ค้นหา:
ค้นหาขั้นสูง
|
เลือกดูตามหมวดหมู่:
|
English Version |
ความเชื่อเรื่องผ้าไหมมัดหมี่ของชาวอีสาน |
|||||
การทอและการใช้ผ้าไหมมัดหมี่ของคนอีสานในสมัยก่อนและปัจจุบัน จะแฝงไว้ด้วยความเชื่อทุกขั้นตอน โดยจะมีความเชื่อตั้งแต่การปลูกหม่อนเลี้ยงไหมไปจนถึงการทอและการใช้ผ้าไหม ซึ่งผู้เลี้ยงไหมมีความเชื่อว่า การปลูกหม่อนเลี้ยงไหมในวันที่เป็นมงคลจะทำให้ได้ผลผลิตดีและจะทำให้ไม่มีปัญหาในการทอ กล่าวคือ ทอได้ตลอดไม่ติดขัดหรือขาดตอน ส่วนในกลุ่มผู้ทอยังมีข้อห้ามหลายประการที่เป็นความเชื่อต่อ ๆ กันมา ได้แก่ ห้ามไม่ให้เด็กโหนกี่ ห้ามนั่งข้างช่างทอผ้า ห้ามหญิงมีครรภ์ทอผ้า นอกจากนี้ยังมีความเชื่อเกี่ยวกับการใช้ผ้าไหม โดยคนอีสานเชื่อว่า ผ้าถุงผู้หญิงที่นุ่งแล้วทำให้อาคมเสื่อม ผ้าถุงใหม่ของผู้หญิงใช้เป็นผ้าหุ้มห่อหนังสือใบลานได้ ผ้าถุงมัดหมี่ไม่นิยมทำหมอน ที่นอน และอาสนะของพระ ข้อห้ามเหล่านี้เป็นการสั่งสอนบุตรหลานไม่ให้ทำในสิ่งที่ไม่ถูกไม่ควร ถ้าบุคคลใดฝ่าฝืนก็จะได้รับโทษ ซึ่ง คำประเคียน โพธิ์เพชรเล็บ (2545) ได้ศึกษาความเชื่อเกี่ยวกับการทอและการใช้ผ้าไหมมัดหมี่ พบลักษณะความเชื่อในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านศาสนา โชคลาง ขนบธรรมเนียมประเพณี พิธีกรรมและข้อห้าม ความเชื่อที่ถือปฏิบัติกันมา ซึ่งจะกล่าวในแต่ละประเด็น ดังนี้ ความเชื่อเกี่ยวกับการทอผ้าไหม อุปกรณ์การทอผ้าไหม
ความเชื่อในการย้อมสีไหม
สีเหลืองจากดอกดาวเรือง สีส้มจากดอกทองกวาว สีม่วงจากดอกอัญชัน สีเหลืองทองจากเปลือกมะม่วง ปัจจุบันไม่นิยมย้อมสีธรรมชาติในการผลิตผ้าไหมมัดหมี่ เนื่องจากมีกระบวนการที่ยุ่งยากซับซ้อนและใช้เวลาในการเตรียมน้ำย้อมนาน อีกทั้งวัตถุดิบก็หายาก ผู้ผลิตผ้าไหมในปัจจุบันจึงหันมาย้อมสีวิทยาศาสตร์หรือสีเคมีแทน ซึ่งมีสีต่าง ๆ มากมายให้เลือกทั้งแม่สีและสีผสม ส่วนใหญ่เป็นสีที่มีราคาแพงมีความคงทนต่อการซักฟอกและแสงแดดได้ดี อย่างไรก็ตาม ยังมีผู้บริโภคส่วนหนึ่งที่นิยมใช้ผ้าไหมที่ย้อมด้วยสีธรรมชาติ จึงมีผู้ผลิตบางรายที่ยังคงรักษาเอกลักษณ์นี้ไว้จนถึงปัจจุบัน ได้แก่ ความเชื่อเกี่ยวกับลายผ้าไหม ตัวอย่างลายบุษบก ลายผ้าไหมที่ได้รับรางวัลที่ 3 ประเภท ผ้าไหมลายสร้างสรรค์ การประกวดผ้าไหม ในงานเทศกาลไหม ประเพณีผูกเสี่ยว และงานกาชาด จังหวัดขอนแก่น ประจำปี ๒๕๕๔ ทอโดย นายสมาน สุภา อำเภอชนบท
2. ลายจากสัตว์ ความเชื่อที่เกิดจากสัตว์นั้น ชาวบ้านมีความเชื่ออยู่ 2 ประการคือ เชื่อเรื่องความมีอำนาจวาสนา เช่น ลายพญาครุฑ ลายนาค ลายช้าง ลายสิงโต ลายม้า ลายงูหลาม และเชื่อในเรื่องความสวยงาม ได้แก่ ลายนกยูง ลายนก ลายผีเสื้อ ลายพังพอน ลายแมงป่อง ลายไก่ และลายนก ฯลฯ ซึ่งแต่ละลายมีความเชื่อ ดังนี้ ตัวอย่างลายพญานาค
ลายช้าง ช้างเป็นสัตว์ที่เป็นสัญลักษณ์ของความเป็นใหญ่และความอุดมสมบูรณ์มั่งมีศรีสุข ชาวอีสานเชื่อว่าถ้าใครได้สัมผัสกับช้างจะมีความรุ่งเรือง ทำมาค้าขายร่ำรวย มีหลักฐานมั่นคง ฉะนั้นจึงมีผู้นิยมนำช้างมาทำเป็นลายมัดหมี่ เพื่อแสดงให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่และความเจริญรุ่งเรือง ตลอดจนการชนะอุปสรรคทั้งหลายทั้งปวง ดังเช่น พระเวสสันดร เป็นต้น ลายม้า ม้าเป็นสัตว์ที่เป็นสัญลักษณ์ของความเข้มแข็ง ทรงพลัง และเป็นพาหนะที่พระพุทธเจ้าใช้ขี่ไปทรงผนวช ชาวอีสานเชื่อว่าถ้าใครได้สัมผัสกับม้าจะมีความเข้มแข็ง ทรงพลัง มีบารมี สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง และมีหลักฐานมั่นคง ฉะนั้นจึงมีผู้นิยมนำม้ามาทำเป็นลายมัดหมี่ เพื่อแสดงให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่และพลังอำนาจ ตลอดจนการชนะอุปสรรคทั้งหลายทั้งปวง ดังเช่น พระเวสสันดร เป็นต้น ตัวอย่างลายช้างและลายม้า
ลายสิงโต สิงโตเป็นสัตว์ที่ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นเทพเจ้าแห่งสัตว์ป่า ซึ่งแสดงความมีอำนาจวาสนาอยู่ในตัว ฉะนั้นถ้าคนจะทอผ้าสำหรับผู้ที่นับถือเทพเจ้าและเจ้าใหญ่นายโตจะต้องทอด้วยลายสิงโต หรือถ้าจะเอาไปถวายพระสงฆ์ในเทศกาลงานบุญต่าง ๆ ก็ได้
ลายนกยูงรำแพน ลายนี้แสดงออกถึงความงดงามของนกยูงขณะลำแพน มีความสวยงามและอ่อนช้อยมาก
ลายแม่ไก่กับลูกเจี๊ยบ ชาวบ้านเชื่อว่าการดำรงชีวิตของไก่ แม่จะคุ้ยเขี่ยหาอาหารให้ลูกกินก่อน เปรียบเสมือนชีวิตของคนที่แม่ต้องเป็นคนดูแลหาอาหารให้ลูกกินก่อนตัวเองกินทีหลัง ลายดาวเรืองหนวดปลาหมึก รางวัลที่ 3 ประเภทผ้าไหมมัดหมี่แบบ 3 ตระกรอ การประกวดผ้าไหมงานเทศกาลไหมฯ จังหวัดขอนแก่น ประจำปี 2554 ทอโดย นางสาวลำดวน งามยิ่ง อำเภอชนบท
ตัวอย่างลายงูหลาม ลายผ้าไหมที่ได้รับรางวัลที่ 1 ประเภท ผ้าไหมมัดหมี่แบบ 2 ตระกรอ การประกวดผ้าไหม ในงานเทศกาลไหม ประเพณีผูกเสี่ยว และงานกาชาด จังหวัดขอนแก่น ประจำปี 2554 ทอโดย นางมณี เขื่อนแก้ว อำเภอชนบท ลายนก เป็นลายสวยงามลายหนึ่ง ชาวบ้านมีความเชื่อว่านกเป็นสัตว์ที่มีความขยัน ต้องตื่นแต่เช้าบินออกจากรังเพื่อไปหากิน และบินกลับรังในตอนเย็นเพื่อนำเหยื่อหรืออาหารมาเลี้ยงลูกน้อยที่รออยู่ในรัง เปรียบเสมือนชีวิตของคนที่แม่ต้องเป็นคนดูแลหาอาหารให้ลูกกิน ตัวอย่างลายนก 3. ลายจากพืช ตัวอย่างลายดอกแก้วพิกุลทอง รางวัลที่ 3 ประเภทผ้าไหมมัดหมี่ข้อ (หมี่ขั้น) การประกวดผ้าไหมงานเทศกาลไหมฯ จังหวัดขอนแก่น ประจำปี 2554 ทอโดย นางจำเนียร จันทะวงษ์ อำเภอชนบท
ตัวอย่างลายขอน้อยเชิงเทียน รางวัลที่ 2 ประเภทผ้าไหมมัดหมี่แบบ 3 ตระกรอ การประกวดผ้าไหมงานเทศกาลไหมฯ จังหวัดขอนแก่น ประจำปี 2554 ทอโดย นายทองสุข จันทะวงษ์ อำเภอชนบท
5. ลายจากความคิดสร้างสรรค์ ตัวอย่างลายตราสัญลักษณ์ปีมหามงคล
ตัวอย่างลายเสาชิงช้า รางวัลที่ 2 ประเภทผ้าไหมลายสร้างสรรค์ การประกวดผ้าไหมงานเทศกาลไหมฯ จังหวัดขอนแก่น ประจำปี 2554 ทอโดย นางรัตติมา หินเธาว์ อำเภอชนบท ความเชื่อเกี่ยวกับการใช้ผ้าไหม ผู้เขียนกับคุณทองเลิศขณะสัมภาษณ์ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการย้อมสีไหมธรรมชาติ แหล่งอ้างอิง คำประเคียน โพธิ์เพชรเล็บ. (2545). การศึกษาความเชื่อเกี่ยวกับการใช้ผ้าไหมมัดหมี่ของชาวอำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น. รายงานการศึกษาอิสระปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ทองเลิศ สอนจันทร์. (29 พฤศจิกายน 2554). สัมภาษณ์. ประธานกลุ่มทอผ้าบ้านหนองหญ้าปล้อง อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น. เรียบเรียงเนื้อหาโดย นายิกา เดิดขุนทด ถ่ายภาพโดย นายิกา เดิดขุนทด และกฤติกา สุนทร
ติดต่อผู้ดูแลเว็บไซต์ : somphot@kku.ac.th ผู้พัฒนาโปรแกรม |