มุมอีสานสนเทศ
ค้นหา:     ค้นหาขั้นสูง
เลือกดูตามหมวดหมู่:
English Version

หนังสือก้อม เนื้อหาบทความ

หนังสือก้อม

แสดงผล: 613
ลงคะแนน: 0
วันที่สร้าง: 16 Mar, 2010
ผู้สร้าง : นายิกา N.
วันที่ปรับปรุง : 06 Oct, 2010
ผู้แก้ไขปรับปรุง : นายิกา N.

         ชาวอีสานมีระบบการสืบสานวัฒนธรรมและกระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์และความรู้สั่งสมของบรรพชนที่น่าสนใจและมีคุณค่ายิ่ง คือ การจารึกเรื่องราวต่าง ๆ ลงไว้บนใบลาน ที่รู้จักกันทั่วไปว่า “หนังสือก้อม”

          หนังสือก้อม แปลตามศัพท์ “ก้อม” ในภาษาอีสานแปลว่า สั้น หนังสือก้อม จึงหมายถึง หนังสือสั้น ซึ่งเป็นหนังสือที่ทำจากใบลานกว้างประมาณ 2 นิ้ว ยาวประมาณ 12-14 นิ้ว เจาะรูตรงกลางสำหรับร้อยเชือก เชือกที่ร้อยเรียกว่า “สายสนอง” หนังสือก้อมผูกหนึ่งมีจำนวน 20-25 ลาน เรียกว่า ขนาดมาตรฐาน และจะมีใบปกหน้าหลัง 2 ลาน เรียกว่า “ใบหลบหน้า” และ “ใบหลบหลัง” ใบลานหลบหน้าใช้เขียนชื่อเรื่องหรือบอกสาระของเรื่องราวที่บันทึก โดยทั่วไปหนังสือก้อมจะไม่มีไม้ประกบหน้าหลังเหมือนหนังสือผูก
           หนังสือก้อมเป็นดุจคลังความรู้และภูมิปัญญาอันหลากหลาย ที่ชาวอีสานช่วยกันสร้างสรรค์ไว้เพื่อเป็นคู่มือดำเนินชีวิตและสืบสานภูมิปัญญาจากชนรุ่นหนึ่งสู่อีกชนรุ่นหนึ่ง อันเป็นการสืบทอดทางวัฒนธรรมซึ่งได้รับการเก็บรักษาและนำไปใช้สืบมาถึงปัจจุบัน ในการจารึกเรื่องราวต่าง ๆ ในหนังสือก้อม จะนิยมใช้อักษรธรรมสำหรับเรื่องความเชื่อ ความศักดิ์สิทธิ์ ศาสนา บทสวดในพิธีกรรม และคาถาอาคม และจะใช้อักษรไทยน้อยในเรื่องที่เกี่ยวกับกฎหมาย การรักษาโรค การปกครอง เศรษฐกิจ โครง กาพย์ ร่าย ร้อยแก้ว กลอนลำ และคำสอนต่าง ๆ ภาษาที่ใช้เป็นภาษาไทยอีสานผสมคำบาลีสันสกฤต ลักษณะคำประพันธ์มี 4 ประเภท คือ กาพย์ โคลง ร่ายยาว และร้อยแก้ว
            ในการศึกษาสาระสำคัญและวิเคราะห์จำแนกประเภทของหนังสือก้อม สุภณ สมจิตศรีปัญญา (2536), อ้างถึงใน เอกวิทย์ ณ ถลาง (2544) ได้จำแนกไว้เป็น 8 ประเภท ดังนี้
            1. เกี่ยวกับจารีตประเพณี เช่น ฮีตสิบสองคองสิบสี่ ฮีตเค้าคองเขย นลฯ
            2. เกี่ยวกับลัทธิ ความเชื่อ และพิธีกรรม เช่น คาถา บทสวดมนต์ โอวาทปาติโมกข์ ทำขวัญ สะเดาะเคราะห์ ฯลฯ
            3. เกี่ยวกับการปกครอง เช่น กฎหมาย คำสอน ฯลฯ
            4. เกี่ยวกับเศรษฐกิจ เช่น การปลูกข้าว แรกไร่แรกนา ฯลฯ
            5. เกี่ยวกับการรักษาโรค เช่น ตำรายา คาถาเสกป่า ฯลฯ
            6. เกี่ยวกับความรัก เช่น ผญา คำสารรัก ลึบปสูญ สุดที่คึด สุดที่อ่าว ฯลฯ
            7. นิทาน เช่น เวสสันดรคำกลอน นิทานต่าง ๆ
            8. วิทยาการอื่น ๆ เช่น เลขคณิต กลอนเทศนา กลอนลำ สูตรลูกคิด กาพย์เวียงจันทน์ โหราศาสตร์ ฯลฯ
            กล่าวโดยสรุป หนังสือก้อมเป็นวรรณกรรมท้องถิ่นที่มีคุณค่า เพราะเป็นการบันทึกลักษณะสังคม ความเป็นอยู่ ความนึกคิด อุดมการณ์ ความเชื่อ ตลอดจนจารีตประเพณีท้องถิ่นของผู้เป็นเจ้าของวรรณกรรม มีการนำสาระจากหนังสือก้อมไปใช้ประกอบพิธีกรรมและกิจกรรมต่าง ๆ ตลอดมา เพื่อป้องกันความคลาดเคลื่อนตกหล่นที่อาจเกิดขึ้นได้ในทางปฏิบัติ หนังสือก้อมจึงเป็นคู่มือประกอบพิธีกรรมและกิจกรรมต่าง ๆ ตลอดจนให้ความรู้ด้านการปกครอง การทำไร่ทำนา และการครองตน ชาวบ้านจึงเรียกหนังสือก้อมอีกชื่อหนึ่งว่า “หนังสือคองใช้” อีกทั้งยังถือเป็นหนังสือศักดิ์สิทธิ์ ต้องเก็บไว้บนหิ้งบูชา จะนำมาใช้ด้วยอาการเคารพในกิจกรรมที่สำคัญเท่านั้น

ดูเพิ่มเติม

หนังสือก้อม หนังสือผูก   

หนังสือก้อมต่างคนต่างมี    

แหล่งอ้างอิง

โครงการอนุรักษ์ใบลานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.  (255-).  หนังสือก้อม หนังสือผูก.  ค้นข้อมูลวันที่ 16 มี.ค. 2553 จาก   http://www.bl.msu.ac.th/bailan/kom.asp
สุภณ สมจิตศรีปัญญา.  (2536).  รายงานภาคสนาม หนังสือก้อม.  (เอกสารสำเนา)
เอกวิทย์ ณ ถลาง.  (2544).  ภูมิปัญญาอีสาน.  พิมพ์ครั้งที่ 2.  กรุงเทพฯ:อมรินทร์.  

หมอธรรมน้อย.  (2552).  หนังสือก้อมต่างคนต่างมี.  ค้นข้อมูลวันที่ 16 มี.ค. 2553 จาก  http://www.jomvet.com/2009/12/kom-book/


 



ลิขสิทธิ์ © 2012 สงวนลิขสิทธิ์ ห้ามทำซ้ำทั้งหมดหรือบางส่วน ไม่ว่าในรูปแบบใดโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ดูแลเว็บไซต์เป็นลายลักษณ์อักษร
ติดต่อผู้ดูแลเว็บไซต์ : somphot@kku.ac.th ผู้พัฒนาโปรแกรม
หมวดหมู่อื่น ๆ
document รายงานการวิจัยเรื่องการสร้างโฮโลแกรมของตัวพยัญชนะไทยและตัวเลขไทยด้วยคอมพิวเตอร์
document ขูลู-นางอั้ว : เมื่อผีแพ้พุทธ
document ธรรมดาสอนโลก ฉบับวัดมงคลเทพประสิทธิ์ บ้านโนนสัง ตำบลหนองบอน อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม
document ปู่สอนหลาน ฉบับวัดสระทอง บ้านทัน ตำบลนาสีนวน อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
document สอนหญิง สอนชาย ฉบับวัดสระทอง บ้านทัน ตำบลนาสีนวน อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
document ธรรมดาสอนโลก ฉบับวัดสระทอง บ้านทัน ตำบลนาสีนวน อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
document คาถา ต้นฉบับวัดศรีเวียงชัย บ้านดอนเวียงจันทน์ ตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
document วรรณกรรมอีสาน
document คำลงท้ายในภาษาถิ่นจังหวัดขอนแก่น
document รายงานการวิจัยเรื่องคำลงท้ายในภาษาถิ่นจังหวัดขอนแก่น
document รายงานการวิจัยเรื่องภูมิศาสตร์คำศัพท์จังหวัดเลย
document รายงานการวิจัยเรื่องการศึกษาสถานภาพองค์ความรู้เกี่ยวกับระบบคิดผ่านงานวรรณกรรมลุ่ มน้ำโขง
document รายงานการวิจัยเรื่องปริศนาคำทายอีสาน
document รายงานการวิจัยเรื่องการวิเคราะห์เรื่องจริยศาสตร์ในวรรณคดีนิทานอีสาน
document การเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์ในกลอนลำเรื่องร่วมสมัย (พ.ศ.2537-2543)
document ความสัมพันธ์ระหว่างวรรณกรรมกับสังคมลาว
document สินไซ : ในบริบทวัฒนธรรมสาธารณะของเทศบาลนครขอนแก่น
document นกจอกน้อย
document พญาคำกอง
document รายงานการวิจัยเรื่องการตีความผญาอีสานเชิงปรัชญา
document รายงานการวิจัยเรื่องคติชาวบ้านในวรรณกรรมของนักเขียนไทยในช่วง พ.ศ. 2325-2536



RSS