มุมอีสานสนเทศ
ค้นหา:     ค้นหาขั้นสูง
เลือกดูตามหมวดหมู่:
English Version

เคน ดาเหลา ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (หมอลำ) เนื้อหาบทความ

เคน ดาเหลา ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (หมอลำ)

แสดงผล: 725
ลงคะแนน: 1
วันที่สร้าง: 30 Sep, 2010
ผู้สร้าง : นายิกา N.
วันที่ปรับปรุง : 02 Sep, 2011
ผู้แก้ไขปรับปรุง : Somphot A.

          คุณพ่อเคน ดาหลา หรือที่รู้จักกันดีในหมู่คนอีสานว่า หมอลำเคน ฮุด  (ฮุด เป็นภาษาอีสาน หมายความว่า มุทะลุ ดุดัน บุกเบิก ไถเปิดหน้าดิน)  เป็นศิลปินหมอลำอาวุโสชั้นครูระดับแนวหน้าของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มีลีลาการลำและศิลปะการใช้น้ำเสียงเป็นที่ประทับใจคนฟังได้อย่างดียิ่ง เป็นผู้มีปฏิภาณเป็นเลิศในเชิงกลอนลำสด มีคารมคมคาย ทั้งลำทางสั้น ลำทางยาว ลำเต้ย และลำเบ็ดเตล็ดอื่นๆ รวมถึงสำนวนผะหยาแบบอีสาน ทำให้มีชื่อเสียงขึ้นอย่างรวดเร็ว กลอนลำของท่านสมบูรณ์แบบด้วยทำนองแบบอุบลราชธานีที่เรียกว่า “วาดอุบล” ซึ่งมีลีลาการลำ การใช้สำนวนกลอนที่เฉียบคมลึกซึ้งน่าประทับใจ ทั้งลำทางสั้น ลำทางยาว ลำเต้ยแบบต่างๆ รวมถึงสำนวนผะหยาแบบอีสานที่มีคารมคมคายไพเราะน่าฟัง  มีมุขตลกและคติสอนใจ
          สำนวนกลอนลำของท่านนอกจากจะเฉียบคมลึกซึ้งถึงใจผู้ฟังแล้ว  ยังประกอบไปด้วยสาระที่น่าสนใจอย่างยิ่ง  ในบรรดาศิลปินหมอลำอาวุโสของภาคอีสาน เป็นหมอลำชั้นครูและเป็นต้นแบบของการแต่งกลอนลำและลำแม่บทที่เรียกว่า “ลำแม่บท ๓๒ ท่า” ได้สมบูรณ์แบบที่สุด เช่น ลำพระนารายณ์พรหมสี่หน้า ทศกัณฐ์โลมนาง สาวลงข่าง แก้งกุ้งในหนอง ตีกลองกินเหล้า คนขาแหย่งเล่นบุญบั้งไฟ เป็นต้น เป็นศิลปินผู้ได้รับการยอมรับในวงการหมอลำทั้งในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน อีกทั้งยังได้ไปเผยแพร่ศิลปะแขนงนี้ในต่างประเทศและเป็นศิลปินผู้อุทิศตนเพื่อสังคมด้วยดีตลอดมา 
          คุณพ่อเคน ดาหลา ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็น  “ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง (หมอลำ)”  ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๓๔  และได้บันทึกแผ่นเสียงออกเผยแพร่ จนได้รับการขนานนามว่า ราชาแผ่นเสียงทองคำ ได้รับเชิญเป็นวิทยากรเผยแพร่ความรู้ด้านหมอลำทั้งในประเทศและต่างประเทศ ได้อุทิศตนด้วยการใช้ความรู้ ความเชี่ยวชาญด้านการแสดงสร้างประโยชน์ให้แก่ส่วนรวมและสังคมมาโดยตลอด 

          เนื่องในโอกาสที่สำนักวิทยบริการได้จัดนิทรรศการเรื่อง "ภูมิปัญญาขอนแก่น" เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2553 และได้เรียนเชิญคุณพ่อเคน ดาเหลา ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดงพื้นบ้าน (หมอลำ) มาเป็นวิทยากรสาธิตการลำกลอนร่วมกับแม่ครูราตรีศรีวิไล บงสิทธิพร ครูภูมิปัญญาไทย สาขาศิลปกรรมการแสดงพื้นบ้าน (หมอลำ)   คุณพ่อเคน ดาเหลาได้ให้เกียรติมุมอีสานสนเทศได้สัมภาษณ์ชีวประวัติและผลงานของท่านเพื่อบันทึกไว้ในฐานข้อมูลอีสานสนเทศ พร้อมกับได้อนุญาตให้นำผลงานตัวอย่างลำกลอนเรื่อง "แตงสังหารสาว" บันทึกไว้ด้วย ดังมีรายละเอียด ดังนี้

ชีวประวัติ
          คุณพ่อเคน ดาหลา เกิดในวันอังคารที่ ๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๓ ที่บ้านหนองเต่า ตำบลหนองเต่า อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี

ประวัติการศึกษา 
          จบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนบ้านหนองเต่า ตำบลหนองเต่า อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี
ตอนวัยเด็กเรียนหนังสือเก่งมาก สอบได้ที่ 1 ทุกครั้งและเป็นหัวหน้าห้องด้วย

ที่อยู่ปัจจุบัน

          บ้านเลขที่ ๕๒๘/๑๕๕ หมู่ ๒๒  หมู่บ้านแก่นทองธานี ถนนมะลิวัลย์ ตำบลบ้านเป็ด อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น รหัสไปรษณีย์ 40000

โทรศัพท์/โทรสาร ๐-๔๓๓๔-๔๔๘๔

รางวัล และเกียรติคุณที่ได้รับ
           พ.ศ. ๒๕๓๑  ได้รับรางวัลผู้มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  จากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ        
           พ.ศ. ๒๕๓๔  ได้รับรางวัล ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (หมอลำ) จากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ        
           พ.ศ. ๒๕๓๔  ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณ จากศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคาม วิทยาลัยครูมหาสารคาม
           พ.ศ. ๒๕๓๕  ได้รับพระราชทานโล่และเข็มเชิดชูเกียรติ จากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
           พ.ศ. ๒๕๓๗  ได้รับรับโล่ประกาศเชิดชูเกียรติ จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม


          ในระหว่างการสัมภาษณ์ คุณพ่อเคน ได้ฝากบทกลอน “เคน ดาเหลา”   ซึ่งมีเนื้อหาแทนตัวตนของท่านในบทบาทหน้าที่ผู้อนุรักษ์สืบสานศิลปะการแสดงพื้นบ้านหมอลำได้อย่างดีเยี่ยมเกินคำบรรยาย ดังนี้


“เคน ดาเหลา คนเขา ได้เล่าขาน   
จากวันวาน ขับขาน ตำนานศิลป์
ชุบชีวิต จรรโลงโลก จรรโลงจินต์ 
ศิลปินจรรโลงใจ จรรโลงไทย จรรโลงธรรม
วัฒนธรรม คือความงาม คือความดี
คือศักดิ์ศรี ท้องถิ่น ไทยอีสาน
หากหลงลืม คงเสื่อมสูญ ไปตามกาล
ช่วยสืบสาน รักษาไว้ ให้คงอยู่ คู่พื้นปฐพี”

          คุณพ่อเคน มีลีลาการลำชั้นครูระดับแนวหน้า สำนวนกลอนลำของท่านนอกจากจะเฉียบคมลึกซึ้งถึงใจผู้ฟังแล้ว ยังสนุกสนานและได้สาระ ตัวอย่างผลงานกลอนลำที่สร้างชื่อเสียงของท่านและได้สาธิตการลำให้ชาวมหาวิทยาลัยขอนแก่นได้รับฟังเนื่องในโอกาสการจัดนิทรรศการภูมิปัญญาขอนแก่น เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2553 คือ ลำล่องแตงสังหารสาว ซึ่งมีบทกลอนลำ ดังนี้

     ลำล่อง...แตงสังหารสาว

          “...โอย.....ฮื้อ.....อื้อ.....กรรมต้องจ่องใส่เวร...เข็นฮ้าย..ช่างนำมา...ผะหลาอ้าย....แม่นบ่มี...อือ.....เอ่ย...โอ้ย ....ละหน่า..
           ....... เอ้อ....หละบัดนี่เหมิดที่ลำทางสั่นสิลำขวงลำล่อง เขาว่าชายจองหองหาสี่ควายสี่ม้าเขานั้นนี่ว่ามา ฟังไปอีกก่อนน่าสิแก้ต่อตอนสอง หญิงจองหองยังมี...ส่วนไปก่อนกล้า..หญิงนี่เป็นหญิงกล้า... ตัณหามัวมืดหลิงหละดูหญิงผู้นั่นดูหน้านั่นท่าขำ. คือหมอลำนี่ตี้แล้วมองดูรูปส่วน... เผิ่นนั่นไปหดสวน  ไปแต่ยามมื้อเช้าไปแท้แต่ผู่เดียว... ของอยู่ในสวนหั่นหลายอันกะของปลูกผักกาดหัวผักบั่วพร้อมหมากแตงซ้างกะเหล่ามี.. พอดีหมากแตงซ้างกำลัง จีจูมจ่อ หน่วยพอท่อด้ามพร้ากะมีแล้วอยู่สวน สาวจองหองเพิ่นกะไปเที่ยว  ซ้วนตักน้ำรดหดหมากแตง แยงไปแยงมา..กะเลยพ้อ. บักกอลอ.หมากแตงอ่อน เพิ่นนั่นคิดออนซอนเห็นหมากแตงหน่วยนั่น เลยลำเต้ยใส่หมากแตง ควมเพิ่นเต้ยเพิ่นผัดว่าได้...
.........เจ้าผู้มักข่อหล่อ เจ้าผู้บักกอลอ มาคือค้อนตอกสิ่ว คอกิ่วๆ นั่นปลายโป้ๆ สังมาโก้กว่าสู่อัน นั่นละผิน่านวนน่า...ขวัญน่านี่นวนน่า บักกึงลึงอยากดึงเด่ บักกึงลึงอยากดึงเด้...........

          ...... เอ้อ.....หละพอแต่ลำจบแล้วเลยปิดเอาวับแวบคิดว่าเพิ่นสิหยั่มกินแก้เจ้าเหมื่อยหิว ว่าเพิ่นเป็นตะคิวเข้าซอมดูพั่นบ่แม่น ได้หมากแตงแล้วแล่นเหลียวงวกพู้น งวกพี้ไปหาลี้บ่อนบัง นั่งลงไปบังไม้นั่งลงบังเจ้าโพนหลุ่ม เอาหมากแตงลงจุมอีสีมุมปากเม้าเลยลงเด้าหน่วยหมากแตง มีแฮงหลายจนตาค้างเสียงครางอยู่หิ่นหิ่น อยู่หิ่นหิ่น...เหลียวเห็นดินถ่อก่ำปั้นโหลดคันฮ้ายเข้ากว่ากลอยหน่อยบ่นานหมากแตงซ้างขาดคาฮีมิดจี่หลี่ พ้นออกพอปีลี สิดึงออกกะบ่ได้ทางปลายนั่นพั่นอยู่ใน สาวจองหองกะเลยไห้....ว่า ฮีอีอ..ฮีอีอ เอิ้นหาแม่ แหม่นไผน้อสิมาเอาออกให้คราวนี้จังแหม่นเวร...

          เสียงเพลดังตึ้งๆ ตีสัญญากินข้าวก่องสาวจองหองข้าวบ่ทันได้ปั้นพั่นนอนไห่อยู่สวน ส่วนว่าพ่อเพิ่นนั่นบ่เห็นลูกคืนมาให้มันไปหดสวนกะบ่มาปานนี้ แหม่นมันหนีไปจ้อยทางใด๋พ่อเพิ่นว่า ไปหามันเบิ่งก่อนน่า พอจาแล้วกะเหล่าไป เฒ่ากะไหว่ๆ ข้าม กลางโท่งเถิ่งสวน เอิ้นหานางจองหองว่าอีนาง อีนาง อีนางไปไสหล่า มาหดสวนแต่ยามเซ้าไปทางใด๋มิดจี่หลี่ สาวจองหองเพิ่นเลยว่าโอ๊ยๆๆ หมากแตงขาดคาฮี ข่อยเอาออกบ่ได้สิตายแล้วอีพ่อเอ้ย พ่อเพิ่นเลยว่าคุณเอาฮี ซั่นบ้อหยั่มกินหมากแตงอีห่า ตายกะตายซ้ำสา แข่วเต็มปากอยู่พู้นน่า...เอาฮีหยั่ม.......กะซ่างเป็น.....มันตายซ้ำแหน่กะไค.............อื้อ...........ฮื้ออื่อ................เอ้ย......ละหน่า...

          .......แล้วเห็นเคนเว้าจังซี้ อย่าซิเคียดเด้อผู้สาว คิดถึงคราวฟังลำแด่เด้อผะนางน้อง คันบ่อลำกะบ่ห่าว คันบ่จากะบ่อหม่วนสมควรเด้อท่อนี่เคนหล่าสิหล่วงหนี ต่อจากหนี่ให้เจ้าว่าเด้อหญิง ความเป็นจริงหมอเคนว่าจังได๋เฮอน้อง สองคนเฮามาเว้านำกันมันหม่วนลำทางยาวแล้วจังซ้วนกลอนเข้าแม่นใส่กัน เพิ่นจังหนึ่งผัดว่าเหมิดที่ลำทางสั้นสิลำยาวไป หย่าว ย่าว ยาวไปฮอดมื้อเซ้ายาวได้แต่เทื่อเดียว ขึ้นภูเขียวเหลียวลงมาถูฆ้อง ภูเขาทองแจ้งข่างข่าย เหลียวไปทางเซียงใหม่เห็นแต่ภูอี่โต้ตันท่างแม่นปล่องลม เหลียวไปทางภูอ้ม ภูฝอยลมม่อยหละแหม่ง ภูหมากแหน่งอยู่ข้างใต้ภูฝ้ายนั่นอยู่เหนือ ภูหมากเขืออยู่ทางข้าง ภูยานางใต้ภูโหล่น ภูหมากโต่นติดกับภูป่าติ้วภูอิ้วป่ากะจิว เหลียวเห็นเขาเขียวสิ่วภูมะโลงก้ำบ้านโปร่ง เห็นแต่ภูขอบด้งวงล้อมฮ่อมสิไป ภูมะลัยเจือภูกล้วยภูเขาควายดงมักอี่ ขึ้นไปภูหมะหลี่เห็นแต่ภูกำพร้าเห็นหน้าให่สะออน  นวลในใน......อึอื่อ..อื้อ.....เฮ้อเอ้อ.เอ๋ย..ละหน่า........

          ...... แล้วเหลียวเห็นภูเขาซ้อนซอนกันเป็นหลั่นลั่น แม่เอ้ย..ภูผาซางอยู่ซ่งๆ วงล้อมฮ่องเขา เหลียวเห็นภูส่าเหล้าภูซำเฮาใกล้ภูหว่าง ใจพี่ชายคิดต่างได้ยินฟ้าฮ่ำฮ้องดังก้องตะหลิ่งซัน เปรี้องเอ้ย....เปรี้องแล้วปั่น....หันเอ้ยแล้ว......ต่าวมายๆ ต่าวมายๆ...ฮื้อ......ฮื่อ.......อื๋ออื่อ.......โอ้ย........ละหน่า…..”


แหล่งอ้างอิง
เคน ดาเหลา.  (2553).  สัมภาษณ์ 7 กันยายน 2553.

 

 
 


ลิขสิทธิ์ © 2012 สงวนลิขสิทธิ์ ห้ามทำซ้ำทั้งหมดหรือบางส่วน ไม่ว่าในรูปแบบใดโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ดูแลเว็บไซต์เป็นลายลักษณ์อักษร
ติดต่อผู้ดูแลเว็บไซต์ : somphot@kku.ac.th ผู้พัฒนาโปรแกรม
หมวดหมู่อื่น ๆ
document จิตรกรรมและประติมากรรมวัดสระบัวแก้ว
document อัตชีวประวัติและผลงานหมอลำราตรีศรีวิไล
document ศิลปะการแสดงพื้นบ้านอีสาน (หมอลำ)
document ฝาผนังเล่าเรื่อง : มิติหนึ่งของภูมิปัญญาไทย
document ภาพสะท้อนจากเพลงกล่อมเด็กอีสาน
document ภูมิปัญญาด้านศิลปะการแสดงพื้นบ้าน (ลำกลอน)
document การพัฒนาฐานข้อมูลผลงานศิลปะที่จัดแสดงในหอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น
document ประติมากรรมกับการสร้างสรรค์
document รายงานการวิจัยการศึกษาผลงานศิลปกรรมร่วมสมัยที่สะท้อนวัฒนธรรมอีสาน
document รายงานการวิจัยประติมากรรมตกแต่งพุทธสถานตามริมฝั่งแม่น้ำโขง
document วงการศิลปะในภาคอีสาน
document รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์การศึกษาศิลปะพื้นถิ่นอิสานเพื่อประยุกต์ใช้ในงานจิตรกรรมร่ว มสมัยจังหวัดขอนแก่นและจังหวัดมหาสารคาม
document สถาบันการศึกษากับศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านอีสาน
document รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์การศึกษาศิลปะพื้นถิ่นอิสานเพื่อประยุกต์ใช้ในงานจิตรกรรมร่ว มสมัยจังหวัดขอนแก่นและจังหวัดมหาสารคาม
document หนังประโมทัยของอีสาน
document สถาบันการศึกษากับศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านอีสาน
document สมบัติ สิมหล้า: ศิลปินดีเด่นด้านการเป่าแคน



RSS