้นเฮือนใหม่
document บุญข้าวจี่หรือบุญเดือน ๓
document เบื้องลึกเบื้องหลังพระธาตุนาดูน
document ประวัติวัดศรีคุณเมือง อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย
document ฮีตสิบสอง
document วันสงกรานต์
document วันมาฆบูชา



RSS