มุมอีสานสนเทศ
ค้นหา:     ค้นหาขั้นสูง
เลือกดูตามหมวดหมู่:
English Version

ประวัติเมืองเชียงคาน เนื้อหาบทความ

ประวัติเมืองเชียงคาน

แสดงผล: 210
ลงคะแนน: 0
วันที่สร้าง: 25 Nov, 2011
ผู้สร้าง :
วันที่ปรับปรุง : 12 Jan, 2012
ผู้แก้ไขปรับปรุง : Somphot A.

 เชียงคานเป็นอำเภอใหญ่อำเภอหนึ่ง ของจังหวัดเลย ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง ห่างจากตัวจังหวัดเลยไปทางทิศเหนือเป็นระยะทาง 48 กิโลเมตร เดิมเคยเป็นเมืองหลวงของล้านช้าง (ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวในปัจจุบัน) มาก่อน 

                                                         


          เขตสุขาภิบาลอำเภอเชียงคานในปัจจุบันนี้เดิมเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ เรียกว่า บ้านท่านาจัน ส่วนเมือเชียงคานแท้ ๆ นั้นตั้งอยู่ฝังซ้ายแม่น้ำโขง เยื้องที่ว่าการอำเภอเชียงคานฝังตรงก้นข้ามลงไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ประมาณ 1 กิโลเมตร เป็นที่ตั้งของบ้านผาฮด หรือเมืองสานะคามเดี๋ยวนี้หรือเมืองเชียงคานเก่า ซึ่งเป็นเมืองที่สำคัญในประวัติศาสตร์ของอาณาจักรล้านช้าง

          ประวัติความเป็นมาของเมืองเชียงคานนั้นมีว่า ขุนคาน กษัตริย์เมืองเชียงทอง (หลวงพระบาง) โอรสขุนคัว ซึ่งเป็นเชื้อสายของขุนลือ ได้เป็นผู้สร้างเมืองเชียงคานขึ้น แล้วขนานนามเมืองตามพระนามของพระองค์ตามธรรมเนียมราชประเพณีของล้านนา-ล้านช้างตั้งแต่ก่อนกาลที่ใช้คำนำหน้าเมืองว่าเชียงนั้น เป็นนามใช้เฉลิมพระเกียรตินามเมือง ซึ่งกษัตริย์เป็นผู้สร้างเมืองนั้น หรือได้เสด็จไปประทับ คล้ายคลึงกับราชธรรมเนียมราชอาณาของขอมที่ใช้ บุรี ต่อท้ายชื่อเมือง คำว่า เชียง ใช้เรียกชื่อคนที่เคยบวชเป็นสามเณร (จัว) และทิด ใช้สำหรับเรียกคำนำหน้าผู้ที่เคยบวชเป็นพระภิกษุมาแล้ว ซึ่งย่อมาจากคำว่า “บัณฑิต” นั้นเอง

                                                       

        
          ในปี พ.ศ. 1999 บรรดาอำมาตย์ราชมนตี ได้พร้อมใจกันมอบบ้านเมืองลาวให้อยู่ในความปกครองของคณะสงฆ์ซึ่งประกอบด้วย พระมหาศรัทธาโกมหาสามีเจ้าพระธรรมเสนา พระมหาสมุทโฆษ ปกครองบ้านเมืองได้ 3 ปี ก็ได้มอบราชสมบัติถวายแด่ท้าวลือไชย โอรสของพระเจ้าสามแสนไทยไตยภูวนาถ (พ.ศ.1919-1960) พระราชมารดานามว่าพระนางยอดคำทิพย์ เป็นพระราชธิดาของกษัตริย์กรุงศรีอยุธยา ขึ้นครองราชย์สมบัติได้เป็นพระเจ้าล้านช้าง นามว่าพระยาไชยจักรพรรดิแผ่นแผ้วท้าววังบุรี ขึ้นครองราชย์สมบัติ พ.ศ. 1999 – 2022 ทรงมีพระปรีชาสามารถในการปกครองบ้านเมืองและทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้รุ่งเรืองดังปรากฏหลักฐานว่าพระองค์ทรงสร้างวัดวาอารามไว้หลายแห่ง เช่น วัดกิ่งแก้ว วัดไต วัดศรีหอม วัดป่าสัก ที่เวียงจันทน์ โดยกวังของพระองค์ที่ปากน้ำป่าสักสร้างเป็นวัด (ปัจจุบันเป็นโรงเรียนเทคนิคปากน้ำสัก ประเทศฝรั่งเศสเป็นผู้สร้าง) พระองค์มีราชโอรส 10 องค์ คือ

      1.                  ท้าวท่อนแก้ว
      2.                  ท้าวแท่นคำ
      3.                  ท้าวยอน
      4.                  ท้าวผ่อน
      5.                  ท้าวลาง
      6.                  ท้าวหล้า
      7.                  ท้าวของ
      8.                  ท้าวภูไท หรือลุไพไซ
      9.                  ท้าวเทพา
    10.              ไม่ปรากฏพระนาม
         และทรงมีพระราชธิดา 7 องค์ คือ
      1.                  เจ้านางสีไว
      2.                  เจ้านางยิน
      3.                  เจ้านางคาด
      4.                  เจ้านางคำหยาด
      5.                  เจ้านางมิ่ง
      6.                  เจ้านางขาว
      7.                  เจ้านางธารา

                                   
 
          พ.ศ. 2011 พระยาไชยจักรพรรดิแผ่นแผ้วท้าววังบุรีโปรดให้อาราธณา ”พระบางเจ้า” จากเมืองเวียงคำขึ้นมาประดิษฐาน ที่เมืองเชียงทอง โดยทางชลมารค ขึ้นมาตามลำน้ำโขง แต่ระหว่างทางเกิดอุบัติเหตุเรือล่มที่แก่งจัน อยู่ระหว่างบ้านคกเว้า อำเภอปากชม จังหวัดเลย ซึ่งระว่างทางมีหินระเกะระกะระดับน้ำเหนือแก่งกับระยะได้แก่งทิ้งระดับต่างกันมาก ทำให้น้ำไหลเชี่ยวซึ่งอยู่ใต้แก่งฟ้า บ้านหาดเบี้ย อำเภอปากชม จังหวัดเลย เป็นเหตุให้พระบางเจ้าจมน้ำหายไปข้าราชบริพารในขบวนแห่ไม่มีผู้ได้รับอันตราย แต่ตำนานกล่าวว่าพระบางเจ้าแสดงอภินิหารเสด็จไปประดิษฐานที่เมืองเวียงคำตามเดิม ทำให้คนทั้งหลายเกิดอัศจรรย์ และเลื่อมใสศรัทธาเป็นอย่างมาก

                                  


          เมื่อปี พ.ศ. 2023 บางดำรา พ.ศ. 2019 เกิดศึกญวนยกทัพมาตีเมืองเชียงทอง (หลวงพระบาง) แห่งล้านช้างโดยมีบัวขวางชุนกับเนกองเป็นแม่ทัพ พระยาไชยจักรพรรดิแผ่นแผ้วเกณฑ์ไพร่พลทหารออกทำการรบ ทำให้พระเจ้าเชียงลือตายในสนามรบ ลาดหลวง หมื่นหลง หมื่นบุญ หมื่นห้า เชียงลือ ตายที่หลักหมั่น ซึ่งอยู่ถัดจากวังปสกหลวงลำแม่น้ำโขง  กองทัพพระไชยจักรพรรดิแผ่นแผ้ว สู้ญวนไม่ได้ก็ทรงอพยพพระราชวงศ์และไพร่พลลงเรือพระที่นั่งไปประทับที่เมืองเชียงคาน พระเจ้าล้านช้างไชยจักรพรรดิแผ่นแผ้วทรงโปรดฯ ให้ท้าวแท่นคำพระราชโอรสองค์ที่ 2 นำกำลังพลจากเมืองเชียงคาน ยกกองทัพขึ้นไปรบกับกองทัพญวนที่บริเวณปากแม่น้ำพูน กองทัพญวนแตกพ่าย ข้ามน้ำโขงที่ท่าบ้านเชียง เจ้าแท่นคำได้รับชัยชนะตีญวนแตกพ่ายถอยร่นไปถึงเมืองพูน (ดินแดนประเทศเวียดนามในปัจจุบัน) เมื่อบัวขวางชุนพ่ายไปเลยเข้าเขตเมืองพูนได้ 6 คืน ฟ้าก็ผ่าบัวขวางชุนตายที่นั่น เนกองถอยทัพไปก็เป็นฝีไข้ (โรคไข้ทรพิษหรือฝีดาษ) ตายอีก ทั้งนี้อาจเป็นเพราะญวนได้รับคำสาปแช่งมาแต่ขุนบรมซึ่งได้แช่งเอาไว้ว่า ไม่ให้ตีเอาบ้านเอาเมืองกัน ใครฝ่าฝืนก็ให้มีอันเป็นไป

          ตามตำนานเล่าสืบทอดกันมาว่า สถานที่พระเจ้าไชยจักรพรรดิแผ่นแผ้ว ได้ยกทัพขื้นบกที่เมืองเชียงคานนั้น ได้แก่ บ้านตากแดด ซึ่งต่อมาเมื่อเสร็จศึกญวนแล้ว พระเจ้าสุวรรณบัลลังก์ ได้ขนานนามหมู่บ้านนี้ว่า บ้านสานะคาม (ชนะสงคราม) เพื่อเป็นที่ระลึกในการที่พระองค์ได้ทำชนะสงครามชนะกองทัพญวน พระยาไชยจักรพรรดิแผ่นแผ้วประทับอยู่ที่เมืองเชียงคานไม่นานก็สวรรคต เมื่อมีพระชนมายุได้ 65 พรรษา ที่เมืองเชียงคาน ในปีกัดไก๊ เดือน 5 ขึ้น 13 ค่ำ พ.ศ. 2022 พระเจ้ากรุงศรีอยุธยาทรงแต่งตั้งให้ขุนสีหราชโกศาเป็นราชทูตเชิญโลงทองคำไม้จันทร์กับแผ่นแพร 500 พับมาร่วมถวายพระเพลิงตามโบราณราชประเพณี                                   

          ภายหลังจากพระยาบ้านช้างไชยจักรพรรดิแผ่นแผ้วสวรรคตในปี จ.ศ. 842 (พ.ศ. 2023) ได้พระราชทานให้อภิเษกพระยาซ้ายขวาเป็นพระยาล้านช้างแทน ตามหลักฐานในพงศาวดารไทยตามฉบับหลวงประเสริฐได้บันทึกไว้ "...พระยาซ้ายขวา คือ ท้าวแท่นคำ ราชโอรสพระยาไชยจักรพรรดิแผ่วแผ้วองค์ที่ 2 ซึ่งครองเมืองด่านซ้ายขึ้นครองราชย์สมบัติ ทรงพระนามว่า “พระเจ้าสุวรรณบัลลังก์” บางตำราว่า “พระยาสุวรรณปาสัง” เมื่อศักราชได้ 817 ตัว ซึ่งมีพระชนมายุได้ 34 พรรษา ที่เมืองเชียงคานเป็นเมืองหลวง หรือราชธานีของอาณาจักรล้านช้าง เมื่อได้ถวายพระเพลิงพระราชบิดาแล้วก็เสด็จกลับพร้อมด้วยเสนาและข้าราชบริพาร ไปประทับที่เมืองเชียงทองตามเดิม และให้ท้าวน้องของเจ้าแท่นคำเป็น เจ้าเมืองเชียงให้มาครองเมืองด่านซ้ายแทนตน เรียกว่าพระยาซ้ายของ..."
          สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ กษัตริย์กรุงศรีอยุธยาครองราชย์อยู่เมืองสองแคว (พิษณุโลก) ซึ่งมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดในฐานะเครือญาติของราชวงศ์ทั้งสอง พระยาสุวรรณบัลลังก์ เมื่อถวายพระเพลิงพระราชบิดาแล้ว ก็ทรงสร้างวัดและเจดีย์องค์หนึ่งบรรจุพระอัฐิพระชนกไว้ในเจดีย์นั้น ชาวบ้านนิยมเรียกว่า วัดพระฮด (วัดผาฮด) เพราะมีหินศิลาประหลาดอยู่แผ่นหนึ่ง เรียกว่า ผาฮด โผล่ขึ้นมาจากพื้นแผ่นดิน ริมน้ำโขง สูง 12 เมตร กว้าง 8 เมตร หนา 60 เซนติเมตร ราษฎรนับถือกันมาก ทำพิธีสรงน้ำ (รดน้ำ) เป็นประเพณีนิยม จึงเรียกว่า ผาฮด ต่อมาพระยาสุวรรณบัลลังก์ได้สร้างพระพุทธรูปไว้ที่หน้าผา และได้สกัดหินตัวผาทั้งสองด้าน ให้เป็นรูปเรือนแก้ว รองรับพระพุทธรูปนี้ พระพุทธปฏิมากรองค์นี้เป็นพระพุทธรูปลักษณะยืน มีพระหัตถ์ทั้งสองประสานอยู่ใต้พระนาภี เป็นพระพุทธรูปปางที่ประหลาดปางหนึ่ง ซึ่งยังปรากฏในโบราณคดีซึ่งเกี่ยวข้องกับปฏิมากร เป็นพระพุทธรูปก่ออิฐถือปูนสูง 10 เมตร มีคำกล่าวกันว่าพระยาสุวรรณบัลลังก์ได้ทรงสร้างพระพุทธรูปนี้ขึ้น เพื่อให้ความสำคัญในการที่พระราชบิดาได้ทรงหลบภัยมาประทับที่เมืองเชียงคาน ด้วยความปริวิตกในความเดือดร้อนของพสกนิกรเป็นอย่างยิ่ง พระเมรุถวายพระเพลิงยังมีหลักฐานเป็นศิลาปรากฏเหลืออยู่ที่ป่าข้างป้อมทหารที่ฝรั่งสร้างไว้ที่เมืองสานะคามจนบัดนี้
          เมื่อพระยาสุวรรณบัลลังก์เสวยราชย์ได้ 7 ปี พอถึงปีระวายชง้า พระชนมายุได้ 41 พรรษา ศักราชได้ 848 ตัว (พ.ศ. 2028) ก็สวรรคตที่เมืองเชียงทองใน พ.ศ. 2034 พระยาหล้าแสนไตรภูวนาถ (ครองราชย์ พ.ศ. 2028 – 2038) โอรสของพระยาไชยจักพรรดิแผ่นแผ้วพระองค์เสด็จไปที่เมืองเชียงคาน เพื่อบูรณปฏิสังขรณ์วัดสบยาไชยจักรพรรดิแผ่นแผ้ว พระอง๕เสด็จไปที่เมืองเชียงคาน เพื่อบูรณปฏิสังขรณ์วัดสบเชียงคาน พ.ศ. 2209 รัชสมัยของพระพุทธเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราชเจ้ามหาชีวิต ราชอาณาจักรลาว (ครองราชย์ พ.ศ. 2176 - 2233) ได้มีการสร้างวัดท่าแขกขึ้น ใน พ.ศ. 2209 ตามศิลาจารึก ซึ่งมีลักษณะเป็นเสาหินสี่เหลี่ยมปัจจุบันอยู่นอกโบสถ์ภายในวัดท่าแขก

          ตามตำนานของอำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย จารึกเป็นอักษรตัวธรรมไว้ว่า "ศักราช 1028 (พ.ศ. 2209) เดือน 5 ขึ้น 9 ค่ำ 3784 (4) (5) หรคุณ 334 อวมานเป็นปีที่สร้างวัดท่าแขกขึ้น" ซึ่งในรัชสมัยของพระองค์นี้ วาน วูฟทอพ ทูตการค้าชาวฮอลันดา ซึ่งเดินทางมายังนครเวียงจันทน์ ได้บันทึกด้วยว่า “ทุก ๆ ปี จะมีพระสงฆ์จากประเทศเขมรและประเทศสยาม ได้เดินทางมาศึกษาประมาณ 10 ปี หรือ 12 ปี กว่าจะสำเร็จในการเรียนวิชาใดวิชาหนึ่ง....การศึกษาในด้านพุทธศาสนาที่นครเวียงจันทน์เป็นไปอย่างเสรี สะดวกสบายและความสำคัญของพระพุทธศาสนามีมากกว่าแห่งอื่น ๆ ...” 
          ตามศิลาจารึกวัดศรีสองน้อง (ศรีหอสองนาง) อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย เป็นศิลาจารึกหินทรายหนึ่งหลัก (ลักษณะหักครึ่ง) ได้บันทึกไว้ว่า "มหาส...ปัชโชติติปา (แถระ) และ....พี่น้องสามเณรทั้งมวล พร้อมกันสร้างวัดกับทั้งธาตุ หมดเงินห้าพันสองร้อย ขอ (ค้ำ) ซู...ผเทิน" ซึ่งแสดงว่าในรัชสมัยนี้ได้มีพระภิกษุ สามเณรจากประเทศสยาม เดินทางไปศึกษาธรรมวินัยที่นครเวียงจันทน์ โดยเดินทางล่องขึ้นตามแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำน่าน พิษณุโลก นครไทย ด่านซ้าย ล่องลงมาตามลำน้ำเหือง แม่น้ำโขง ถึงเวียงจันทน์ และเมื่อศึกษาธรรมวินัยสำเร็จก็เดินทางกลับและได้สร้างวัดศรีสองนางขึ้น และวัดท่าแขกก็น่าจะอยู่ในกรณีนี้ด้วย
          ตามตำนานกล่าวว่าวัดท่าแขกเป็นวัดผู้ชายสร้าง ส่วนวัดผาฮดเป็นวัดผู้หญิงสร้าง ทำให้วัดผาฮดสวยงามกว่าวัดท่าแขก แต่ตามประวัติศาสตร์วัดผาฮดสวยงามกว่าวัดท่าแขก เพราะพระยาสุวรรณบัลลังก์สร้างวัดผาฮดเพื่อบรรจุอัฐิพระราชบิดา 
          ในตำนานหนังสือโบราณพื้นเมืองฉบับหนึ่งกล่าวว่า ก่อนตั้งเมืองปากเหือง ได้มีเมืองปากเหืองโปราณอยู่ก่อนแล้ว เรียกว่า เมืองปัจนคร พญาจุฬณี ได้อพยพบ่าวไพร่บริวารทางเหนือมาตั้งอยู่ในบริเวณปากแม่น้ำเหือง จะอย่างไรก็ดี เมืองปัญจนครนี้เข้าใจว่าคงเป็นเมืองปากเหืองที่มีหลักฐานในพงศาวดารล้านช้างว่า ได้สร้างขึ้นราว พ.ศ. 2225 ซึ่งตรงกับสมัยของรัชกาลที่ 3 เมื่อสิ้นรัชกาลพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราชกษัตริย์ลาวแล้วอาณาจักรล้านช้างได้แตกแยกเป็นสามอาณาจักรดังนี้
               1.   อาณาจักรหลวงพระบาง มีพระเจ้ากิ่งกิสราช ครองราชย์ เมื่อ พ.ศ. 2250
               2.   อาณาจักรเวียงจันทน์ มีพระเจ้าไชยองค์แว้เป็นเจ้ามหาชีวิต ครองราชย์เมื่อ พ.ศ. 2243
               3.   อาณาจักรจำปาสักมีพระเจ้าสร้อยสีสมุทพุทธากูรเป็นกษัตริย์ เมื่อ พ.ศ. 2257                                                  
          อาณาจักหลวงพระบางกับอาณาจักรเวียงจันทน์ได้แบ่งแยกกันโดยทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงตั้งแต่เหนือปากน้ำมี้ บ้านน้ำมี้ (ตรงกันข้ากับบ้านน้อย อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย) ฝั่งขวาตั้งแต่เมืองปัญจนคร (เมืองปากเหือง)เป็นเขตแดนหลวงพระบาง ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงตอนใต้ปากน้ำมี้ ฝั่งขวาตอนใต้เมืองปัจจนร เป็นเวียงจันทร์ เพื่อป้องกันการรุรานของฝ่ายตรงข้าม ทางหลวงพระบางจึงได้อพยพผู้คนไพร่พลมาอยู่ที่เมืองปากเหือง ทางฝั่งขวาของแม่น้ำโขงให้เป็นเมืองหน้าด่นแม่น้ำโขงตอนใต้คู่กับเมืองเชียงคานเก่า (สานะคาม) ทางฝั่งซ้ายแม่โขง ซึ่งตั้งอยู่เหนือปากน้ำมี้
          พ.ศ. 2254 ภายหลังจากอาณาจักรล้านช้างแยกออกเป็น 3 อาณาจักร ไม่สามารถดำรงเอกราชไว้ได้ ชาวเมืองเชียงคานบางส่วนพากันอพยพไปตั้งบ้านเมืองบริเวณปากน้ำเหือง ชื่อเมืองปัญจนคร (ทิศตะวันตกของบ้านคกงิ้ว ตำบลปากตม อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย) แล้วพากันเอาทองคำแท่งมารวมกันสร้างรูปม้าทองคำไว้บูชาบนยอดเขาภูนาจาน ซึ่งมีลายแทงอยู่ ต่อมาเกิดศึกฮ่อมาตีเมืองปากเหือง แล้วพากันหักเอาเขาม้าทองคำได้ขาหนึ่ง ชาวบ้านขอร้องไม่ให้เอาไปก็ไม่ฟังเสียง พวกฮ่อเอาขาม้าทองคำล่องลงมาตามลำน้ำเหืองถึงท่าน้ำ ด้วยศรัทธาของชาวบ้านที่สร้างไว้ ได้สาปแช่งให้พวกฮ่อมีอันเป็นไป ทำให้พวกฮ่อท้องร่วงตายวิญญาณของพวกฮ่อเหล่านั้นไปรวมกันอยู่ที่ปากน้ำเหือง และรักษาคุ้มครองชาวบ้านนาจาน บ้านท่าดีหมี อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ใครจะมารบกวนชาวบ้านเหล่านี้ ชาวบ้านจะบนบานบอกกล่าว เพื่อให้เจ้าพ่อปากเหืองคุ้มครอง นอกจากนี้เจ้าพ่อปากเหืองยังเข้าสิง (เข้าทรง) กับเจ้าพ่อกวน เพื่อทำพิธีไล่ผีปอบที่มาเข้าทำร้ายผู้คนในหมู่บ้าน ผีปอบยอมแพ้ ขอเป็นลูกน้องอาศัยอยู่ด้วย ต่อมาชาวบ้านเหล่านี้ย้ายภูมิลำเนาไปอยู่หมู่บ้านอื่น เจ้าพ่อปากเหืองไม่ยอมให้ไปก็ใช้ผีปอบไปตาม ผีปอบก็จะไปเข้าสิงคนที่ย้ายไปนั้น จนต้องตามหมอผีมาไล่อีก เมื่อหมอถามว่ามาจากไหน ผีปอบจะตอบว่า เจ้าพ่อปากเหืองให้มาตามกลับไปหมู่บ้าน ซึ่งเป็นบริเวณบ้านนาจาน บ้านท่าดีหมี บ้านปากตม อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย เมื่อคนที่ถูกผีปอบสิงกลับเข้าไปหมู่บ้าน ก็หายเป็นปกติ ชาวบ้านจึงกระจายหายไปตามริมฝั่งโขง โดยบอกเคล็ดลับลับกับเจ้าพ่อปากเหืองว่า ที่นั้นดินแดนคับแคบ จึงขอขยับขยายออกไปอยู่ไกลออกไปอีกเพื่อทำมาหากิน พอสิ้นปีหนึ่ง ๆ จะนำอาหารคาวหวาน ดอกไม้ ธูปเทียนไปเซ่นไหว้ตามประเพณี ซึ่งประเพณีนี้มีที่บ้านคกงิ้ว บ้านคกมาด เละบ้านคกหมาแฮมหรือคกดำ (คก คือ บริเวณพื้นน้ำที่เว้าเข้ามาในพื้นดิน เป็นวังน้ำวน ลึกมาก)
          พ.ศ. 2321 พระเจ้าตากสินมหาราช ปลายสมัยกรุงธนบุรี ประเทศสยาม ได้รวมอาณาจักรล้านช้าง ทั้ง 3 อาณาจักรเข้าอยู่ในความปกครองเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน พระเจ้าแผ่นดินทั้ง 3 อาณาจักร จึงมีฐานะเป็นประเทศราชขึ้นตรงต่อกรุงธนบุรี ประเทศสยามตลอดมาจนถึงรัชสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ได้กวาดต้อนผู้คนตามหัวเมืองทางฝั่งซ้ายซึ่งขึ้นกับเมืองเวียงจันทน์มาไว้ทางขวา เพื่อสะดวกแก่การปกครอง โดยเหตุที่ชาวเมืองเชียงคานโบราณ ซึ่งอยู่พรมแดนอาณาจักรหลวงพระบางและเวียงจันทน์ จึงถูกกวาดต้อนมาอยู่ท้องเมืองปัญจนคร โปรดเกล้าฯ ให้ไปขึ้นเมืองน้ำปาด (อุตรดิตถ์) เพราะเป็นเมืองใหญ่ในเวลานั้น ให้พ้นจากการเกี่ยวข้องกับหลวงพระบางแต่นั้นมา

                                                               
 

          พ.ศ. 2369 – 2370 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ฯ รัชกาลที่ 3 เกิดกบฎเวียงจันทน์ กองทัพไทยปราบชนะในคราวนั้น จึงได้กวาดต้อนกำลังพลเมืองทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงมาไว้ทางฝั่งขวามากขึ้นกว่าครั้งแรก และโปรดเกล้าฯ ให้ยกเลิกประเทศราชเวียงจันทน์ ให้พระยานอนุพินาศ (กิ่ง) ต้นตระกูลเครือทองดี ชาวเมืองลับแล ซึ่งเป็นทหารมากับกอทัพไทยคราวปรากบฎเวีงจันทน์ เป็นเจ้าเมืองปากเหือง เป็นคนแรกแล้วพระราชทานนามเมืองใหม่ว่า เมืองเชียงคาน ซึ่งอาจทรงเห็นว่า เมืองเชียงคานโบราณ เคยเป็นราชธานีนครล้านช้างมาก่อน เป็นเมืองสำคัญทางประวัติศาสตร์ ฉะนั้นเมืองปากเหืองเปลี่ยนชื่อเป็นเมืองปัญจนคร แล้วก็เปลี่ยนชื่อเป็นเมืองเชียงคาน จนกระทั่งมีการอพยพจากเมืองปากเหืองมาอยู่บ้านท่านาจัน พระอนุพินาศ (กิ่ง) เป็นเจ้าเมืองปากเหืองอยู่นานเท่าใด และเจ้าเมืองคนถัดไปมีใครบ้างนั้นหาหลักฐานไม่ได้ แต่ทางฝั่งซ้ายของเมืองน้ำโขงก็ยังเป็นอาณาเขตของบ้านท่านาจัน ไปจนถึงบ้านนาหมั้น นามอย นาใหม่ นาเพียง นาคู่ นาข่า พลเมืองส่วนใหญ่ทำมาหากินทางฝั่งซ้ายมีนาอยู่ทางฝั่งซ้ายมีชื่อว่า นาขิก นางาม นาโพธิ์ นาขุมปูน

                                                                               
 

          พ.ศ. 2377 พระยาอนุพินาศ ได้สร้างพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์ 2 องค์ประดิษฐานไว้ที่วัดศรีคูณเมือง อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ได้จารึกไว้ที่ฐานพุทธรูปว่า "ศุภมัสดุ จุลศักราชได 1 พัน ร้อย 96 (จ.ศ.1196) ตัว ปีกาบสะง้า เดือน 4 แรม 15 ค่ำ เพ็ง วันเสาร์ มื้อกัดมด ยามแถใกล้เที่ยง หัวครูบุษดีเป็นผู้รจนา (บักทึก,เขียน,จารึก) กับทั้งศิษย์ โยมลงตา เป็นผู้เอาดินปั้น (อูบ) พระพุทธรูปนี้ไว้กับศาสนาเท่า 5 พันวัสสานิพพาน" ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะงดงาม เด่น ทรงเครื่องประดับแก้ว หินสี พลอย สวยงามมาก มีชื่อว่า คำทิพย์  เคยถูกขโมยไปจมอยู่ใต้น้ำครึ่งหนึ่งทำให้แก้วสีพลอยหลุดไปบางส่วน พระพุทธรูปองคที่สอง สร้างขึ้นพร้อมกันเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ห่มจีวร ได้บันทึกไว้ได้ฐานพระพุทธรูปว่า "จุลศักราชราชาได้ 1 พัน ร้อย 96 (จ.ศ.1196) พ.ศ. 2377 ปี กาบชะง้า เดือน 4 แรม 1 ค่ำ ยามแถใกล้เที่ยง เจ้าครูบุษดีเป็นผู้รจนา"  พระพุทธรูปอีกองค์หนึ่ง ได้สร้างขึ้น โดยพระมหาเถระองค์หนึ่ง ได้จารึกไว้ใต้ฐานพรุทธรูปว่า “พระพุทธเจ้าตนนี้ พระมหาเถระเจ้าตนหนึ่ง ชื่อสรภังคเจ้า หล่อในปีกดสัน เดือน 6 แรม 10 ค่ำ วันพุธ ไทเปลิกยี่ยามกองงาย (เวลา 07.30-09.00น.) บริบวรณ์ไว้ในวัดป่าญะพังเชียงของ และสิ้นน้ำทองทั้งมวลหกหมื่นหนึ่ง” และพระพุทธรูปทั้ง 3 องค์ ประดิษฐานไว้ในกุฏิหลวงพ่อเป็นโบราณวัตถุอันล้ำค่าคู่บ้านคู่เมือง ที่ชาวเชียงคานต้องบำรุงรักษาดูแลและคารวะ ทำพิธีสรงน้ำทุกปี เป็นเอกลักษณ์ของชาวเชียงคานสืบไป
      

                                                            
 
          พ.ศ. 2380 (จ.ศ. 1199) พระอนุพินาศและภรรยาได้สร้างโบสถ์วัดศรีคุณเมือง (วัดใหญ่) ตามที่จารึกไว้บนแผ่นศิลาจารึกแผ่นหินผนังหน้าโบสถ์วัดใหญ่ เป็นอักษรตัวธรรมภาษาลาว สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เป็นหลักฐานอ้างอิงประวัติศาสตร์เมืองเชียงคานว่า "จุลศักราชได้ 1199 ตัว ปีกัดไจ้ (ระกา) เดือน 4 เพ็ง เดือน 4 เพ็ง (15 ค่ำ) วันพุธ มือเต้าไจ้ ภายในและภายนอก ภายในมีพระราชครูบุ (ด) ดีแลอคันตวาสิทซูตน (ทุกคน) ภายนอกมีพระอนุพินาศกับทั้งภรรยา นางกวย บุตรธิดาพันธุวงษา ท้าวพร ยาแม่น ขุนหมื่นชมชื่นพร้อมโมทนาเลื่อมใสในคุณพระพุทธเจ้าจึงเลิกยกยอยังศาสนา จึงพร้อมกันสร้างพัทสีมาวิหารพระพุทธรูปไว้ในวัดศรีคูณเมือง มีเงิน 2 หมื่น 45 ตำลึง ปลายบาท 3 สลึง เฟื้อง จึงให้แล้ว บำรุงบวรดังคำมักปรารถนาซู่ประการ (ทุกประการ) นิพานปัจจโยโนตุฯ"

                               

โบสถ์หลังเก่าของวัดศรีคูณเมืองและภาพจิตกรรมฝาผนัง

 
          พ.ศ. 2410 พระยาศรีอรรคฮาด ได้สร้างวัดท่าคกขึ้นตามหลักศิลาจารึกติดผนังโบสถ์อยู่ 1 หลัก ได้จารึกไว้ว่า “พุทธศักราชได้ 2410 ตัว ปีเถาะ นพศก เดือน 3 ขึ้น 6 ค่ำ วันพฤหัสบดี พระยาศรีอัคฮาตกับทั้งภรรยา บุตรพันธุวงษา มีใจศรัทธาพร้อมกับมาขอดพุทธสีมาไว้กับศาสนาพระพุทธเจ้าตามต่อเท้า 5 พัน พระนิพพานก็ข้าเทิน (เทอญ)”

วัดท่าคกในปัจจุบัน

          พ.ศ. 2417 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 พวกจีนฮ่อได้รุกรานเข้ามาตีทุ่งเชียงคำตีได้เมืองเวียงจันทน์ กำลังส่วนหนึ่งของพวกฮ่อ ซึ่งมีฟาลองกอเป็นหัวหน้า ได้คุมกำลังพลประมาณ 200 คน ยกมาตีเมืองเชียงคานใหม่ สาธุเฒ่า เจ้าเมืองเชียงคานซึ่งมาเป็นเจ้าเมืองใหม่เมื่อมีศึกมาประชิดเมือง จะเข้าตีเอาเมืองท่าจัน ท้าวทองดีนำกำลังไปขัดตาทัพที่ห้วยเป้าหลั่ว (บริเวณแก่งคุดคู้ปัจจุบัน) แต่เจ้าเมืองไม่ให้ ท้าวทองดีจึงอพยพลูกหลานขึ้นไปตามลำน้ำโขง ไปพักอยู่ที่เมืองปัญูจนครบริเวณปากน้ำเหือง พวกจีนฮ่อเลยเข้าเมืองท่านาจันได้ จับเอาสาธุเฒ่า เจ้าเมืองเชียงคานภรรยาและบุตรไป และจับเอาท้าวอินทิสาน (ท้าวเชียงอิน) ซึ่งเป็นบุคคลสำคัญที่สุดไปฆ่าที่วัดท่าแขก (บ้านน้อย อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย) แต่ฆ่าอย่างไรก็ไม่ตาย พวกจีนฮ่อจึงมัดติดกับต้นไม้เอาไว้ พอดีท้าวทองดีพรรคพวกเมืองเชียงคานกับเมืองปัญจนครมาช่วย (จึงร่วมกับท้าวอินทิสานยกกำลังไปปราบพวกจีนฮ่อได้ส่วนสาธุเฒ่าและลูกเมียถูกฆ่าตายหมด)

                                                         
 

          ชาวบ้านชาวเมืองเชียงคานเห็นว่าท้าวทองดีมีความสามารถมาก จึงยกให้เป็นเจ้าเมืองครองบ้านท่านาจัน (เมืองเชียงคานใหม่) ตั้งชื่อว่าท้าวศรีอรรคฮาต ท้าวศรีอรรคจันทร์ ท้าวศรีอรรคพรหม ท้าวพรหมจักร ช่วยปกครองบ้านเมืองเชียงคานเป็นสุขตลอดมาและก็เป็นต้นตระกูลใหญ่ของเมืองเชียงคาน ซึ่งต่อมาได้นำไปใช้เป็นนามสกุล ซึ่งต้นตระกูลก็มาจากเลือดเนื้อเชื้อไขเดียวกัน ปัจจุบันได้ขยายวงศ์ตระกูลออกไปมาจนลูกหลาน เหลน โหลน ไม่รู้ว่าเป็นญาติพี่น้องกันตั้งแต่ปางก่อน เมื่อพระยาศรีอรรคฮาตเป็นเจ้าเมืองเชียงคานนั้น ได้เก็บส่วย คือ ทรัพย์สินเงินทองจากราษฎร ที่อยู่ในอาณาเขตการปกครองของเจ้าเมืองท่านาจัน ส่งพระเจ้าแผ่นดิน ทุก ๆ ปี คือ พอถึงเดือน 5 ของทุกปี มีราษฎรนำดอกไม้เงิน ดอกไม้ทอง และอาหารต่าง ๆ เช่น ปลาร้า ส้มไข่ปลาบึก ปลาแห้ง ปลาเจ่า เครื่องราชบรรณาการต่าง ๆ ไปส่งส่วย และถือน้ำพิพัฒสัตยา (ดื่มน้ำ สาบาน) ต่อหน้าพระพักตร์พระเจ้าแผ่นดิน และถือเป็นประเพณีปฏิบัติต่อมา
          ในการเดินทางไปส่งส่วย ถือน้ำพิพัฒสัตยา ได้เดินทางขึ้นลำน้ำโขง เข้าบริเวณเมืองปากเหืองขึ้นตามลำน้ำปากเหือง ผ่านเมืองแก่นแก้ว ปากคาน (ใกล้อำเภอท่าลี่ในปัจจุบัน) จนถึงเมืองด่านซ้าย อำเภอนครไทย ท่าอิน ท่าเสา มณฑลพิษณุโลก ไปลงเรือแพที่แม่น้ำน่าน ล่องไปที่ปากน้ำโพ (จังหวัดนครสวรรค์) เข้าสู่แม่น้ำเจ้าพระยาลงสู่บางกอก (กรุงเทพฯ) เข้าเฝ้าพระเจ้าแผ่นดินในพระบรมมหาราชวัง ถวายเครื่องราชบรรณาการและดื่มน้ำพิพัฒสัตยาต่อหน้าพระพักตร์พระเจ้าแผ่นดิน แล้วก็เดินทางกลับตามเส้นทางเดิม
          พ.ศ.2436 (ร.ศ.112) ตามสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศสฉบับลงวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ.2436 ประเทศสยามต้องสละดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงทั้งหมดให้แก่ประเทศฝรั้งเศส พวกราษฎรชาวเมืองเชียงคานจึงพากันละทิ้งบ้านเรือนตลอดจนถิ่นที่ทำกิน ด้วยใจรักในอิสรภาพ จึงอพยพไปตั้งหลักฐานเมืองใหม่อยู่ที่บ้านท่านาจันฝั่งขวาแม่น้ำโขงโดยสิ้นเชิง พร้อมทั้งได้นำชื่อเมืองเดิมมาเรียกใหม่ว่า เมืองเชียงคาน ส่วนเมืองเก่าก็ปล่อยให้รกร้างว่างเปล่าไป และดินแดนฝั่งขวาของแม่น้ำโขง ตรงข้ามเมืองหลวงพระบางใต้ลำน้ำตาม ฝรั่งเศสได้ยึดเอาไว้อีก พร้อมกับเมืองจำปาศักดิ์และเมืองมะโนไพร
          พ.ศ. 2442 (ร.ศ.118) เมืองเชียงคานได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าเมืองเก็บส่วยอากรได้ จนสมัยพระยาศรีอรรคฮาต ทองดี (ต้นตระกูล ศรีประเสริฐ) เป็นเจ้าเมืองคนสุดท้ายที่เก็บส่วยอากรได้เองตลอดเวลา ดังหลักฐานปรากฎตอนหนึ่งในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 16 ฉบับลงวันที่ 28 มกราคม ร.ศ.118 ว่า "วันที่ 21 มกราคม ร.ศ.118 พระราชทานช้างเผือกชั้น 3 นิภาภรณ์แก่พระยาศรีอรรคฮาต (ทองดี) ผู้ว่าราชการเมืองเชียงคาน ซึ่งได้เข้าทูลละอองะลีพระบาท เมื่อ ร.ศ.118"
          เพื่อความร่มเย็นผาสุกของชาวเมืองเชียงคาน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 ได้พระราชทานเมล็ดไม้สักให้นำไปปลูกที่เมืองเชียงคาน บริเวณสถานที่ราชการและภูหงส์ บริเวณวัดท่าคก และได้ให้ท้าวศรีพรหมบุตรนำไปปลูกที่บริเวณป่าสัก ถนนศรีเชียงคาน บริเวณเนินข้างบน ซอย 8 ซึ่งเป็นที่พักของท้าวท่านและปลูกที่โฮงของพระยาศรีอรรคฮาต บริเวณโรงเรียนเชียงคานปทุมมาสงเคราะห์ ซึ่งพระมหาทองหนัก ปทุมมาเป็นผู้ริเริ่มสร้างโรงเรียน ดังนั้นไม้สักที่ปลูกที่เมืองเชียงคานจึงเป็นไม้สักพระราชทานคู่เมืองมาก่อน
          ต่อมาพระยาศรีอรรคฮาต ได้สร้างวัดโพนชัย สร้างอุโมงค์ครอบพระพุทธบาทภูควายเงิน บ้านผาแบ่นและสร้างโอง (บ้านพักเจ้าเมือง) ขึ้นที่บริเวณเนินสูงหนึ่งหลัง (ปัจจุบันเป็นโรงเรียนเชียงคานปทุมมาสงเคราะห์) และได้ย้ายที่ว่าราชการเมืองเชียงคาน (ศาลเมือง) จากวัดธาตุไปว่าราชการที่วัดโพนชัยแทน และได้สร้างบันไดจากวัดโพนชัยลงสู่แม่น้ำโขง และสร้างวัดท่าคก จะสังเกตได้ว่าอุโบสถวัดธาตุและวัดท่าคกหันไปทางทิศตะวันตก ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าวัดธาตุนั้นเป็นสถานที่ว่าราชการเป็นศาลเมืองมาก่อน ต่อมาได้ย้ายสถานที่ว่าการ ทำให้บริเวณวัดธาตุรกร้างว่างเปล่า จึงเปลี่ยนมาเป็นวัด ปัจุบันคือ วัดมหาธาตุ
วัดมหาธาตุในปัจจุบัน
วัดโพนชัย อ.เชียงคานในปัจจุบัน
          เมืองใหม่เชียงคานสมัยนั้น มีอาณาเขตดังนี้ ทิศเหนือถึงบ้านผาต้อหน่อคำสามหมื่น เมืองเฟือง ทิศตะวันออกถึงบ้านม่วง อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย ทิศตะวันตกถึงบ้านน้ำพูน (เมืองอุทัย) เมืองปากลาย จังหวัดล้านช้าง (ทางฝั่งขวาของแม่น้ำโขง)
          ตำแหน่งของข้าราชการที่ปฏิบัติราชการอยู่ที่เมืองเชียงคานสมัยนั้นเรียกดังนี้ เจ้าเมือง อุปฮาด ราชบุตร เมืองขวา เมืองซ้าย เมืองแสน เมืองจัน เมืองกลาง เมืองโฮม เมืองฮาม อินทิมาน (หมอยา) หลวงราชา หลวงพิพิธ หลวงพรหม เจ้าหมื่น เมืองแมน พระยาปากดี 
          ครั้งเมื่อเกิดศึกฮ่อ ถัดมาได้อีกหนึ่งปี เจ้าเมืองและราษฎรเห็นว่าบริเวณเมืองปากเหืองไม่เหมาะสม ภูมิปะเทศกอปรด้วยป่าดง ภูเขา ราษฎรประกอบอาชีพไม่สะดวก จึงย้ายตัวเมืองมาตั้งที่บ้านท่านาจัน (อำเภอเชียงคานปัจจุบัน) เมื่อย้ายเมืองมาครั้งแรกที่ว่าการตั้งอยู่บริเวณวัดธาตุ เรียกว่า "ศาลเมืองเชียงคาน"  ซึ่งมีบัลลังก์ของเจ้าเมืองประดับแก้ว ปิดทองและสลักสวยงาม ปัจจุบันจัดเก็บไว้ในอุโบสถวัดธาตุ  ต่อมาได้ย้ายไปอยู่วัดโพนชัยดังที่กล่าวมาตอนต้น
          เมื่อทางการได้ยุบฐานะเมืองเชียงคานเป็นอำเภอในปี พ.ศ. 2454 จนถึงปี พ.ศ. 2484 อำเภอเชียงคานได้ย้ายที่ว่าการอำเภอไปอยู่ปากเหือง ซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองปัญจนคร ซึ่งเคยเป็นอาณาเขตของเมืองหลวงพระบางมาก่อน ในการทำสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศสฉบับลงวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2449 ประเทศสยามได้เมืองด่านซ้ายและเมืองตราดคืนจากฝรั่งเศส แต่ต้องเสียดินแดนเขตเมืองบ่อแตน เมืองแก่นท้าว ฝั่งซ้ายแม่น้ำเหืองตอนเหนือลำน้ำให้แก่ฝรั่งเศส มีเรื่องเล่าว่าในสมัยนั้นข้าราชการของฝรั้งเศสตำแหน่งกอมมิแซร์และนายทหารยศร้อยตรีหนึ่งนาย ร้อยโทหนึ่งนาย ได้ขี่ม้านำทหารพื้นเมืองประมาณ 20 คน ถอยร่นจากเมืองด่านซ้ายไปเวียงจัทน์ ได้ขุดเอาศิลาจารึกที่ฝังไว้ใต้พระธาตุศรีสองรักด้านเหนือไปด้วยหนึ่งหลัก หลักศิลาจารึกดังกล่าวจารึกไว้สองด้าน ด้านหนึ่งจารึกด้วยอักษรขอมเป็นจารึกของฝ่ายไทย ส่วนอีกด้านหนึ่งจารึกด้วยตัวอักษรธรรมเป็นของฝ่ายล้านช้าง หลักศิลาจารึกมีความสูง 97 เซนติเมตร กว้าง 78 เซนติเมตร ปัจจุบันศิลาจารึกหลักนี้เก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์ "หอพระแก้ว" นครเวียงจันทน์ ส่วนศิลาจารึกแผ่นที่ฝังไว้ที่องค์พระธาตุศรีสองรักในปัจจุบันนี้เป็นศิลาจารึกจำลองขึ้นมาแทนแผ่นศิลาของเดิม มีความสูง 1.85 เมตร กว้าง 90 เซนติเมตร เนื่องจากเมื่อฝรั่งเศสได้เอาแผ่นศิลาตัวจริงไป ได้มีการทำขึ้นมาทดแทนของเดิมโดยนำเนื้อหามาจากตำนานที่ปรากฎในหนังสือโบราณพื้นเมืองของเก่ามาจารึกไว้แทน บางตำรากล่าวว่า เมื่อฝรั่งเศสนำศิลาจารึกของพระธาตุศรีสองรักใส่เรือล่องไปตามลำน้ำเหืองออกสู่แม่น้ำโขงไปเมืองเวียงจันทน์ พอเรือมาถึงแก่งฟ้า (ปัจจุบันคือ หาดเบี้ย อำเภอปากชม จังหวัดเลย) และแก่งจัน เรือก็ล่มจมหาย ผู้โดยสารที่มากับเรือเสียชีวิตหมดทุกคน
          พ.ศ. 2449 ฝรั่งเศสได้เช่าที่ดินที่วัดท่าคกตามสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ฉบับลงวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2449 ว่าทางฝรั่งเศสจะขอเช่าที่ดินเท่าผืนหนัง มีกำหนด 50 ปี เจ้าเมืองจึงยินยอมให้เช่า แต่เมื่อถึงเวลาทำรังวัดที่ดินตามสัญญาเช่า ฝรั่งเศสได้ตัดแผ่นหนังเป็นริ้วเส้นยาว ๆ วัดไปได้พื้นที่กว้างยาวมาก บริเวณท่าคกและส่วนราชการทั้งหมดตั้งแต่โรงเรียนบ้านเชียงคาน "วิจิตรวิทยา" ถึงบริเวณโรงพยาบาลเชียงคานจนถึงสถานีประมง สำหรับสร้างท่าเรือและที่พักสินค้า อย่างไรก็ตามฝรั่งเศสก็ไม่ได้รับประโยชน์จากสถานที่เช่าที่ดินนี้มากนักเพราะถูกชาวเชียงคานที่ไม่พอใจคอยรบกวนและทำลายสินค้าอยู่เสมอ
          ภายหลังได้มีการปกครองแบบเทศาภิบาล ในปี พ.ศ. 2450  ผู้ปกครองเมืองเชียงคานในขณะนั้นจึงได้ยุบบริเวณเมืองปากเหือง เพื่อจัดตั้งเป็นจังหวัดเลย อำเภอเชียงคานในขณะนั้นยังคงมีฐานะเป็นเมืองน่าอยู่และยังคงเป็นเอกเทศ โดยไม่ทราบว่าจะไปอยู่ในความปกครองของเมืองใดในประเทศไทย เป็นเวลา 3 ปีกว่า เรียกกันว่า "เอกราชน้อยเชียงคาน" 
          พ.ศ. 2452 ได้มีทหารมาจากเมืองสานะคาม เข้ายึดวัดโพนชัยซึ่งเป็นที่ทำการเมืองแต่เดิมหมายยึดเมืองเชียงคาน โดยอ้างว่าที่ทำการเมืองแต่เดิมอยู่ในเขตเมืองปากเหืองที่อยู่ในความปกครองของฝรั่งเศส แต่เจ้าเมืองเชียงคานขณะนั้นคือ พระยาศรีอรรคฮาด (ทองดี) รู้จุดประสงค์ จึงได้สั่งเป็นความลับกับท้าวราชบุตร (อุปฮาด) ไว้ว่า ถ้าฝรั่งเศสถามหาเจ้าเมือง ให้บอกว่าเจ้าเมืองไม่อยู่ และถ้าฝ่ายฝรั่งเศสจะเจรจาความเมืองในเรื่องใด ก็ให้ตอบไปตามที่ได้ประชุมปรึกษาหารือกันไว้แล้ว หลังจากสั่งความไว้แล้วเจ้าเมืองก็ลงเรือนไป และใช้ม้าเร็วแจ้งการมาของฝรั่งเศสให้ทางจังหวัดเลยได้ทราบล่วงหน้าไว้ก่อน ครั้นฝรั่งเศสไปพบกับอุปฮาด ได้ขอพบเจ้าเมืองพอทราบว่าเจ้าเมืองไม่อยู่ก็แจ้งว่ารัฐบาลสยามได้ยกดินแดนเมืองเชียงคานและหัวเมืองอื่น ๆ ที่อยู่ในลุ่มแม่น้ำเลย บ้านธาตุ บ้านนาอ้อ บ้านท่ามะนาว บ้านก้างปลา เมืองเลย บ้านแฮ่ วังสะพุง เซไลทรายขาว หนองคัน ลุ่มแม่น้ำเหืองและลุ่มน้ำอื่น ๆ ที่ไหลลงสู่แม่น้ำโขงทั้งหมดให้แก่ฝรั่งเศสในอินโดจีนแล้ว ท้าวราชบุตรอุปฮาดจึงตอบไปว่า เรื่องนี้ไม่ได้รับคำสั่งจากบางกอก แต่เมื่อฝรั่งเศสมีความประสงค์เช่นนี้ก็ไม่เป็นการยากแต่อย่างใด เพราะเมืองเชียงคานอยู่ใกล้และอัตคัตข้าว ทั้งผู้คนก็น้อย ถ้าจะให้ดีควรไปเอาเมืองเลย นาอ้อ นาโคก เสียก่อน เพราะเป็นบ้านเป็นเมืองใหญ่ มีข้าวปลาอาหารบริบูรณ์ ผู้คนก็มากจะดีกว่า ส่วนเมืองเชียงคานนั้นฝรั่งเศสจะเอาเมื่อใดก็ได้ เมื่อฝรั่งเศสได้ฟังดังนั้นก็มีความเห็นคล้อยตามแล้วก็ลากลับ หลังจากนั้นไม่นานทหารฝรั่งเศสพร้อมด้วยทหารญวน 8-9 นาย รวมทั้งพวกข่าและชาวบ้านฝั่งซ้ายที่ทำหน้าที่เป็นกุลีแบกหาม นำทางโดยชาวบ้านที่รู้ทางดี ตรงไปยังบ้านนาอ้อและไปค้างคืนอยู่หนึ่งคืน  เมื่อฝรั่งเศสทราบว่ามีผู้ต่อต้านและทางเมืองเลยซึ่งมีทหารและตำรวจซึ่งทางการส่งตัวไปรักษาความปลอดภัยเตรียมจะต่อสู้ก็รีบถอยกลับ ฝ่ายไทยไล่จับแต่ไม่ทัน คงจับได้เฉพาะผู้ติดตาม 2-3 คน เอามาจองจำกับขื่อคาที่เมืองเลย (แต่ภายหลังก็ปล่อยตัวไป) ส่วนที่เหลือหลบหนีไปเวียงจันทน์  
           ก่อนหน้านี้เมืองเชียงคานได้ขึ้นสังกัดอยู่ในความปกครองของแขวงเมืองพิชัย มณฑลพิษณุโลก ดังกล่าวข้างต้น จนถึงปี พ.ศ. 2454 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้ยกเลิกประเทศราช ให้หัวเมืองขึ้นไม่ต้องถวายดอกไม้ทองเหมือนแต่ก่อน มีการปกครองแบบเทศาภิบาล จึงได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยให้โอนท้องที่อำเภอเชียงคานจากแขวงเมืองพิชัย มณฑลพิษณุโลก ไปสังกัดแขวงเมืองเลย มณฑลอุดร เพื่อความสะดวกในการปกครอง เพราะเมืองเชียงคานอยู่ห่างจากแขวงเมืองเลยเพียง 48 กิโลเมตรเท่านั้น การติดต่อราชการจะสะดวกกว่า   ต่อมาในปี พ.ศ. 2459 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนคำว่าเมืองเป็น จังหวัด แทน ตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองจึงกลายเป็น ผู้ว่าราชการจังหวัด และศาลาว่าการเมือง ก็เปลี่ยนมาเป็น ศาลากลางจังหวัด  จึงได้มีการเปลี่ยนสถานะจากแขวงเมืองเลยเป็นจังหวัดเลย และเปลี่ยนสถานะเมืองเชียงคานเป็นอำเภอเชียงคานเช่นเดียวกับหัวเมืองในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีพระยาศรีอรรคฮาด (ทองดี) ดำรงตำแหน่งนายอำเภอเชียงคานเป็นคนแรก อยู่ประมาณ 2 ปี พระยาศรีอรรคฮาด (ทองดี) ก็ลาออกรับพระราชทานบำนาญจนถึงแก่อนิจกรรม
เจดีย์บรรอัฐิของพระยาศรีอรรคฮาด (ทองดี) ที่วัดศรีคูณเมือง อ.เชียงคาน
          พ.ศ. 2483 ได้มีการวางกำลังเพื่อทำสงครามกับฝรั่งเศสในคราวเกิดกรณีพิพาทกับอินโดจีน และฝรั่งเสสได้กลับมาตั้งเมืองเชียงคานเป็นเมืองขึ้นใหม่ด้วยความจำเป็น แต่ฝรั่งเศสไม่เรียกชื่อเมืองที่ฟื้นฟู้ขึ้นใหม่นี้ตามชื่อเดิม แต่ได้นำชื่อหมู่บ้านที่พระเจ้าสุวรรณบัลลังก์ได้ขนานนามจากบ้านตากแดดเป็นบ้านชนะคามซึ่งมีความหมายดีมาตั้งชื่อเมืองใหม่ และคำว่าชนะคามนั้น เรียกตามสำเนียงฝรั่งเศสว่า "สานะคาม"
          ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2489 มีทหารญวน ลาว และราษฎรชายหญิงของหลวงพระบางและเวียงจันทน์ จำนวนประมาณ 600 คน ได้อพยพหนีภัยฝรั่งเศสเข้ามายังอำเภอเชียงคาน เพื่อขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารในประเทศไทย และได้ตั้งบ้านเรือนอยู่อาศัยที่อำเภอเชียงคานตราบเท่าทุกวันนี้
          ปัจจุบันอำเภอเชียงคานได้ชื่อว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่มีชื่อเสียง เพราะชาวเมืองเชียงคานได้ช่วยกันอนุรักษ์อาคารบ้านเรือน ตลอดจนศิลปวัมนธรรมพื้นบ้านไว้ได้อย่างไม่เสื่อมคลาย
           ดูเพิ่มเติม

          เมืองเชียงคาน   

          ไหว้พระ ๙ วัด ณ เชียงคาน                                                                                                                                                                     

                                                                                                                                                                          เรียบเรียงโดย : นายิกา เดิดขุนทด 
     แหล่งอ้างอิง

 วัดศรีคุณเมือง.  (ม.ป.ท.).  ประวัติเมืองเชียงคาน.  ใน ประวัติวัดศรีคุณเมือง ตำบลเชียงคาน อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย.  เลย: วัดศรีคุณเมือง.  (เอกสารไม่ได้ตีพิมพ์).  

 



ลิขสิทธิ์ © 2012 สงวนลิขสิทธิ์ ห้ามทำซ้ำทั้งหมดหรือบางส่วน ไม่ว่าในรูปแบบใดโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ดูแลเว็บไซต์เป็นลายลักษณ์อักษร
ติดต่อผู้ดูแลเว็บไซต์ : somphot@kku.ac.th ผู้พัฒนาโปรแกรม
หมวดหมู่อื่น ๆ
document นิยายปรัมปราและนิทานเกี่ยวกับไหม
document คำขวัญ ประวัติอำเภอชนบท ศาลเจ้าพ่อมเหศักดิ์
document หมู่บ้านงูจงอาง : ภูมิปัญญาของบ้านโคกสง่า
document อำเภอเมืองขอนแก่น
document ข้อมูลจังหวัดขอนแก่น
document ข้อมูลทั่วไปอำเภอหนองสองห้อง
document แผนที่จังหวัดขอนแก่น
document เขื่อนอุบลรัตน์
document บางแสน 2 ขอนแก่น
document จากบ้านเกิ้งมาเป็นอำเภอบ้านไผ่ในปัจจุบัน
document รายงานการวิจัยเรื่องผลการบรรเทาและแก้ปัญหาผู้ยากลำบากของโครงการเมนู 5 กรณีศึกษา : มูลนิธิองค์กรชาวบ้านเพื่อการพัฒนาภาคอีสานขอนแก่นเพื่อการพัฒนา
document รายงานการศึกษาเรื่องผลของการแก้ปัญหาเร่งด่วนกลุ่มผู้ยากลำบาก : กรณีศึกษาเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอดส์ จังหวัดขอนแก่น
document ปราชญ์ชาวบ้าน จังหวัดขอนแก่น
document การจัดการสารสนเทศภูมิปัญญาชาวบ้านของเครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านภาคอีสาน
document Lessons from the sufficiency economy applications of Prach Chao Ban: Case study of Khon Kaen
document แนวทางการพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดและศักยภาพการท่องเที่ยวเพื่อสัมผัสวัฒนธรรมชนบท(โฮ มสเตย์)บ้านซะซอม ตำบลนาโพธิ์กลาง อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี
document หมู่บ้านเต่า อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น
document ดอกลำดวน
document ผ้าไหมบ้านเขว้า
document ปราสาทวัดสระกำแพงน้อย
document ข้อมูลทั่วไปจังหวัดนครพนม
document พุทธสถานภูปอ
document ปราสาทสระกำแพงใหญ่
document เขื่อนลำปาว
document อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท
document พุทธมณฑลอีสาน กับฐานอารยธรรม ผ้าใหมล้ำเลอค่า ตักศิลานคร
document พระธาตุพนมบรมเจดีย์
document ไหว้พระ ธาตุประจำวันเกิด (พระธาตุประสิทธิ์)
document ไหว้พระ ธาตุประจำวันเกิด (พระธาตศรีคูณ)
document วัดพระธาตุเรณู
document ปราสาทเขาพระวิหาร
document พระธาตุนาดูน
document พระธาตุยาคู (พระธาตุใหญ่)
document พระพุทธรูปยืนมงคลและพระพุทธมิ่งเมือง
document พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง
document วัดพุทธนิมิต (ภูค่าว)
document ไหว้พระ ธาตุประจำวันเกิด (พระธาตุมหาชัย)
document สวนสมเด็จศรีนคริทร์
document พิพิธภัณฑ์สิรินธร หรือ อุทยานโลกไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว
document หมู่บ้านหัตถกรรมบ้านหนองเขื่อนช้าง
document สวนกล้วยไม้หอมอุดรซันไฌน์
document พระธาตุเรืองรอง
document วนอุทยานโกสัมพี
document พระธาตุท่าอุเทน
document ไหว้พระ ธาตุประจำวันเกิด (พระธาตุนคร)
document อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร
document เขตห้ามล่าสัตว์ป่าดูนลำพัน
document วัดพระพุทธบาทบัวบาน
document บ้านนาจอก (บ้านลุงโฮ หรื บ้านท่านโฮจิมินห์)
document พระธาตุดอนแก้ว
document พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติมหาวีรวงศ์
document เสื่อกกบ้านแพง
document ข้อมูลทั่วไปจังหวัดสกลนคร
document "เมืองแห่งทะเลภูเขา สุดหนาวในสยาม ดอกไม้งามสามฤดู"
document วนอุทยานวังสามหมอ
document ด่านพรมแดนช่องสะงำ
document พระธาตุขามแก่น
document แหล่งโบราณคดีบ้านกุดคอเมยและบ้านกุดกวางสร้อย
document โนนวัดป่า
document เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง
document ปราสาทหินพนมวัน
document หมู่บ้านงูจงอาง
document วัดมหาธาตุ ยโสธร
document ถ้ำเอราวัณ
document เขื่่อนอุบลรัตน์
document อุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ
document ศูนย์วิจิตรแพรวาบ้านโพน
document อุทยานแห่งชาติภูกระดึง
document อนุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
document พระธาตุก่องข้าวน้อย
document อุทยานแห่งชาติภูเวียง
document อุทยานแห่งชาติภูผาม่าน
document อุทยานแห่งชาติภูเรือ
document ปราสาทเปือยน้อย
document ศาลาใหมไทย
document พระธาตุเชิงชุม สกลนคร
document อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย
document โฮงมูนมังเมืองขอนแก่น
document พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์
document วัดพระธาตุบังพวน
document พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย
document เมืองโบราณโนนเมือง
document พิพิธภัณฑ์อาจารย์มั่น ภูริทัตโต
document พุทธสถานภูสิงห์
document วัดโพธิ์ชัย
document พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติร้องเอ็ด
document พระธาตุนารายณ์เจงเวง
document พิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหิน
document ปรางค์กู่
document พิพิธภัณฑ์ พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร
document สวนสัตว์นครราชสีมา
document วัดบูรพากู่กาสิงห์
document อุทยานแห่งชาติภูพาน, สกลนคร
document แนะนำเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน
document พระธาตุภูเพ็ก
document กลุ่มทอผ้าบ้านหวายหลึม
document แหล่งโบราณคดีบ้านปราสาท
document สังเวชนียสถาน 4 ตำบล
document กู่พระโกนา
document อุทยานเขาใหญ่
document พระมหาเจดีย์ชัยมงคล
document ข้อมูลทั่วไปจังหวัดมุกดาหาร
document หอไตรวัดสระไตรนุรักษ์
document หมู่บ้านทำหมอนขิตบ้านศรีฐาน
document หอแก้วมุกดาหารเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก
document ภูถ้ำพระ
document อุทยานแห่งชาติภูผาเทิบ-มุกดาหาร
document พระธาตุศรีสองรัก
document วัดพระพุทธบาทยโสธร อ.มหาชนะชัย
document วัดสองคอน จ.มุกดาหาร
document อนุสาวรีย์พระยาภักดีชุมพล
document วัดทุ่งศรีเมือง
document โบสถ์คริสต์บ้านซ่งแย้
document แก่งกะเบา
document สวนหินผางาม
document ศูนย์วัฒนธรรมอีสานใต้
document ปรางค์กู่
document พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอุบลราชธานี
document วัดมโนภิรมย์
document วนอุทยานเขากระโดง
document อุทยานแห่งชาติตาดโตน
document อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง
document อุทยานแห่งชาติภูสระดอกบัว
document น้ำตกสำโรงเกียรติ
document ปราสาทเมืองต่ำ
document ด่านพรมแดนช่องเม็ก
document ตลาดสินค้าอินโดจีน จังหวัดมุกดาหาร
document อุทยานแห่งชาติภูแลนคา
document ถ้ำโพธิสัตว์
document พระเจ้าใหญ่วัดหงษ์
document อุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ
document มอหินขาว
document หมู่บ้านทอผ้าไหม
document อุทยานแห่งชาตินาแห้ว
document วัดหินหมากเป้ง
document อุทยานแห่งชาติผาแต้ม
document ปรางค์กู่สวนแตง
document หมู่บ้านทอผ้าไหมบ้านเขว้า
document เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว
document อุทยานแห่งชาติภูจอง-นายอย
document วัดบูรพาราม
document พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสุรินทร์
document แก่งหินงามสามพันโบก จ.อุบลราชธานี
document วัดภูทอก
document หมู่บ้านช้างบ้านตากลาง
document หมู่บ้านทอผ้าไหมบ้านท่าสว่าง
document หมู่บ้านหัตถกรรมเขวาสินรินทร์
document ตลาดท่าเสด็จ
document ปราสาทศรีขรภูมิ
document แหล่งโบราณคดีบ้านก้านเหลือง
document ปราสาทบ้านพลวง
document สะพานมิตรภาพไทย-ลาว
document เขื่อนสิรินธร
document วัดพระเหลาเทพนิมิตร
document อุทยานแห่งชาติภูสระบัว
document สวนเกษตรชิตสกนธ์
document หมู่บ้านหมอลำ บ้านปลาค้าว
document แหล่งเรียนรู้ชุมชนโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์เพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอนสาระ เศรษฐศาสตร์ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาชัยภูมิเขต 1
document Eco-tourism : การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
document กลยุทธ์การตลาดการท่องเที่ยวจังหวัดร้อยเอ็ด
document กลยุทธ์การตลาดการท่องเที่ยวชายแดน : กรณีศึกษาสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 2 จังหวัดมุกดาหาร
document การจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านปราสาท อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา
document การตลาดเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติภูกระดึง จังหวัดเลย
document การท่องเที่ยวกับกระแสวัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลง
document การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน : กรณีศึกษา หาดชบา ตำบลชบา อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
document การบริหารจัดการการท่องเที่ยวแบบชุมชนมีส่วนร่วม กรณีหมู่บ้านโคกโก่งอำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
document การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการท่องเที่ยว หมู่บ้านบุไทรโฮมสเตย์ อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา
document การเสริมบทบาทของ อบต. ในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว กรณีศึกษา อบต. บ้านเป็ดกับบึงหนองโคตร อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น
document การพัฒนาการจัดการสวนเกษตรสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร : กรณีศึกษา สวนยอ รอยัล ทรอปปิคส์
document การพัฒนาการท่องเที่ยวในเชิงบริบท
document การพัฒนาตลาดการท่องเที่ยวของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : กรณีศึกษาแหล่งท่องเที่ยวในอีสานใต้ บุรีรัมย์ นครราชสีมา สุรินทร์ ศรีสะเกษและอุบลราชธานี
document การพัฒนาตลาดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : กรณีศึกษาแหล่งท่องเที่ยวใน 5 จังหวัด คือ ขอนแก่น นครราชสีมา บุรีรัมย์ เลยและอุบลราชธานี
document การพัฒนาตลาดสินค้าของที่ระลึกเพื่อการท่องเที่ยวในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอน ล่าง
document การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเสริมทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวสำหรับผู้ทำงานในธุร กิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว
document การพัฒนาแบบเรียนและคู่มือครูรายวิชา ส071 ท้องถิ่นของเรา 1 เรื่องสภาพแวดล้อมทางกายภาพของภูเวียงสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น
document การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ อำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น
document การศึกษาธุรกิจการบริการอาหารเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในพื้นที่ภาคตะวั นออกเฉียงเหนือตอนล่าง
document การศึกษาศักยภาพทรัพยากรการท่องเที่ยวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
document การศึกษาเพื่อกำหนดแผนปรับปรุงสิ่งแวดล้อมของพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว สถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าลำปาว (สวนสะออน) และหาดดอกเกด (เขื่อนลำปาว) จังหวัดกาฬสินธุ์
document ข่าวเกี่ยวมหาวิทยาลัยขอนแก่นในหนังสือพิมพ์
document การพัฒนาตลาดสินค้าของที่ระลึกเพื่อการท่องเที่ยวในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอน ล่าง
document การพัฒนาแบบเรียนและคู่มือครูรายวิชา ส071 ท้องถิ่นของเรา 1 เรื่องสภาพแวดล้อมทางกายภาพของภูเวียงสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น
document การศึกษารูปแบบของแหล่งที่พักแรมที่สนับสนุนการท่องเที่ยวในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนื อตอนล่าง
document ความรู้ทัศนคติและการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวในท้องถิ่น : กรณีศึกษา หาดบางแสน 2 อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น
document ทบทวนแผนพัฒนาการท่องเที่ยวภาคอีสาน
document ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อแรงจูงใจที่ทำให้นักท่องเที่ยวเดินทางไปท่องเที่ยวบริเวณพรมแด นด่านตรวจคนเข้าเมืองมุกดาหาร
document ปัจจัยสำหรับการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในวนอุทยาน (สวนหิน) ของประเทศไทย : กรณีศึกษา วนอุทยานผางาม จังหวัดเลย
document ปัจจัยที่มีผลต่อการท่องเที่ยวของชาวต่างชาติในจังหวัดอุดรธานี
document พฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงพุทธของนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวในจังหวัดสกลนคร
document รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์การพัฒนาการท่องเที่ยวแหล่งทรัพยากรทางวัฒนธรรมตามเส้นทาง ลำแม่น้ำมูล
document รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์รูปแบบของที่ระลึกทึ่อาจพัฒนาขึ้นเพื่อการท่องเที่ยวตามลำ แม่น้ำมูล
document รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ศักยภาพการท่องเที่ยวของแหล่งที่อยู่อาศัยสัตว์ป่าชายน้ำต ามลำแม่น้ำมูล
document รายงานการวิจัยเรื่องการพัฒนาตลาดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : กรณีศึกษาแหล่งท่องเที่ยวใน 5 จังหวัดคือ ขอนแก่น นครราชสีมา บุรีรัมย์ เลยและอุบลราชธานี
document รายงานการวิจัยเรื่องการพัฒนาตลาดการท่องเที่ยวของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : กรณีศึกษาแหล่งท่องเที่ยวในอีสานใต้ คือ บุรีรัมย์ นครราชสีมา สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
document รายงานการวิจัยเรื่องการพัฒนาศักยภาพในการนำเที่ยวของชุมชนโดยรอบ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พื้นที่โคกภูตากา อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น
document รายงานการวิจัยเรื่องการศึกษารูปแบบของแหล่งที่พักแรมที่สนับสนุนการท่องเที่ยวในเขต ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน : กรณีศึกษาจังหวัดหนองคาย
document รายงานการวิจัยเรื่องการศึกษารูปแบบของแหล่งที่พักแรมที่สนับสนุนการท่องเที่ยวในเขต ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
document การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจในชุมชนลุ่มแม่น้ำมูลตั้งแต่ พ.ศ. 2475 ถึงปัจจุบัน
document กบฎผู้มีบุญโสภาแห่งบ้านสาวะถี จังหวัดขอนแก่น
document ประวัติตำบลเขื่อนอุบลรัตน์
document เขื่อนอุบลรัตน์
document สะพานหินธรรมชาติ อำเภออุบลรัตน์
document อุทยานแห่งชาติน้ำพอง-ภูเม็ง อำเภออุบลรัตน์
document หาดจอมทอง หินลอยน้ำ อำเภออุบลรัตน์
document หาดบางแสน 2
document ประวัติอำเภอเขื่อนอุบลรัตน์
document ศาลเจ้าจอมนรินทร์
document สวนเต่าเพ็ก
document หมู่บ้านงูจงอาง
document พระนรินทร์สงครามหรือพระยานรินทร์
document ศาลเจ้าจอมนรินทร์
document เส้นทางท่องเที่ยวถวายเทียนพรรษาภาคอีสาน
document การศึกษาบทบาทการละเล่นพื้นบ้านของเด็กจังหวัดขอนแก่น
document ตัวชี้วัดที่มีปัญหามากของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำแนกตามตัวชี้วัดระดับจังหวัด ปี 2552
document รายงานการวิจัยการจัดการและการพัฒนาการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ : กรณีศึกษาการวางแผนพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวระหว่างภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สปป.ลาว กัมพูชาและเวียดนาม
document สรุปประสบการณ์การจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศภาคอีสาน
document การจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านปราสาท อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา
document การบริหารจัดการการท่องเที่ยวแบบชุมชนมีส่วนร่วม กรณีหมู่บ้านโคกโก่ง อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
document การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจในชุมชนลุ่มแม่น้ำมูลตั้งแต่ พ.ศ. 2475 ถึงปัจจุบัน
document ความรู้ทัศนคติและการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวในท้องถิ่น : กรณีศึกษา หาดบางแสน 2 อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น
document รายงานการประชุมประชาพิจารณ์โครงการวิจัยเพื่อเสนอแนะการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมของแหล่ งท่องเที่ยวในเขตจังหวัดขอนแก่นและจังหวัดใกล้เคียง : เส้นทางที่ 2 พระธาตุขามแก่น กู่ประภาชัย หมู่บ้านงูจงอาง น้ำตกบ๋าหลวง วัดโพธาราม อุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ เขื่อนอุบลรัตน์ วัดพระพุทธบาทภูพานคำ บ้านท่าเรือ บางแสน 2 อุทยานแห่งชาติน้ำพอง
document รายงานฉบับสมบูรณ์เรื่องการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
document รายงานที่ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัย ประเภทอุดหนุนทั่วไป มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปีงบประมาณ 2545 โครงการวิจัยเรื่องการออกแบบพัฒนาสื่อเพื่อการส่งเสริมการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์ก ารท่องเที่ยวกรณีศึกษาในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
document รายงานวิจัยชุดโครงการวิจัยการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เรื่องการเพิ่มศักยภาพในการพัฒนารูปแบบการผลิตสินค้าประเภทของที่ระลึกเพื่อการท่องเ ที่ยวในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
document รายงานการวิจัยศักยภาพของชุมชนอีสาน : กรณีศึกษาบ้านดอนแคน ตำบลทุ่งกุลา อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด
document อำเภอหนองสองห้อง จ.ขอนแก่น
document อำเภอภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่น
document สถานที่ท่องเที่ยว อ.ชนบท
document อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น
document จังหวัดบุรีรัมย์ [BURIRAM]
document จังหวัดกาฬสินธุ์ Kalasin
document จังหวัดเลย(loei)
document จังหวัดอุบลราชธานี (Ubonratchathani Province)
document การเปลี่ยนแปลงอาชีพของชาวอีสานในชุมชนชานเมืองหลักตั้งแต่ตั้งชุมชนถึงปัจจุบัน
document พัฒนาการของการใช้ที่ดินชุมชนชานเมืองหลักภาคอีสาน
document รายงานการวิจัยเรื่องการเปลี่ยนแปลงและรูปแบบการพัฒนาหมู่บ้านในเขตป่าเตรียมการสงวน : ศึกษากรณีบ้านโคกสง่า อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ
document รายงานการวิจัยเรื่องพัฒนาการของการใช้ที่ดินและการเปลี่ยนแปลงอาชีพของชาวอีสานในชุ มชนเมืองหลัก : กรณีบ้านโนนขมิ้น จังหวัดอุดรธานี
document รายงานการวิจัยเรื่ององค์กรชุมชน : 6 กรณีศึกษาในภาคอีสาน
document ศักยภาพของชุมชนและองค์กรชุมชนในการพัฒนาตนเอง: กรณีศึกษาเทศบาลตำบลไทรโยง-ไชยวาล
document สถานภาพการศึกษาประวัติศาสตร์และโบราณคดีอีสานในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา
document เทคโนโลยีการถลุงเหล็กและการผลิตเกลือของอีสานสมัยโบราณ
document พลวัตชุมชนชายแดนไทย-ลาวในกระแสโลกาภิวัตน์
document สถานภาพการให้ความร่วมมือทางวิชาการของมหาวิทยาลัยขอนแก่นแก่ประเทศเพื่อนบ้าน พ.ศ. 2535-2537
document สิทธิเด็กในครอบครัวจากมุมมองการปฏิบัติต่อเด็กของครอบครัวชนบท
document การวางแผนพัฒนาระดับภูมิภาค : ทัศนะจากญี่ปุ่น การวางแผนพัฒนาระดับภูมิภาค : ทัศนะจากญี่ปุ่น
document การสร้างอัตลักษณ์ของชาวชุมชนแออัดในจังหวัดขอนแก่น
document รายงานการวิจัยเรื่องประวัติศาสตร์เศรษฐกิจลุ่มแม่น้ำชีระหว่าง พ.ศ. 2475-2527 : กรณีสามหมู่บ้านในจังหวัดร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ และขอนแก่น
document รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์การพัฒนาการท่องเที่ยวแหล่งทรัพยากรทางวัฒนธรรมตามเส้นทาง ลำแม่น้ำมูล
document มูนมังขอนแก่น
document กู่แก้ว อ.เมือง จ.ขอนแก่น
document การพัฒนาเกมการเล่นพื้นเมืองของไทย "งูกินหาง" เพื่อการแข่งขัน
document การพัฒนาเกมการเล่นพื้นเมืองของไทย "เตย" เพื่อการแข่งขัน
document หกเหลี่ยมเศรษฐกิจ
document อำเภอบ้านแฮด
document ศาลเจ้าปู่ครูเย็น ริมบึงแก่นนคร จ.ขอนแก่น
document ศาลเจ้าแม่สองนาง ริมบึงแก่นนคร จ.ขอนแก่น
document อำเภอหนองนาคำ
document อำเภอโคกโพธิ์ไชย
document อำเภอโนนศิลา
document ประวัติความเป็นมาของอำเภอภูเวียง
document พระมหาธาตุแก่นนคร วัดหนองแวง พระอารามหลวง
document ประวัติความเป็นมาอำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น
document พระธาตุพระอานนท์ วัดมหาธาตุ จังหวัดยโสธร
document ประวัติความเป็นมาของหลวงพ่อพระลับ
document ขอนแก่นเคานท์ดาวน์ ปาร์ตี้ปีแสง 2011
document ศาลหลักเมืองขอนแก่น
document เมืองโบราณโนนเมือง
document วัดป่าพระนอนพัฒนาราม



RSS