ค้นหา:
ค้นหาขั้นสูง
|
เลือกดูตามหมวดหมู่:
|
English Version |
ประวัติความเป็นมาของไหมต่างประเทศ |
|||||
ประวัติของไหมต่างประเทศเริ่มเมื่อประมาณ 2,600-2,700 ปีก่อนคริสตศักราช โดยจีนเป็นชาติแรกที่นำไหมมาใช้ประโยชน์ในการทำเป็นเครื่องนุ่งห่มในสมัยจักรพรรดิฮวงตี้ (Huang-Ti) ต่อมาในปี ค.ศ. 300 (พ.ศ. 843) ประเทศญี่ปุ่นจึงได้สูตรไป หลังจากนั้นการผลิตไหมได้แพร่ไปในยุโรปตะวันตก โดยผ่านเส้นทางสายไหม (Silk Road) เข้าสู่ประเทศอินเดียและเข้าสู่เปอร์เซียในที่สุด ตามเทพนิยายกรีกโบราณ จักรพรรดิจัสติเนียน (Jastinian) แห่งคอนสแตนติโนเปิลทรงพอพระทัยไหมมาก ประมาณปี พ.ศ. 1093 พระองค์ทรงชักชวนนักบวชสองรูป ที่รู้เทคนิคการเลี่ยงและการผลิตไหมจากประเทศจีนให้นำรังไหมและไข่ไหมมายังเมืองไบแซนเทียม (Byzantium) หรือคอนสแตนติโนเปิล และได้เริ่มอุตสาหกรรมไหมขึ้น ในสมัยนั้นผ้าไหมจัดเป็นของฟุ่มเฟือย ที่ใช้กันเฉพาะราชนิกูลเท่านั้น การค้าไหมระหว่างตะวันออก (แถบเอเชีย) และตะวันตก (แถบยุโรป) มีความสำคัญมาก ระหว่างศตวรรษที่ 7 การเลี้ยงและผลิตไหมได้แพร่หลายเข้าไปในประเทศอิตาลี สเปน และฝรั่งเศส เมืองต่าง ๆ เช่น ฟลอเรนซ์ มิลาน เยนัว และเวนิช มีชื่อเสียงเรื่องไหมมาก ในมัยกลางประมาณปี พ.ศ. 2023 การทอผ้าไหมได้เริ่มขึ้นในเมืองตูร์ (Tours) ประเทศฝรั่งเศส และในศตวรรษที่ 16 อุตสาหกรรมผ้าไหมก็เข้าสู่สหราชอาณาจักร (ประเทศอังกฤษ) ในสมัยที่สหราชอาณาจักรยังมีประเทศอาณานิคมมากมายนั้น ในระหว่างศตวรรษที่ 19 พระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งสหราชอาณาจักร ทรงพยายามส่งเสริมให้ก่อตั้งอุตสาหกรรมไหมขึ้นในดินแดนที่เป็นประเทศสหรัฐอเมริกาปัจจุบัน แต่ความพยายามของพระองค์ล้มเหลว จะเห็นได้ว่าการเลี้ยงและการผลิตไหมจะได้ผลดีในประเทศที่มีแรงงานมากและค่าแรงถูกเท่านั้น ดังนั้นอุตสาหกรรมไหม โดยเฉพาะการเลี้ยงและการผลิตไหมจึงจำกัดอยู่เฉพาะประเทศจีน ญี่ปุ่น อิตาลี และอินเดีย การทอผ้าไหมงาม ๆ เป็นงานฝีมือที่ชาวฝรั่งเศสมีความชำนาญมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเมืองลีอองส์ (Lyons) อย่างไรก็ตาม "ไหม" ยังคงถือกันว่าเป็นเส้นใยฟุ่มเฟือย ที่ยังคงรักษาตำแหน่งความมีคุณค่าสูงด้วยคุณสมบัติของเส้นใย เพราะได้มาจากการมีใช้กันเฉพาะในกลุ่มราชนิกูลเท่านั้น จึงมีความระมัดระวังในการดูแลรักษา ดังนั้น คนจึงนิยมยกย่องให้ไหมเป็น "ราชินีแห่งเส้นใย" เอกสารอ้างอิง: นวลแข ปาลิวนิช. (2542). ความรู้เรื่องผ้าและเส้นใย (ฉบับปรับปรุงใหม่). กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น. เรียบเรียงโดย นายิกา เดิดขุนทด ติดต่อผู้ดูแลเว็บไซต์ : somphot@kku.ac.th ผู้พัฒนาโปรแกรม |