มุมอีสานสนเทศ
ค้นหา:     ค้นหาขั้นสูง
เลือกดูตามหมวดหมู่:
English Version

เบื้องลึกเบื้องหลังพระธาตุนาดูน เนื้อหาบทความ

เบื้องลึกเบื้องหลังพระธาตุนาดูน

แสดงผล: 116
ลงคะแนน: 0
วันที่สร้าง: 25 Nov, 2011
ผู้สร้าง :
วันที่ปรับปรุง : 29 Dec, 2011
ผู้แก้ไขปรับปรุง : Somphot A.
ภูมิหลัง
อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม เป็นอำเภอขนาดเล็ก ตั้งอยู่ห่างจากตัวจังหวัดมหาสารคามไปทางทิศใต้ประมาณ ๖๕ กิโลเมตร อยู่ระหว่างกึ่งกลางอำเภอต่าง ๆ ดังนี้
ทิศเหนือ   จดเขต    อำเภอวาปีปทุม    จังหวัดมหาสารคาม
ทิศใต้         จดเขต    อำเภอหยัคฆภูมิพิสัย          และอำเภอยางสีสุราช
ทิศตะวันออก           จดเขต    อำเภอปทุมรัตต์    จังหวัดร้อยเอ็ด และอำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม
ทิศตะวันตก             จดเขต    อำเภอนาเชือก และอำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม

ณ ดินแดนแห่งนี้ เมื่อประมาณ ๑,๓๐๐ ปี เคยเป็นดินแดนที่เจริญรุ่งเรืองด้านอารยะธรรม การเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ สังคม โดยเฉพาะด้านศาสนาซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากอินเดีย โดยผ่านเข้ามาทางลำน้ำโขง (อาณาจักรเจนละ) และได้เผยแพร่ขยายไปตามเมืองโบราณต่าง ๆ เช่น เมือฟ้าแดดสงยาง และนครจัมปาศรีอันเป็นที่ตั้งของอำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม ในปัจจุบัน หลักฐานที่บ่งบอกถึงความเจริญด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง และด้านศาสนาได้แก่ โบราณสถาน เช่น กู่สันตรัตน์ กู่น้อย และศาลานางขาว โบราณวัตถุที่ขุดพบและเศษภาชนะเครื่องใช้ต่าง ๆ แตกกระจายเกลื่อนอยู่ตามพื้นที่เขตเมืองโบราณ “นครจัมปาศรี” นั่งแสดงว่า นครจัมปาศรีเป็นชุมชนขนาดใหญ่ เมื่อดูระวางแผนที่ทางอากาศของแผนที่ทหารแผ่นที่ ๑๖ และ ๓๐ ได้พบว่า เขตเมืองโบราณนครจัมปาศี มีรูปลักษณะเป็นรูปไข่ ฐานกว้าง ทางทิศเหนือ ปลายมนสอบทางทิศใต้มีความกว้างประมาณ ๒ กิโลเมตร ความยาวประมาณ ๔ กิโลเมตร จากสภาพพื้นที่ความเป็นจริงในปัจจุบันจะเห็นว่าสภาพภูมิประเทศเป็นพื้นที่สูง ๆ ต่ำ ๐ มีหนองน้ำขาดตอน เป็นห้วง ๆ โดยรอบเขตเมืองโบราณหลายแห่ง ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “กุด” เช่น กุดทอง กุดฮีเหนือ กุดฮีใต้ กุดลอบ กุดหล่น กุดนาม่อง กุดอ้อ หนอง กุดบอน กุดสระบัว กุดฟ้าฮ่าน เป็นต้น นครจัมปาศรีเป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรืองในสมัยทวารวดี และสมัยลพบุรี คือ
๑.สมัยทวารวดี ระหว่าง พ.ศ. ๑๐๐๐-๑๒๐๐
๒.สมัยลพบุรี ระหว่าง พ.ศ. ๑๖๐๐-๑๘๐๐

 

 หลักฐานบ่งชี้สมัยทวารวดี
หลักฐานจากพระพิมพ์ดินเผาที่ขุดพบเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๒ บริเวณเขตเมืองโบราณ ผศ.สมชาย ลำดวนกล่าวว่า (สมชาย ลำดวน ๒๕๒๙:๕๙) พิจารณาทางด้านมานุษยวิทยา สังเกตพระพิมพ์และพระวรกายของพระพิมพ์นั้นปรากฏว่า เป็นลักษณะของคนพื้นเมืองชาวสยามโบราณ ฉะนั้นประชาชนทราบว่าเป็นศิลปะร่วมสมัยกับพระพิมพ์แบบพระปฐม ซึ่งนับว่า เป็นพระพิมพ์ที่เก่าแก่ดังกล่าวปรากฏว่ามีการจารึกด้วยอักษรคฤนถ์หรืออักษรขอมโบราณ เช่นเดียวกับพระพิมพ์ดินเผาที่ขุดพบในเขตเมือโบราณจัมปาศรี เมือ พ.ศ.๒๕๒๒ ซึ่งมี ๒ ลักษณะคือ
๑.      จารึกตัวอักษรด้วยการขีดลงแผ่นดินเผา
๒.    เขียนตัวอักษรสีแดง
รูปลักษณะตัวอักษรที่จารึกบนแผ่นหลังพระพิมพ์ดินเผาทั้ง ๒ ลักษณะเป็นอักษรขอมโบราณ (ปัลลวะ) และมอญโบราณ และเป็นแบบเดียวกันกับรูปอักษรจารึกคาถา (“เย ธมฺ มา”) ที่จารึกบนแผ่นดินศิลาหรือแผ่นดินเผาซึ่งพบที่จังหวัดนครปฐม และจังหวัดสุพรรณบุรี รูปลักษณะตัวอักษรแบบที่กล่าวนี้อยู่ร่วมสมัยราชวงศ์ปัลลวะที่ได้ใช้อยู่ในสมัย “ทวารวดี” ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๕ เรียกว่า อัษรปัลลวะ
นอกจากนั้นพุทธศิลปะทั้งแบบพระปฐมและที่ขุดพบที่อำเภอนาดูนก็มีรูปลักษณะคล้ายคลึงกันและไปสอดคล้องกับพระพิมพ์สมัยสุโขทัยเชียงแสนซึ่งอาจารย์จิตร บัวบุศย์ กล่าวว่า (จิตร บัวบุศย์ ๒๕๑๔:๙๒) เป็นฝีมือของศิลปินอินเดียวสกุลศิลปะคุปตะ ศิลปินในสกุลนี้ได้เดินทางร่วมกับคณะสงฆ์มาสร้างสรรค์ศิลปะในสุวรรณภูมิประมาณ พ.ศ. ๙๐๐-๑๒๐๐ สกุลศิลปินอินเดียใต้ปาลวะและจาลุกยะ ประมาณ พ.ศ. ๑๐๐๐-๑๓๐๐
หลักฐานจากสถูปเจดีย์ ศ.ดร.จิตร บัวบุศย์ กล่าวว่า เจดีย์ส่วนใหญ่ฐานนั้นมาจากอุบลมณฑล ซึ่งเป็นต้นแบบที่นิยมสร้างกันในสมัยคลื่นที่ ๓ ของพระพุทธศาสนา (รุ่งเรืองอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๓) ที่เข้าสู่ประเทศสยาม และนครจัมปาศรีก็ได้รับอิทธิพล ศิลปวัฒนธรรมในคลื่นนี้ด้วย
หลักฐานบ่งชี้สมัยลพบุรี
๑.      ศิลาจารึก ๑๔ บรรทัด ที่ขุดพบที่ศาลานางขาวในเขตนครจัมปาศรี
๒.    ศิลปวัตถุต่าง ๆ ทั้งสมบูรณ์และแตกหักที่ขุดพบและเศษภาชนะเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่แตกกระจายเกลื่อนในเขตนครจัมปาศรี ตลอดทั้งโบราณวัตถุที่ขุดพบในซากโบราณสถาน เช่น พระนาคปรก พระอินทร์ทรงช้างสามเศียร ซึ่งสร้างด้วยหินทราย ล้วนเป็นศิลปะสมัยลพบุรี
๓.     โบราณสถานเช่น กู่สันตรตน์ กู่น้อย และศาลานางขาว โบราณสถานเหล่านี้ล้วนเป็นศิลปกรรมของขอมสมัยลพบุรีทั้งสิ้น และเป็นศิลปกรรมแบบบายน (ศิลปะแบบบายน ราว พ.ศ. ๑๓๒๔- พ.ศ. ๑๗๘๐) ตรงกับสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ มหาราชองค์สุดท้ายของขอม
จากข้อมูลและหลักฐานทางโบราณคดีดังกล่าวบ่งชี้ได้ชัดเจนว่านครจัมปาศรีได้เจริญรุ่งเรืองมา ๒ ยุคด้วยกัน และจากการประมาณอายุของนครจัมปาศรีโดยใช้หลักฐานทางโบราณคดีดังที่กล่าวมาแล้ว สามารถมองด้วยจิตภาพจะเห็นความเจริญรุ่งเรืองของนครจัมปาศรี เมื่อประมาณ ๑๓๐๐ ปี ล่วงมาแล้วเป็นอย่างดีและแจ่มชัดว่าความเจริญทางด้านการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม และเป็นศูนย์ทุกด้านในถิ่นแถบนี้
 
การขุดค้นพบพระบรมสารีริกธาตุและพระพิมพ์ดินเผานาดูน
ที่ตั้งเมืองโบราณ : นครจัมปาศรี
จากการศึกษาสภาพภูมิประเทศที่ตั้งนครจัมปาศรี มีลักษณะเป็นรูปไข่ยาวจากเหนือไปใต้ พื้นที่เป็นที่สูง ๆ ต่ำ ๆ มีหนองน้ำขาดตอนเป็นห่วง ๆ อยู่มากมายหลายแห่ง ชาวบ้านเรียกว่า “กุด” เช่น กุดทอง กุดฮี กุดลอบ กุดหล่ม กุดนาม่อง กุดอ้อ หนองกุดบอน กุดสระบัว กุดฟ้าฮ่าน เป็นตัน หนองน้ำเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ หากแต่เกิดจากการขุดของชาวนครจัมปาศรีโบราณเพื่อเก็บกักน้ำไว้อุปโภคบริโภคและเป็นคูเมืองป้องกันเข้าศึกศัตรู นอกจากนั้นยังมีเศษกระเบื้อง ดินเผา หม้อ ไห แตกกระจายกลาดเกลื่อนอยู่ทั่วไป นั้นแสดงให้เห็นว่าคงสภาพให้เห็นเป็นหลักฐานในปัจจุบัน ได้แก่ กู่สันตรัตน์ กู่น้อย และศาลานางขาว “เมืองนครจัมปาศรีเป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรืองในสมัยทวารวดี ตัวเมืองเป็นรูปไข่กำแพงเมือประกอบเชิงเทิน ๒ ชั้น มีคูอยู่กลาง คูกว้างประมาณ ๒๐ เมตร เชิงเทินดินสูงประมาณ ๓ เมตร และกว้างประมาณ ๖ เมตร มีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๖ ภายในตัวเมืองและนอกเมืองมีเจดีย์สมัยทวารวดีอยู่ประมาณ ๒๕ องค์” เมื่อดูตามระวางรูปถ่ายทางอากาศบ้านหนองแคนแผ่นที่ ๑๖ และ ๓๐ ได้พบว่าเขตเมืองโบราณมีลักษณะเป็นรูปไข่ ฐานกว้างทางทิศเหนือ ปลายมนสอบทางทิศใต้ มีความกว้างประมาณ ๒ กิโลเมตรยาวประมาณ ๔ กิโลเมตรสมจริงตามที่กล่าวมา
ลำดับเหตุการณ์ก่อนพบพระบรมสารีริกธาตุ
พื้นที่ของนครจัมปาศรี มีโบราณสถานโบราณวัตถุอยู่เป็นจำนวนมากซึ่งได้มีการขุดพบแล้วหลายแห่ง เช่น
พ.ศ. ๒๕๑๑ ทหารเรือจากกรุงเทพฯ จำนวนหนึ่งได้ขุดค้นหาวัตถุโบราณที่ซากโบราณสถานริมฝั่งห้วยนาดูน ซึ่งอยู่ทางทิศเหนือของบ้านหนองโง้ง ตำบลนาดูน อำเภอนาดูน ประมาณ ๐.๕ กม. หรืออยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอนาดูนไปทางทิศเหนือประมาณ ๓ กม. ขุดได้พระพิมพ์ดินเผาและวัตถุโบราณอื่น ๆ อีกจำนวนมากนอกจากนี้ยังได้วัตถุโบราณชิ้นหนึ่งซึ่งมีรูปลักษณะคล้ายน้อตสีเขียวเหมือหยกทำเป็นมุม ๑๖ เหลี่ยมและ ๘ เหลี่ยม ส่วนยอดทำเป็นลักษณะกลม ๆคล้ายขันครอบ ขุดใต้แผ่นอิฐลงไปพบพระพิมพ์ดินเผามีลักษณะเป็นแผ่นขนาดกว้าง ๑๒ นิ้ว ยาวประมาณ ๒ ฟุต มีพระพุทธรูปบรรจุเรียงรายอยู่เป็นจำนวน ๑๐๙ จากการขุดครั้งนั้นได้พระพิมพ์ดินเผาประมาณ ๓ กล่องกระดาษขนาดใหญ่
พ.ศ. ๒๕๑๓ ชาวบ้านนาดูจำนวนหนึ่ง ได้ขุดพบซากโบราณสถานอยู่ทางทิศเหนือโรงเรียนชุมชนบ้านกู่โนนเมืองหรืออยู่ห่างจากกู่สันตรัตน์ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ประมาณ ๑ กม. เศษ ได้ขุดพบพระพิมพ์ปางนาคปรกเดี่ยวสีขาวจำนวนมาก และเป็นพระเครื่องนครจัมปาศรีรุ่นแรกที่มีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์เป็นที่เลื่องลือในด้านพุทธคุณเป็นอย่างมากจนนักเล่นพระได้เข้าไปเสาะหาอยู่มิได้ขาด
พ.ศ.๒๕๑๔ เจ้าหน้าที่หน่วยศิลปากรที่ ๗ จังหวัดขอนแก่น ได้ทำการขุดแต่งโบราณสถานในพื้นที่อำเภอนาดูนจำนวน ๓ แห่ง ดังนี้
๑.       ขุดแต่งกูสันตรัตน์ ได้ขุดพบโบราณวัตถุสมัยลพบุรีหลายชิ้นมีอยู่ชิ้นหนึ่งสวยงามและสมบูรณ์ที่สุด ได้แก่ พระวัชรธร ทำด้วยหินทรายสีเขียวปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติขอนแก่น
๒.     ขุดแต่งกู่น้อย ได้ขุดพบโบราณวัตถุสมัยลพบุรีหลายชิ้น ชิ้นที่สวยที่สุดเป็นเทวรูป พระอิศวร พระนารายณ์ และเศียรเทวรูป ทำด้วยหินทรายปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติขอนแก่น
๓.      ขุดแต่งศาลานางขาว ได้ขุดพบหลักศิลาจารึก ๑ หลัก สูง ๒๑ ๑๔ บรรทัด ส่วนบรรทัดที่ ๑๕ ได้ขาดหายไป เพราะหลักศิลาจารึกหักเป็นท่อนออกจากกัน
 
การค้นพบครั้งยิ่งใหญ่ในปี พ.ศ.๒๕๒๒

เมื่อต้นเดือนมีนาคม ๒๕๒๒ ชาวอำเภอนาดูน ได้ขุดค้นหาโบราณวัตถุตามแหล่งโบราณสถานต่าง ๆ โดยเฉพาะบริเวณรอบกู่สันตรัตน์ กู่น้อย ศาลานางขาวและบริเวณใกล้เคียงในเขตเมืองโบราณ วัตถุโบราณที่ขุดพบส่วนมากเป็นเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันของชาวนครจัมปาศรีโบราณ ได้แก่ หม้อ ไห เครื่องบดยา เป็นต้น
วันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๒๒ ชาวอำเภอนาดูนจำนวนหนึ่งได้ขุดพบซากเจดีย์โบราณที่เนินนาซึ่งอยู่ห่างจากกู่สันตรัตน์ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ ๕๐๐ เมตร หรืออยู่ห่างจากถนนเข้าตัวอำเภอนาดูนทางด้านทิศใต้ประมาณ ๕๐ เมตรซึ่งบริเวณตรงนั้นเป็นที่นาเจ้าของที่นาปลูกข้าวเป็นประจำทุกปี ไม่เคยคิดว่าจะมีซากโบราณสถานและโบราณวัตถุอยู่ เมื่อขุดลึกลงไปประมาณ ๗๐ เซนติเมตร ก็พบก้อนอิฐขนาดใหญ่และขุดลึกลงไปอีกก็พบ พระพุทธรูปสำริดที่พบมีหลายขนาดตั้งแต่ ๕ นิ้ว จนถึง ๑๔ นิ้ว รวมจำนวนทั้งหมด ๕๐ องค์
วันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๒๒ ชาวนาดูนกลุ่มหนึ่งจำนวน ๑๑ คน ประกอบด้วย
๑.      นายวิรัตน์ ปักการะนา
๒.    นายบุ่น บุดทะสี
๓.     นายทองดี ปะวะภูตา
๔.     นายเลื่อน เอ่นแคน
๕.     นายเพียร เอ่นแคน
๖.      นายทองสุข นามมะ
๗.     นายสมจิตร ประนาโก
๘.     นายไสว บุสดี
๙.      นายเสถียร วิจารณ์
๑๐. นายนิวัติ ปักการะนา
๑๑.นายคูณ บุดทะสี
ได้ขุดค้นที่บริเวณเนินดินในที่นาของนายทองดี ปะวะภูตา ราษฎรบ้านนาดูนอำเภอนาดูน ลักษณะเนินดินสูงจากระดับพื้นดินเดิมประมาณ ๑ เมตรเศษ เนื้อดินสีดำยุ่ย มีต้นไม้เล็ก ๆ ขึ้นปกคลุมอยู่โดยรอบ แต่ตรงกลางจะไม่มีต้อนไม้หรือหญ้าเกิดขึ้นเลย มีคันนาล้อมรอบทั้งสี่ด้านครั้งแรกขุดทางทิศตะวันออกของเนินดินได้ขุดพบก้อศิลาแลงจำนวน 3 ก้อนและขุดต่อไปอีกลึกประมาณ ๑.๘๐ เมตรก็พบวัตถุจำนวนหนึ่งทำด้วยสำริดลักษณะเป็นวงแหวน จำนวน ๔ ชิ้น ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑ นิ้ว และพบสำริดซึ่งมีลักษณะเป็นแผ่นบางแบนยาวประมาณ ๕ นิ้ว วัตถุดังกล่าวผุกร่อนจึงไม่สามารถเก็บรักษาไว้ได้ เมื่อขุดต่อไปทางทิศตะวันตกอีกประมาณ ๑ ศอก ก็พบพระพิมพ์ดินเผาปางต่าง ๆ จำนวนมาก ได้ทำการขุดต่อตลอดทั้งคืนจนสว่างได้พระพิมพ์ดินเผาทั้งหมด ๑๒ กระสอบปุ๋ย (๖ กระสอบข้าวสาร) และกลบดินตอนสว่างเพื่อปกปิดไม่ให้ผู้อื่นล่วงรู้เพื่อจะได้ขุดต่อในวันต่อไป
ข่าวการขุดได้พระพิมพ์ดินเผาครั้งนี้ได้กระจายไปอย่างรวดเร็วในวันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๒๒ มีประชาชนจำนวนมากได้หลั่งไหลไปขุดค้นหาพระพิมพ์ดินเผาอย่างเนืองแน่น ต่างก็ได้พระพิมพ์ดินเผาไปคนละมากบ้างน้อยบ้าง พระพิมพ์ที่ได้มีทั้งสมบูรณ์และแตกหัก คืนวันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๒๒ ชาวนาดูน จำนวน ๒๗ คน ได้ร่วมกันขุดได้พระพิมพ์ดินเผาทั้งสิ้น ๓ กระสอบ ข้าวสาร
วันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๒๒ ประชาชนได้เพิ่มทวีมากยิ่งขึ้นได้เข้าขุดค้นอย่างแน่นขนัด นายทาองดี ปะวะภูตา เจ้าของที่นาได้ห้ามไม่ให้ผู้คนเข้าไปขุดโดยกลบหลุมดินทำแปลงนำพริกมะเขือไปปลูกและล้อมรั้วเป็นอย่างดีแต่ก็ไม่สามารถห้ามผู้คนเข้าไปขุดได้พอตกกลางคืนก็ลักลอบเข้าไปขุดค้น ได้พระพิมพ์ดินเผา เป็นจำนวนมาก ครั้นเวลาประมาณ ๐๔.๐๐-๐๕.๐๐ น. ของเช้าวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๒๒ ขุดได้พระพิมพ์ทำด้วยหินทราย0ปางนาคปรกขนาดใหญ่ครึ่งองค์ฐานกว้างประมาณ ๕๐ เซนติเมตร สูงประมาณ ๗๐ เซติเมตร หนาประมาณ ๒๐ เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ ๘๐ กิโลกรัม และเป็นพระพิมพ์ที่ใหญ่ที่สุดในกรุนี้ขณะนี้ไม่ทราบว่าอยู่กับท่านผู้ใด
วันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๒๒ มีประชากรจำนวนมากได้เข้าไปขุดค้นอย่างเนืองแน่นเช่นเคย และได้พระพิมพ์ดินเผากันทุกคน มีชาวนาดูนจำนวนหนึ่งได้ร่วมกันขุดได้พระพิมพ์ดินเผาจำนวน ๑ กระสอบข้าวสาร
วันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๒๒ ประชาชนยังขุดค้นอยู่เช่นเคยนายทองดี ปะวะภูตา เจ้าของที่นาเห็นว่าไม่สามารถจะห้ามผู้คนเข้าไปขุดค้นได้จึงแจ้งให้นายสมเพช ชื่นตา เจ้าหน้าที่ดูแลโบราณสถานประจำอำเภอนาดูนไปแจ้งให้หน่วยศิลปากรที่ ๗ ของแก่นได้ทราบ
วันที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๒๒ เจ้าหน้าที่หน่วยศิลปากรที่ ๗ ขอนแก่นประกอบด้วยนายสถาพร ขวัญยืน นักโบราณคดี ระดับ ๓ กับพวกรวม ๙ คน เดินทางถึงอำเภอนาดูนและขอกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าคลุมพื้นที่แจ้งให้ประชาชนทราบว่า การกระทำในขณะนี้เป็นการทำลายโบราณสถาน โบราณวัตถุ ต่อไปนี้เจ้าหน้าที่จะดำเนินการขุดแต่งเพื่อค้นหาเค้าเงื่อนของโบราณแหล่งนี้ประชาชนจึงได้หยุดการขุด
วันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๒๒ ถึงวันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๒๒ เจ้าหน้าที่หน่วย ฯ ได้ทำการขุดแต่งโดยแบ่งตารางกริด (GRID SYSTEM) ครอบคลุมเนินดินไว้ทั้งหมดและแบ่งช่องเป็น ๑๒ ช่อง แต่ละช่องมีขนาด ๔*๔ เมตร ให้แนวตั้งขนานกับแนวทิศเหนือแม่เหล็ก (MAGNETIC NORTH LINE) การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่หน่วย ฯ ในตอนกลางวันเป็นไปด้วยความเรียบร้อยแต่ตอนกลางคืนประชาชนจะเข้ารุมล้อมอยู่รอบ ๆ บริเวณขุดแต่งเพื่อคอยโอกาสเข้าขุดค้น รั้วลวดหนามถูกลักลอบตัดขาดทุกคืน
วันที่ ๒-๕ มิถุนายน ๒๕๒๒ ประชาชนจากที่ต่าง ๆ ได้ว่าจ้างรถพากันไปมุงดูการขุดแต่งของเจ้าหน้าที่หน่วยศิลปากรที่ ๗ ทำให้การปฏิบัติงานไม่สะดวก และการรักษาความปลอดภัยยากยิ่งขึ้น เวลากลางคืนหลุมขุดถูกลักลอบทำลายเจ้าหน้าที่ฝ่ายบ้านเมืองได้พยายามชี้แจงให้ประชาชนได้เข้าใจและพยายามอย่างยิ่งที่จะรักษาสถานการณ์ให้เป็นปกติแต่ก็ไม่เป็นผล
วันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๒๒ เวลาประมาณ ๑๑.๐๐ น. ขณะที่เจ้าหน้าที่หน่วยฯ ได้ปฏิบัติงานอยู่ประชาชนได้เข้ารุมล้อมและเข้าแย่งชิงขุดจนเจ้าหน้าที่ไม่สามารถต้านทานได้ต้องยุติการขุดแต่งโดยปริยายประชาชนได้หลั่งไหลเพิ่มทวีอีกนับเป็นพัน กองกำกับการตำรวจภูธรจังหวัดมหาสารคาม ได้ส่งเจ้าหน้าที่ ตำรวจกว่า ๕๐ นาย เจ้าสลายฝูงชนในตอนเย็น และนำลวดหีบเพลงล้อมชั้นนอกของเนินดินไว้อีกชั้นหนึ่ง
วันที่ ๗ มิถุนายน ๒๕๒๒ เจ้าหน้าที่หน่วยศิลปากรที่ ๗ ขอนแก่นเริ่มปฏิบัติงานต่อไป ประชาชนยังรุมล้อมกระจายอยู่รอบนอกเหมือนเดิมตอนบ่ายหัวหน้าพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติขอนแก่นเดินทางไปรับโบราณวัตถุสำคัญที่ขุดพบจำนวน ๑๘ กล่องเพื่อนำไปเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติขอนแก่น
วันที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๒๒ การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่หน่วยฯ ยากลำบากยิ่งขึ้น เนื่องจากกำลังตำรวจที่กองกำกับการตำรวจภูธรจังหวัดมหาสารคามได้ถอนตัวออกไปแล้วคงเหลือแต่กำลังตำรวจภูธรอำเภอนาดูนเท่านั้นในตอนเช้าได้มีผู้หาเสียงสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคนหนึ่งได้เข้าไปปราศรัยกับราษฎรภายในรั้วลวดหีบเพลง ทำให้ราษฎรมีโอกาสเข้าใกล้หลุมขุดแต่งมากยุ่งขึ้นและได้แย่งเจ้าหน้าที่หน่วยฯขุดจนไม่สามารถปฏิบัติงานได้กำลังตำรวจส่วนหนึ่งเข้าระงับเหตุการณ์ จึงสามารถปฏิบัติงานต่อได้อีกแต่ก็ไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ตลอดนายสถาพร ขวัญยืน หัวหน้าผู้ควบคุมดำเนินการขุดแต่งเห็นว่าสถานการณ์เริ่มรุนแรงยากลำบากต่อการปฏิบัติงานขุดแต่งจึงสั่งให้เจ้าหน้าที่หน่วยฯขุดเจาะตรงกลางโบราณสถานเวลาประมาณ ๑๑.๐๐ น. เจ้าหน้าที่หน่วยฯ ขุดพบยอดสถูปสำริด ๑ ชิ้น ประชาชนรุมล้อมมุงดูอยู่เห็นเช่นนั้นจึงเข้าแย่งขุดเต็มพื้นที่ไปหมด เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องข้าอารักขาเจ้าหน้าที่หน่วยฯ จึงสามารถนำโบราณวัตถุออกจากที่เกิดเหตุได้ เครื่องมือของเจ้าหน้าที่หน่วยฯ บางชิ้นก็สูญหายไประหว่างเกิดเหตุในขณะนั้น นายบุญจันทร์ เกษแสนศรี นักการภารโรงสำนักงานที่ดินอำเภอนาดูนได้เข้าไปขุดค้นและพบตัวสถูปสำริด ๑ชิ้น ในตอนบ่ายประชาชนได้หลั่งไหลเพิ่มทวีมากขึ้นเข้าแย่งพื้นที่กันขุดวุ่นวายสับสนอลหม่านหลายคนเป็นลมคาหลุมขุดมีรถแทรกเตอร์และรถดั้มไปขุดตักดินที่หลุมขุดเสียงดังสนั่นหวั่นไหวและขนดินไปเทค้นหาโบราณวัตถุที่อำเภอใกล้เคียงนี่คือเหตุการณ์บางส่วนเท่านั้น

 
ที่ตั้งและลักษณะธรณีสัณฐาน
เนินดินแห่งนี้เป็นที่นาของนางทองดี ปะวะภูตา ราษฎรบ้านนาดูนอำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม ตั้งอยู่ที่เส้นรุ้งที่ ๑๕ องศา ๔๒ ๒๕” เหนือ และเส้นแวง ๑๐๒ ๔๒, ๔๘” ตะวัออก (แผนที่ทหาร ลำดับชุด ๗๐๑๗ ระว่างที่ ๕๖๔๐///) อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอนาดูน ไปทางทิศตะวันออกประมาณ ๒ กิโลเมตร อยู่ห่างจากกู่สันตรัตน์ไปทางทิศตะวันตก ประมาณ ๒ กิโลเมตร เนินดินนี้มีลักษณะเป็นวงรี กว้างประมาณ ๑๐ เมตร ยาวประมาณ ๑๔ เมตร สูงจากระดับพื้นดินเดิมประมาณ ๑.๐๕ เมตร ผิวดินเป็นสีดำคล้ายดินเผาถ่านล้อมรอบด้วยคันนาทั้ง ๔ ด้าน มีต้นไม้และเถาวัลย์ขึ้นโดยรอบ แต่บริเวณตรงกลางไม่มีต้นไม้เกิดขึ้นเลย
โบราณสถานแห่งนี้หลังจากเจ้าหน้าที่หน่วยฯ ได้ทำการขุดแต่งโดยรอบแล้วประกอบไปด้วยศิลาแลงเรียงซ้อนกันอยู่ ๕ ชั้น สูงประมาณ ๙๐ เซนติเมตรเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสมีความยาวด้านละ ๖ เมตร ศิลาแลงแต่ละก้อนมีขนาดไม่เท่ากันแต่ที่พบส่วนมากมีขนาดกว้างประมาณ ๑๘-๒๐ เซนติเมตร ยาว ๓๐ เซนติเมตร หนา ๙-๑๑ เซนติเมตร นอกจากนั้นยังพบก้อนอิฐขนาดใหญ่ปะปนอยู่ด้วย
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 เรียบเรียงโดย นายิกา เดิดขุนทด
เนื้อหาจากหนังสือ เบื้องลึกเบื้องหลังพระธาตุนาดูน
ภาพจาก www.rd.go.th
pui-jatukarmramathep.tarad.com


ลิขสิทธิ์ © 2012 สงวนลิขสิทธิ์ ห้ามทำซ้ำทั้งหมดหรือบางส่วน ไม่ว่าในรูปแบบใดโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ดูแลเว็บไซต์เป็นลายลักษณ์อักษร
ติดต่อผู้ดูแลเว็บไซต์ : somphot@kku.ac.th ผู้พัฒนาโปรแกรม
หมวดหมู่อื่น ๆ
document การละเล่นสะบ้าในประเพณีตรุษไทยภูผาม่าน
document หลวงพ่อพระยืนมิ่งมงคล
document ประเพณีบุญบั้งไฟ อำเภอกระนวน
document พระพุทธรูปโบราณ อำเภอซำสูง
document การศึกษาความเชื่อเกี่ยวกับการใช้ผ้าไหมมัดหมี่ของชาวอำเภอชนบทจังหวัดขอนแก่น
document ความเชื่อเรื่องผ้าไหมมัดหมี่ของชาวอีสาน
document สิม
document ศักยภาพทางเศรษฐกิจของชุมชนหมู่บ้านอีสานจากอดีตถึงปัจจุบัน
document เศรษฐกิจชุมชนหมู่บ้านอีสาน : ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจอีสานหลังสงครามโลกครั้งที่สองถึงปัจจุบัน (2488-2544)
document เศรษฐกิจชุมชนหมู่บ้านอีสานใต้ : ความอยู่รอดของชุมชนท่ามกลางกระแสความเปลี่ยนแปลง
document ข้อมูลวัด จังหวัดขอนแก่น
document บุคคลสำคัญทางศาสนา จังหวัดขอนแก่น
document ประเพณีแต่งงานชาวอีสาน (ประเพณีกินดอง)
document รายงานการวิจัยเรื่องศักยภาพของชุมชนอีสาน : กรณีศึกษาบ้านฝาง
document การผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องศิลปวัฒนธรรมในกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีว ิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ตอน ศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณี
document การสำรวจสถานภาพองค์ความรู้เบื้องต้นจากงานวิจัยเกี่ยวกับวิถีชีวิตทางสังคมและวัฒนธ รรมของกลุ่มชาติพันธุ์ ในภาคอีสาน พ.ศ. 2500-2545
document คติชน : คุณค่าในการท่องเที่ยวชุมชนบ้านโคกม่วง
document ความสัมพันธ์หญิงชายภายใต้กระแสการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
document ทัศนคติของชาวชนบทอีสานต่อการทำบุญ
document ประเพณี คติความเชื่อมีอิทธิพลต่องานสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นอีสาน
document ประเพณีผูกเสี่ยว
document พฤติกรรมการทำบุญของชาวพุทธในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
document รายงานการวิจัยเรื่องทัศนคติของชาวชนบทอีสานต่อการทำบุญ
document รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์เรื่องรูปแบบศิลปวัฒนธรรมประเพณีการฟ้อนแห่ต้นดอกไม้ : กรณีศึกษาบ้านอาฮี หมู่ที่ 1,6 ตำบลอาฮี อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย
document รายงานวิจัยเรื่องเศรษฐกิจชุมชนหมู่บ้านอีสานห้าทศวรรษหลังสงครามโลกครั้งที่สอง (พ.ศ. 2488-2543) : กรณีศึกษาบ้านบัว จังหวัดสกลนคร
document รายงานวิจัยเรื่องเศรษฐกิจชุมชนหมู่บ้านอีสานห้าทศวรรษหลังสงครามโลกครั้งที่สอง (พ.ศ. 2488-2543) : กรณีศึกษาบ้านโนนม่วง จังหวัดร้อยเอ็ด
document รายงานวิจัยเรื่องเศรษฐกิจชุมชนหมู่บ้านอีสานห้าทศวรรษหลังสงครามโลกครั้งที่สอง (พ.ศ. 2488-2544) : กรณีศึกษาบ้านวังสวาบ จังหวัดขอนแก่น
document วัฒนธรรมอีสานกับการพัฒนา
document วิถีครอบครัวและชุมชนชาติพันธุ์ไทยโย้ย บ้านโพนแพง ตำบลหนองสนม อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร
document รายงานการวิจัยเรื่องการศึกษาโครงสร้างชุมชนชาติพันธุ์ผู้ไทย บ้านโนนหอม ตำบลโนนหอม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร
document ความเชื่อเรื่องปู่ตาตะกวดกับวิถีชีวิตของชาวกูยบ้านตรึม ตำบลตรึม อำเภอศรีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์
document ประเพณีและเทศกาลจังหวัดขอนแก่น
document วัดป่าบ้านตาด
document วัดถ้ำกลองเพล
document วัดบูรพาภิราม
document หมู่บ้านวัฒนธรรมผู้ไทยโคกโก่ง
document วัดสุปัฏนารามวรวิหาร
document วัดถ้ำแสงเพชร
document ประเพณีบุญพระเวส หรือบุนพะเหวด
document คติชน : คุณค่าในการท่องเที่ยวชุมชนบ้านโคกม่วง
document พระมงคลมิ่งเมือง (พระยืน)
document รายงานการวิจัยเชิงคุณภาพเรื่องเจ้าพ่อมอดินแดง : ความเชื่อของนักศึกษา บุคลากร มหาวิทยาลัยขอนแก่น หมู่ 16 ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
document วัดพระบาทภูพานคำ
document ศาลเจ้าพ่อมอดินแดง
document สิม (โบสถ์) 2
document สิม (โบสถ์) 1
document หลวงพ่อพระยืนมิ่งมงคล
document ตำราปลูกเฮือน ฉบับวัดบ้านดอนยม ตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
document ตำราปลูกเฮือน ฉบับสำนักสงฆ์อิสระธรรมวิเวก บ้านคกเหลี่ยน-หนองขอน ตำบลวังแสง อำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม
document คาถา ต้นฉบับวัดศรีเวียงชัย บ้านดอนเวียงจันทน์ ตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
document คติชน : คุณค่าในการท่องเที่ยวชุมชนบ้านโคกม่วง
document ความเชื่อเกี่ยวกับต้นไม้ของชาวบ้านศึกษาเฉพาะกรณีหมู่บ้านโนนอำนวย อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์ และหมู่บ้านทุ่งสว่าง อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ
document ฒ ผู้เฒ่าต้องมอง
document การบริโภคสุนัขในจังหวัดสกลนคร
document การปรับตัวทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ไทแดง บ้านโพนทอง เมืองนาทรายทอง นะคอนหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
document การแต่งงานข้ามวัฒนธรรมหญิงไทยกับชายญี่ปุ่น
document บทบาทของวัดต่อชุมชนในชนบท จังหวัดขอนแก่น
document ความสัมพันธ์หญิงชายภายใต้กระแสการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
document เจ้าโคตร : ผู้เว้าแล้วแล้วโลด
document ปราสาทขอมหายไปไหน? เขมรทำลายหรือใครกันแน่
document ภูมิปัญญาพื้นบ้านศาลผีปู่ตา อำเภอสีชมพู จังหวัดขอนแก่น.
document ลำส่องที่พึ่งสุดท้ายของผู้ป่วยในภาคอีสานจริงหรือ?
document สรภัญญ์ : ภูมิปัญญาชาวบ้านกับบทบาทในสังคมอีสาน
document รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ : คติสัญลักษณ์ของพื้นที่และการจัดการใช้พื้นที่ของวัดในชุมชนหมู่บ้านผู้ไท
document พุทธศาสนากับสิ่งแวดล้อม
document รายงานการวิจัยเรื่องวิเคราะห์ความเข้าใจในหลักพุทธธรรมของพระสงฆ์ในเขตอำเภอเมืองขอ นแก่น จังหวัดขอนแก่น
document วิเคราะห์การทำบุญของคนไทยภายใต้ระบบสังคมบริโภคนิยม
document สรภัญญ์ เพลงขับเพื่อศาสนาและจริยธรรม
document วันสงกรานต์
document การปฏิบัติตนขณะตั้งครรภ์ : การเชื่อมโยงระหว่างความเชื่อดั้งเดิมอีสานกับความรู้ทางการแพทย์สมัยใหม่
document คติความเชื่อและระบบสังคมกับการปลูกสร้างเรือนพื้นบ้านและชุมชนผู้ไท
document คติชนวิทยาที่พบในงานของนักเขียนไทยสมัยรัตนโกสินทร์
document ประเพณีตักบาตรเทโว
document ศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สาระนาฏศิลป์ วิชาเลือกนาฏศิลป์พื้นเมือง เรื่อง ประเพณีผูกเสี่ยวจังหวัดขอนแก่น โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบย้อนกลับ(Backward Design) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนนครขอนแก่น
document ศาลเจ้าปึงเถ่ากง-ม่า ขอนแก่น
document ประเพณีผูกเสี่ยวจังหวัดขอนแก่น
document งานเทศกาลไหม ประเพณีผูกเสี่ยว และงานกาชาดจังหวัดขอนแก่น
document บุญกฐิน
document ประเพณีขึ้นเฮือนใหม่
document บุญข้าวจี่หรือบุญเดือน ๓
document ประวัติวัดศรีคุณเมือง อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย
document ฮีตสิบสอง
document วันสงกรานต์
document วันมาฆบูชา



RSS