มุมอีสานสนเทศ
ค้นหา:     ค้นหาขั้นสูง
เลือกดูตามหมวดหมู่:
English Version

ประเพณีตักบาตรเทโว เนื้อหาบทความ

ประเพณีตักบาตรเทโว

แสดงผล: 455
ลงคะแนน: 0
วันที่สร้าง: 29 Oct, 2010
ผู้สร้าง : นายิกา N.
วันที่ปรับปรุง : 15 Dec, 2011
ผู้แก้ไขปรับปรุง : นายิกา N.

          คำว่า เทโว  ย่อมาจากคำว่า  เทโวโรหนะ   แปลว่า การหยั่งลงจากเทวโลก หรือการเสด็จลงจากเทวโลก  หมายถึง การเสด็จลาจากเทวโลกของพระพุทธเจ้า
          ตักบาตรเทโว   หมายถึง การทำบุญตักบาตร ในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑  เนื่องในโอกาสที่พระพุทธเจ้า เสด็จลงจากเทวโลก
          วันตักบาตรเทโว หมายถึง วันทำบุญตักบาตรในเทศกาลวันออกพรรษา ตามความเชื่อของพุทธศาสนิกชนว่า เป็นวันที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์หลังจากเทศนาอภิธรรมปิฎกโปรดพุทธมารดา

ความเป็นมา                                                                                                                                     
          ตามตำนานกล่าวว่า เมื่อพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ได้เสด็จไปประกาศพระศาสนาในแคว้นต่าง ๆ ทั่วชมพูทวีป (ปัจจุบันคือ ประเทศอินเดีย) ทรงเทศนาโปรดประชาชนในแคว้นต่าง ๆ ของอินเดียตอนเหนือ ตั้งแต่เมืองราชคฤห์ เมืองพาราณสี เมืองสาวัตถี ตลอดถึงเมืองกบิลพัสดุ์ ซึ่งเป็นปิตุภูมิของพระองค์  ทรงเทศนาโปรดพระเจ้าสุทโธทนะ พระพุทธบิดา พระนางมหาปชาบดีโคตรมี พระนางยโสธราพิมพา พระราหุลราชกุมาร ตลอดจนพระประยูรญาติทั้งหลายให้บรรลุมรรคผลตามสมควรแก่อุปนิสัยของตนแล้ว พระองค์ทรงระลึกถึงพระนางสิริมหามายา ซึ่งได้สิ้นพระชนม์หลังจากพระองค์ประสูติได้ ๗ วัน และได้ไปเกิดเป็นเทพบุตรอยู่ในสวรรค์ชั้นดุสิต  ทรงปรารถนาที่จะสนองคุณพระมารดาที่มีมากมายยิ่งนักจะหาอะไรเปรียบปรานมิได้ ทรงวินิจฉัยโดยรอบคอบแล้วเห็นว่า มีสิ่งเดียวเท่านั้นที่จะสนองคุณพระมารดาเป็นการใช้หนี้ค่าน้ำนมให้คู่ควรกันได้ นั่นคือ พระอภิธรรม   ฉะนั้นในพรรษาที่ ๗ นับแต่ปีที่ตรัสรู้ พระพุทธองค์จึงเสด็จขึ้นไปจำพรรษาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เทศนาพระอภิธรรมปิฎกโปรดพระพุทธมารดาอยู่พรรษาหนึ่งจนบรรลุโสดาปัตติผล  ครั้นออกพรรษาแล้ว รุ่งขึ้นวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ พระพุทธองค์จึงเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์มาประทับที่เมืองสังกัสสะ
          ในกาลที่เสด็จลงจากเทวโลก ได้มีเนินเป็นอันเดียวกันจนถึงพรหมโลก เมื่อทรงแลดูข้างล่าง สถานที่นั้นก็มีเนินอันเดียวกันจนถึงอเวจีมหานรก ทรงแลดูทิศใหญ่และทิศเฉียง จักรวาลหลายแสนก็มีเนินเป็นอันเดียวกัน เทวดาก็เห็นพวกมนุษย์ แม้พวกมนุษย์ก็เห็นเทวดา สัตว์นรกก็เห็นมนุษย์และเทวดา ต่างก็เห็นกันเฉพาะหน้าทีเดียว ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงเปล่งฉัพพรรณรังสีขณะที่พระองค์เสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์   เมื่อบรรดาพุทธศาสนิกชนผู้ที่มีความศรัทธาเลื่อมใสทราบข่าวว่าพระพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลก ต่างพร้อมใจกันไปรอตักบาตรเพื่อรับเสด็จกันอย่างเนืองแน่น เพราะไม่ได้เห็นพระพุทธเจ้ามาเป็นเวลาถึง ๓ เดือน ในวันนี้พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงธรรมโปรดเทวดาและมนุษย์ เป็นที่ชื่นชมยินดีโดยทั่วไป เรียกกันอีกอย่างหนึ่งว่า  วันพระเจ้าเปิดโลก  พุทธบริษัททั้งหลายมีความชื่นชมยินดีจึงมีการทำบุญตักบาตรกันเป็นพิเศษ เพื่อเฉลิมฉลองการเสด็จจากเทวโลกลงมาสู่แดนมนุษย์ของพระพุทธองค์  การทำบุญตักบาตรในวันนั้นจึงได้ชื่อว่า  ตักบาตรเทโวโรหนะ  นับแต่วันนั้นเป็นต้นมา
           และเพื่อระลึกถึงเหตุการณ์ในวันนั้น พุทธบริษัททั้งหลายจึงนิยมตักบาตรเทโวโรหนะกันจนเป็นประเพณีสำคัญสืบทอดกันมาตราบเท่าทุกวันนี้ ต่อมามีการเรียกกร่อนไปเหลือเพียง ตักบาตรเทโว การตักบาตรเทโวนี้ บางวัดทำในวันออกพรรษา คือวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ บางวัดก็ทำในวันรุ่งขึ้น คือวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑

พิธีกรรมตักบาตรเทโว
          โดยมากทำกันในบริเวณพระอุโบสถ  แต่บางวัดทำในบริเวณวัดก็มี ทั้งนี้แล้วแต่ความเหมาะสมของแต่ละท้องถิ่น โดยมีการดำเนินการดังนี้
          ๑. จัดเตรียมพระพุทธรูปที่จะอัญเชิญ นิยมพระพุทธรูปปางอุ้มบาตร ถ้าไม่มีอาจใช้ปางอื่น ๆ ก็ได้ แต่ต้องเป็นพระพุทธรูปยืน ประดิษฐานในบุษบก มีบาตรขนาดใหญ่ใบหนึ่งตั้งไว้หน้าพระพุทธรูป      

 

                ๒. จัดเตรียมขบวนรถทรงหรือคานหามพระพุทธรูปเพื่อชักหรือหามพระพุทธรูปนำหน้า พระสงฆ์พระภิกษุ สามเณรถือบาตรเดินตามไปโดยลำดับในขบวนมีอุบาสก อุบาสิกา แต่งตัวเป็นพระอินทร์ พระอิศวร นางฟ้า นางสวรรค์ร่วมในขบวนอัญเชิญพระพุทธรูป

          

          


          ๓. พุทธศาสนิกชนเตรียมภัตตาหารใส่บาตร อาจเป็นข้าวปลาอาหารธรรมดา หรือข้าวสาร อาหารแห้งก็ได้ แล้วก็มีข้าวต้มลูกโยนที่ถือเป็นสัญลักษณ์ของพิธีทำบุญตักบาตรเทโว เป็นพื้น อาจจะเป็นข้าวต้มมัด หรือข้าวต้มผัดอย่างที่ทำขายหรือทำรับประทานกันอยู่ก็ได้


          ๔. พระสงฆ์แสดงพระธรรมเทศนา


           ประเพณีตักบาตรเทโวเป็นงานที่ส่งเสริมความสมัครสมานสามัคคีให้แก่ชาวบ้านอย่างมาก เป็นเครื่องควบคุมสังคมให้ ละ ลด เลิกอบายมุข หันหน้าเข้าวัดเพื่อทำบุญ  จึงมีส่วนช่วยให้สังคมสงบ ร่มเย็น เกิดสันติสุขเป็นอย่างดี พิธีที่จัดกันในเทศกาลวันออกพรรษานี้ บางวัดอาจทำกันเพียงธรรมดา  แต่บางวัดอาจจัดใหญ่โตเป็นประเพณีสำคัญของท้องถิ่น โดยอัญเชิญพระพุทธรูปประดิษฐานในบุษบก ซึ่งตั้งอยู่บนล้อเลื่อนมีบาตรใหญ่ตั้งไว้หน้าพระพุทธรูป มีคนลากล้อเลื่อนไปช้า ๆ พระสงฆ์ สามเณรถือบาตรเดินตาม เพื่อให้ทายก ทายิกาที่ยืนนั่งกันอยู่เป็นแถวได้ใส่บาตร ข้าวของที่นิยมนำไปใส่บาตรในวันนั้น นอกจากข้าว กับข้าว ผลไม้ แล้วยังมีข้าวต้มมัดใต้ และข้าวต้มมัดโยนเป็นส่วนใหญ่  บางแห่งก็จะใส่บาตรด้วยข้าวสาร อาหารแห้ง  ซึ่งแต่ละท้องถิ่นก็จะมีประเพณีตักบาตรเทโวที่จัดใหญ่โตต่างกัน เช่น

อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น


        

          เทศบาลตำบลเขื่อนอุบลรัตน์ อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ  ภาคเอกชน และประชาชนชาวอำเภออุบลรัตน์ จัดงานประเพณีทำบุญตักบาตรเทโว นมัสการองค์พระใหญ่  ไหว้รอยพระพุทธบาท ในเทศกาลวันออกพรรษาเป็นประจำทุกปี จนกลายเป็นประเพณีสำคัญของจังหวัดขอนแก่น เพื่อส่งเสริมประเพณีสำคัญทางพุทธศาสนาและศิลปวัฒนธรรมอันดีงาม ตลอดจนส่งเสริมการท่องเที่ยว  โดยในปี ๒๕๕๓ นี้  เทศบาลตำบลเขื่อนอุบลรัตน์ได้จัดงานตักบาตรเทโว ในวันเสาร์ที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๕๓ เวลา ๐๗.๐๐-๐๙.๐๐ น. ณ วัดพระบาทภูพานคำ โดยมีพระสงฆ์และสามเณรจากทุกวัดในเขตอำเภออุบลรัตน์ จำนวน ๕๙๙ รูป รับบิณฑบาตข้าวสาร อาหารแห้ง และปัจจัยต่างๆ จากบริเวณยอดเขาวัดพระบาทภูพานคำ ลงมาตามขั้นบันไดนาค จำนวน ๑,๐๔๙ ขั้น ซึ่งชาวเมืองถือว่าเป็นบันไดสวรรค์ เพื่อลงมายังพื้นราบศาลาวัดพระบาทภูพานคำ

           ในวันดังกล่าวมี นายสุวิช คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานในพิธี  นอกจากนี้ยังมี นายสมบัติ ตรีวัฒน์สุวรรณ ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น ร่วมในพิธีด้วย

แหล่งอ้างอิง
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี.   (๒๕๕๓).  ตักบาตรเทโว.  ค้นข้อมูลวันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๓ จาก http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B9%82%E0%B8%A7
สนุกพีเดีย.  (๒๕๕๐).  ตักบาตรเทโว.  ค้นข้อมูลวันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๓ จาก  http://guru.sanook.com/pedia/topic/%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B9%82%E0%B8%A7/
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.  ข้อมูลวันสำคัญ : โครงการปีรณรงค์วัฒนธรรมไทยและแนวทางในการจัดกิจกรรม “เรารัก วัฒนธรรมไทย”.   (๒๕๓๗).   พิมพ์ครั้งที่ ๒.  กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

 

เรียบเรียงโดย นายิกา เดิดขุนทด

ถ่ายภาพโดย วรพงษ์ เดิดขุนทด 

 


 

        

 



ลิขสิทธิ์ © 2012 สงวนลิขสิทธิ์ ห้ามทำซ้ำทั้งหมดหรือบางส่วน ไม่ว่าในรูปแบบใดโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ดูแลเว็บไซต์เป็นลายลักษณ์อักษร
ติดต่อผู้ดูแลเว็บไซต์ : somphot@kku.ac.th ผู้พัฒนาโปรแกรม
หมวดหมู่อื่น ๆ
document การละเล่นสะบ้าในประเพณีตรุษไทยภูผาม่าน
document หลวงพ่อพระยืนมิ่งมงคล
document ประเพณีบุญบั้งไฟ อำเภอกระนวน
document พระพุทธรูปโบราณ อำเภอซำสูง
document การศึกษาความเชื่อเกี่ยวกับการใช้ผ้าไหมมัดหมี่ของชาวอำเภอชนบทจังหวัดขอนแก่น
document ความเชื่อเรื่องผ้าไหมมัดหมี่ของชาวอีสาน
document สิม
document ศักยภาพทางเศรษฐกิจของชุมชนหมู่บ้านอีสานจากอดีตถึงปัจจุบัน
document เศรษฐกิจชุมชนหมู่บ้านอีสาน : ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจอีสานหลังสงครามโลกครั้งที่สองถึงปัจจุบัน (2488-2544)
document เศรษฐกิจชุมชนหมู่บ้านอีสานใต้ : ความอยู่รอดของชุมชนท่ามกลางกระแสความเปลี่ยนแปลง
document ข้อมูลวัด จังหวัดขอนแก่น
document บุคคลสำคัญทางศาสนา จังหวัดขอนแก่น
document ประเพณีแต่งงานชาวอีสาน (ประเพณีกินดอง)
document รายงานการวิจัยเรื่องศักยภาพของชุมชนอีสาน : กรณีศึกษาบ้านฝาง
document การผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องศิลปวัฒนธรรมในกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีว ิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ตอน ศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณี
document การสำรวจสถานภาพองค์ความรู้เบื้องต้นจากงานวิจัยเกี่ยวกับวิถีชีวิตทางสังคมและวัฒนธ รรมของกลุ่มชาติพันธุ์ ในภาคอีสาน พ.ศ. 2500-2545
document คติชน : คุณค่าในการท่องเที่ยวชุมชนบ้านโคกม่วง
document ความสัมพันธ์หญิงชายภายใต้กระแสการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
document ทัศนคติของชาวชนบทอีสานต่อการทำบุญ
document ประเพณี คติความเชื่อมีอิทธิพลต่องานสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นอีสาน
document ประเพณีผูกเสี่ยว
document พฤติกรรมการทำบุญของชาวพุทธในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
document รายงานการวิจัยเรื่องทัศนคติของชาวชนบทอีสานต่อการทำบุญ
document รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์เรื่องรูปแบบศิลปวัฒนธรรมประเพณีการฟ้อนแห่ต้นดอกไม้ : กรณีศึกษาบ้านอาฮี หมู่ที่ 1,6 ตำบลอาฮี อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย
document รายงานวิจัยเรื่องเศรษฐกิจชุมชนหมู่บ้านอีสานห้าทศวรรษหลังสงครามโลกครั้งที่สอง (พ.ศ. 2488-2543) : กรณีศึกษาบ้านบัว จังหวัดสกลนคร
document รายงานวิจัยเรื่องเศรษฐกิจชุมชนหมู่บ้านอีสานห้าทศวรรษหลังสงครามโลกครั้งที่สอง (พ.ศ. 2488-2543) : กรณีศึกษาบ้านโนนม่วง จังหวัดร้อยเอ็ด
document รายงานวิจัยเรื่องเศรษฐกิจชุมชนหมู่บ้านอีสานห้าทศวรรษหลังสงครามโลกครั้งที่สอง (พ.ศ. 2488-2544) : กรณีศึกษาบ้านวังสวาบ จังหวัดขอนแก่น
document วัฒนธรรมอีสานกับการพัฒนา
document วิถีครอบครัวและชุมชนชาติพันธุ์ไทยโย้ย บ้านโพนแพง ตำบลหนองสนม อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร
document รายงานการวิจัยเรื่องการศึกษาโครงสร้างชุมชนชาติพันธุ์ผู้ไทย บ้านโนนหอม ตำบลโนนหอม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร
document ความเชื่อเรื่องปู่ตาตะกวดกับวิถีชีวิตของชาวกูยบ้านตรึม ตำบลตรึม อำเภอศรีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์
document ประเพณีและเทศกาลจังหวัดขอนแก่น
document วัดป่าบ้านตาด
document วัดถ้ำกลองเพล
document วัดบูรพาภิราม
document หมู่บ้านวัฒนธรรมผู้ไทยโคกโก่ง
document วัดสุปัฏนารามวรวิหาร
document วัดถ้ำแสงเพชร
document ประเพณีบุญพระเวส หรือบุนพะเหวด
document คติชน : คุณค่าในการท่องเที่ยวชุมชนบ้านโคกม่วง
document พระมงคลมิ่งเมือง (พระยืน)
document รายงานการวิจัยเชิงคุณภาพเรื่องเจ้าพ่อมอดินแดง : ความเชื่อของนักศึกษา บุคลากร มหาวิทยาลัยขอนแก่น หมู่ 16 ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
document วัดพระบาทภูพานคำ
document ศาลเจ้าพ่อมอดินแดง
document สิม (โบสถ์) 2
document สิม (โบสถ์) 1
document หลวงพ่อพระยืนมิ่งมงคล
document ตำราปลูกเฮือน ฉบับวัดบ้านดอนยม ตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
document ตำราปลูกเฮือน ฉบับสำนักสงฆ์อิสระธรรมวิเวก บ้านคกเหลี่ยน-หนองขอน ตำบลวังแสง อำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม
document คาถา ต้นฉบับวัดศรีเวียงชัย บ้านดอนเวียงจันทน์ ตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
document คติชน : คุณค่าในการท่องเที่ยวชุมชนบ้านโคกม่วง
document ความเชื่อเกี่ยวกับต้นไม้ของชาวบ้านศึกษาเฉพาะกรณีหมู่บ้านโนนอำนวย อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์ และหมู่บ้านทุ่งสว่าง อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ
document ฒ ผู้เฒ่าต้องมอง
document การบริโภคสุนัขในจังหวัดสกลนคร
document การปรับตัวทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ไทแดง บ้านโพนทอง เมืองนาทรายทอง นะคอนหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
document การแต่งงานข้ามวัฒนธรรมหญิงไทยกับชายญี่ปุ่น
document บทบาทของวัดต่อชุมชนในชนบท จังหวัดขอนแก่น
document ความสัมพันธ์หญิงชายภายใต้กระแสการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
document เจ้าโคตร : ผู้เว้าแล้วแล้วโลด
document ปราสาทขอมหายไปไหน? เขมรทำลายหรือใครกันแน่
document ภูมิปัญญาพื้นบ้านศาลผีปู่ตา อำเภอสีชมพู จังหวัดขอนแก่น.
document ลำส่องที่พึ่งสุดท้ายของผู้ป่วยในภาคอีสานจริงหรือ?
document สรภัญญ์ : ภูมิปัญญาชาวบ้านกับบทบาทในสังคมอีสาน
document รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ : คติสัญลักษณ์ของพื้นที่และการจัดการใช้พื้นที่ของวัดในชุมชนหมู่บ้านผู้ไท
document พุทธศาสนากับสิ่งแวดล้อม
document รายงานการวิจัยเรื่องวิเคราะห์ความเข้าใจในหลักพุทธธรรมของพระสงฆ์ในเขตอำเภอเมืองขอ นแก่น จังหวัดขอนแก่น
document วิเคราะห์การทำบุญของคนไทยภายใต้ระบบสังคมบริโภคนิยม
document สรภัญญ์ เพลงขับเพื่อศาสนาและจริยธรรม
document วันสงกรานต์
document การปฏิบัติตนขณะตั้งครรภ์ : การเชื่อมโยงระหว่างความเชื่อดั้งเดิมอีสานกับความรู้ทางการแพทย์สมัยใหม่
document คติความเชื่อและระบบสังคมกับการปลูกสร้างเรือนพื้นบ้านและชุมชนผู้ไท
document คติชนวิทยาที่พบในงานของนักเขียนไทยสมัยรัตนโกสินทร์
document ศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สาระนาฏศิลป์ วิชาเลือกนาฏศิลป์พื้นเมือง เรื่อง ประเพณีผูกเสี่ยวจังหวัดขอนแก่น โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบย้อนกลับ(Backward Design) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนนครขอนแก่น
document ศาลเจ้าปึงเถ่ากง-ม่า ขอนแก่น
document ประเพณีผูกเสี่ยวจังหวัดขอนแก่น
document งานเทศกาลไหม ประเพณีผูกเสี่ยว และงานกาชาดจังหวัดขอนแก่น
document บุญกฐิน
document ประเพณีขึ้นเฮือนใหม่
document บุญข้าวจี่หรือบุญเดือน ๓
document เบื้องลึกเบื้องหลังพระธาตุนาดูน
document ประวัติวัดศรีคุณเมือง อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย
document ฮีตสิบสอง
document วันสงกรานต์
document วันมาฆบูชา



RSS