มุมอีสานสนเทศ
ค้นหา:     ค้นหาขั้นสูง
เลือกดูตามหมวดหมู่:
English Version

ภูมิปัญญาเครื่องปั้นดินเผาอีสาน : หม้อขะโนน เนื้อหาบทความ

ภูมิปัญญาเครื่องปั้นดินเผาอีสาน : หม้อขะโนน

แสดงผล: 956
ลงคะแนน: 0
วันที่สร้าง: 29 Sep, 2010
ผู้สร้าง : นายิกา N.
วันที่ปรับปรุง : 29 Sep, 2010
ผู้แก้ไขปรับปรุง : นายิกา N.

การผลิตเครื่องปั้นดินเผาหม้อขะโนนบ้านหัวบึง ต.ดอนช้าง อ.เมือง จ.ขอนแก่น


 
   

    ภูมิปัญญาเครื่องปั้นดินเผาเป็นงานหัตถกรรมที่เก่าแก่ของมนุษยชาติ จากหลักฐานที่ค้นพบภาชนะดินเผาที่เก่าแก่ที่สุดในโลก มีอายุประมาณ 16,000 ปีลงมาจนถึงประมาณ 14,000 ปีมาแล้ว ซึ่งปรากฏขึ้นในหมู่เกาะของญี่ปุ่น เป็นภาชนะสำหรับการปรุงอาหาร เช่น ใช้ต้มพืชผัก เนื้อสัตว์และเนื้อปลา สำหรับประเทศไทยจากหลักฐานที่ค้นพบแหล่งเครื่องปั้นดินเผาที่เก่าที่สุด คือ ที่บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี      

ประวัติความเป็นมา
      บ้านหัวบึง หมู่ที่ 5 ตำบลดอนช้าง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ตั้งอยู่บนทางหลวงหมายเลข 2013 ห่างจากตัวเมืองประมาณ 20 กิโลเมตร การเดินทางโดยรถยนต์จากขอนแก่นไปชุมแพ เมื่อถึงบ้านทุ่ม แยกซ้ายไปทางหลวงหมายเลข 2062 (บ้านทุ่ม – มัญจาคีรี) และแยกซ้าย ตรงหมู่บ้านเหล่านาดีไปตามทางหลวงหมายเลข 2013 ผ่านหมู่บ้านหว้า และหมู่บ้านเหล่าโพนทองไปประมาณ 1.5 กิโลเมตร จะถึงทางแยกเข้าหมู่บ้านหัวบึง ประมาณ 2.5 กิโลเมตร จากการบอกเล่าของนางก้าน เกิดดี นางกุล กุมพล และนางแสง เกิดดี (2553)  ได้ความว่า ชาวบ้านหัวบึงเดิมเป็นชาวโคราช บรรพบุรุษอพยพมาจากอำเภอเมืองและอำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา โดยมีตัวแทนมาสำรวจหาแหล่งดินเหนียวที่เหมาะสำหรับการผลิตเครื่องปั้นดินเผา ที่บริเวณหมู่บ้านดอนช้าง  ซึ่งอยู่ทางด้านทิศตะวันออก ห่างจากบ้านหัวบึง ระยะทางประมาณ 2-3 กิโลเมตร จึงตั้งถิ่นฐานทำการผลิตเครื่องปั้นดินเผามาประมาณ 150 ปีมาแล้ว ในอดีตมีการผลิตเครื่องปั้นดินเผาแทบทุกครัวเรือน ผลงานจะมีลักษณะเป็นอุปกรณ์ในครัวเรือน ปัจจุบันเนื่องจากขาดแคลนวัตถุดิบ คือ แหล่งดินจึงทำให้จำนวนผู้ผลิตลดลงอย่างมาก ต่อมาในปี พ.ศ. 2544- 2545 คณะผู้วิจัยจากสถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ได้ดำเนินการวิจัยตามโครงการ “ยกระดับคุณภาพวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ สำหรับอุตสาหกรรมขนาดย่อมในภูมิภาค”  ของกองการเหมืองแร่ กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงอุตสาหกรรม  เพื่อศึกษาสำรวจปริมาณสำรองแหล่งดิน การสาธิตการขุดดิน การตรวจสอบสมบัติของดิน การปรับปรุงเนื้อดินปั้น และการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา  และในปี พ.ศ. 2551 สาขาวิชาการออกแบบอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยคณะอาจารย์และนักศึกษาได้ไปศึกษาวิจัยและแนะนำวิธีการเพิ่มคุณภาพของผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา โดยมี ผศ. ธนสิทธิ์ จันทะรี เป็นหัวหน้าโครงการ ทำให้ชาวบ้านหัวบึงริเริ่มตั้งกลุ่มผลิตเครื่องปั้นดินเผาและดำเนินการจดทะเบียนภูมิปัญญาเครื่องปั้นดินเผา

อุปกรณ์การผลิตเครื่องปั้นดินเผา
1. โครกตำดินเชื้อ ทำจากลำต้นของต้นไม้เต็ง-รัง สูงประมาณ 80 เซนติเมตร เจาะเป็นโปรงรูปโครก
2. ดินเหนียว แหล่งดินเหนียว ได้แก่ บ่อดินบ้านดอนช้าง (ปัจจุบันดินเหนียวหมดแล้ว) แหล่งดินที่บ้านหม้อ อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม และบ้านหนองแดง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย
3. แกลบสด ที่ยังไม่เผา (เปลือกของข้าวเหนียว)
4. ลำเพลิน ทำจากลำต้นของไผ่นำมาจักสานเป็นแผ่นขนาด กว้าง 3 เมตร ยาว 4 เมตร ใช้สำหรับนวดดิน
5. ดินดุ  มีรูปร่างเหมือนดอกตูมของเห็ด ใช้สำหรับรองตีหม้อดิน
6. ไม้ตีดิน (Paddle wood)  มีลักษณะเหมือนไม้พายมีด้ามสั้นหนาประมาณ 1 นิ้ว ใช้สำหรับตีหม้อดินให้เนื้อดินแน่น
7. ไม้ลายหรือไม้สักคอ  ลักษณะเหมือนไม้ตีดินมีลาย มีหลายขนาด ใช้สำหรับทำลายที่คอหม้อดิน
8. ใบสะหวี  ทำจากก้านใบสัปปะรด ใช้สำหรับบีบรีดขอบปากหม้อให้แน่นและแข็งแรง
9. แท่นวางเบ้าดิน  สำหรับรองเวลาตีขึ้นรูปหม้อดิน ทำจากลำต้นของต้นไม้เต็ง-รัง 50-100 เซนติเมตร

การผลิตเครื่องปั้นดินเผาหม้อขะโนน
กระบวนการผลิตหม้อขะโนนแบ่งตามขั้นตอนออกเป็น 3 ขั้นตอนใหญ่ ๆ ดังนี้
1. ขั้นตอนการเตรียมดิน
         1.1   นำดินเหนียวที่เตรียมจากบ่อดินมาแซ่น้ำในอัตราส่วนจนน้ำซึมซับเข้าในเนื้อดิน 
นำไปตากในร่มจนสะเด็ดน้ำ (ประมาณ 1 ชั่วโมง)
         1.2   นำดินที่สะเด็ดน้ำมาผสมกับแกลบในอัตราส่วน ดิน 1 กิโลกรัม แกลบ 2 กิโลกรัม  
(แกลบ คือ เปลือกข้าวที่สีเอาเม็ดออกแล้ว) คลุกให้เข้ากัน ปั้นเป็นก้อนขนาดสองมืออุ้ม ประกบกันนำไปตากแดดประมาณ 2-3 วัน เรียกว่า     
“ดินเชื้อ”
         1.3   นำดินเชื้อไปเผาไฟ (ไฟแกลบเผา) จนดินสุกหรือดินมีสีแดงอิฐ  พักให้ดินเย็นตัว ประมาณ 1 วัน
         1.4    เก็บดินเผาแดงสีอิฐที่เย็นตัวแล้วไปตำบดด้วยโครกไม้ให้ดินแตกละเอียด และร่อนเอาเฉพาะดินที่ละเอียด

2. ขั้นตอนการนวดดิน
นำดินร่อนละเอียดไปผสมกับดินแช่น้ำ (ขั้นตอนที่ 1. 1) และตากจนสะเด็ดน้ำคลุกให้เข้ากันโดยวางดินบนลำเพลิน (ปัจจุบันใช้ผ้ายางรองแทน) นวดดินโดยใช้เท้าเหยียบย่ำจนดินเหนียวแบนราบเป็นแผ่นเรียบ แล้วพลิกกลับด้านบนลงใช้เท้าเหยียบย่ำอีก จนดินเหนียวแบนราบเป็นแผ่นเรียบ ระหว่างนี้ช่างจะพรมน้ำเพื่อปรับความเหนียวและให้ง่ายต่อการนวดดิน พับครึ่งดินใช้เท้าเหยียบย่ำไปเรื่อย ๆ จนดินเหนียวแบนราบเป็นแผ่นเรียบ ทำซ้ำกันเช่นนี้ไปจนกระทั่งเนื้อดินเชื้อกับเนื้อดินเหนียวแช่น้ำกลายเป็นเนื้อดินเดียวกัน เมื่อเสร็จแล้วห่อดินนวดด้วยพลาสติก เพื่อป้องกันความชื้นและการระเหยของน้ำในเนื้อดิน

3. ขั้นตอนการขึ้นรูป
3.1   การจกเบ้า  คือ การปั้นดินนวดให้เป็นก้อนกลมรูปทรงกระบอก (ชาวบ้านเรียกดินเบ้า) ความสูงตามขนาดของหม้อที่ต้องการจะทำ  ใช้หัวแม่มือกดนำร่องด้านบนตรงกลาง  นำไม้ไผ่กลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1-2 นิ้ว แทงให้ทะลุด้านล่าง แล้ววางนอนกลิ้งบนพื้นให้รูขยายออก ใช้มือข้างใดข้างหนึ่งจกเข้าไปในรูกลวง (จก เป็นภาษาอีสานหมายถึงการล้วงมือเข้าไป)  บีบและดันผนังก้อนดินเบ้า ใช้มืออีกข้างประคองให้รูขยายออกจนผนังดินเบ้าหนา 1 นิ้ว  นำไปตากในร่มให้หมาด ก่อนจะตีขึ้นรูปหม้อ หรือภาชนะตามต้องการ
3.2   วางดินเบ้าบนฐานไม้  เดินตีดินเบ้าไปรอบ ๆ ด้วยไม้ตีเรียบ และใช้ดินดุมีหลายขนาดเลือกตามต้องการรองตีขึ้นรูปทรงของหม้อคร่าว ๆ แต่ยังไม่ทำปากและทำก้นของหม้อ
3.3   การทำขอบปากหม้อดิน เรียกว่า “การสะหวีปาก”  เอาใบสะหวี (เดิมใช้ใบสับปะรด ปัจจุบันใช้แผ่นพลาสติกบาง ๆ แทน) วางบนฝ่ามือ บีบกดที่ขอบเบ้าดินให้ได้น้ำหนักพอเหมาะแล้วเดินถอยหลังอย่างรวดเร็วให้เป็นวงกลมจะได้ขอบปากตามขนาดร่องใบสะหวี จากนั้นใช้นิ้วมือปรับรูปทรงปากของหม้อให้แน่นและนูนตามต้องการปล่อยให้ดินแห้งพอหมาด
3.4   การตีสักคอลาย  เป็นการขึ้นลายที่คอของหม้อดินด้วยไม้ลายก่อนตีให้ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดเพื่อไม่ให้ไม้ลายติดดิน นอกจากนี้ยังมีการตีพิมพ์ลายด้วยลูกกลิ้ง เสร็จแล้วตากในร่ม 1 คืน จึงทำขั้นตอนต่อไป
3.5   การตีขึ้นรูปทรงหม้อดิน ขั้นตอนนี้เรียกว่า  “การตีดุน”  ใช้ไม้ลายและดินดุ มีหลายขนาด ก่อนตี นำไม้ลายและดินดุชุบน้ำเพื่อไม่ให้ติดชิ้นงาน ใช้ไม้ลายตีด้านนอก เลือกดินดุขนาดให้เหมาะกับส่วนรองตีรองด้านในเวลาตีเดินวนรอบชิ้นงานตีไล่ขึ้นลงให้ผนังขยายออกตีปรับผนังให้สม่ำเสมอจนเป็นรูปทรงหม้อ จากนั้นนำหม้อดินเก่า ตัด 1/3 ส่วน ทำเป็นฐาน นำหม้อดินวางบนฐานคว่ำด้านปากลง ปรับส่วนโค้งกับฐานจะได้สัดส่วนของหม้อที่สวยงาม
3.6   การตีจอดก้น  เป็นการตีปิดทำก้นของหม้อ ช่างตีจะนั่งลงกับพื้นชันหัวเข่าขึ้นโดยอุ้มหม้อวางบนตักไม่ให้ขอบปากหม้อถูกส่วนใดของร่างกาย ใช้ดินดุรองสอดด้านปากตีด้วยไม้ตีด้านนอกไล่ตีเนื้อดินให้จรดกันตีไล่เนื้อดินจนกระทั่งมีความหนาสม่ำเสมอกัน (ช่างจะฟังเสียงขณะตี ก็จะรู้ความหนาของผิวผนัง) คว่ำหม้อดินใช้น้ำพรมลูบให้ผิวหม้อเรียบและสวยงาม  นำไปตากในร่ม (หากชิ้นงานมีขนาดใหญ่มากก็ให้ตากเฉพาะในร่มจนแห้งสนิท) เมื่อแห้งพอประมาณ นำไปตากแดด  (ขั้นตอนการตากใช้เวลา 3-7 วัน ขึ้นอยู่กับสภาพความชื้นของอากาศ) ตรวจดูสภาพ  เช่น ความชื้น การหดตัวของเนื้อดินของหม้อดินให้เรียบร้อยก่อนนำไปเผาในเตา
 
4. ขั้นตอนการเผา
การเผาจะใช้เตาแบบกลางแจ้ง (กลางทุ่งนา) ชาวบ้านเรียกว่า “เตานอก หรือ เตาดาด”  ซึ่งมีขั้นตอน ดังนี้
4.1   เตรียมพื้นที่ที่เป็นพื้นเรียบ แห้งสนิท จัดวางก้อนเส้าเป็นฐานรองไม้ฟืนรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส วางก้อนเส้า ประมาณ 9-20 หลัก ขึ้นอยู่กับจำนวนของหม้อที่จะเผา ก้อนเส้าจะสูงประมาณ 15-20 เซนติเมตร วางห่างกัน 5 ก้าวเท้าคน
4.2   วางไม้ฟืนบนก้อนเส้า  ไม้ฟืนจะต้องโค้งและคดงอน้อยที่สุด วางพาดขวางสลับกันไป 3-4 ชั้น เป็นฐานสำหรับวางหม้อดิน
4.3   นำหม้อวางบนฟืนโดยคว่ำปากหม้อลงเพื่อให้ความร้อนอบในหม้อดินทำให้เนื้อดินสุกอย่างทั่วถึง การวางหม้อดินต้องชิดกันและวางซ้อนกันสูงเป็น 2-3 ชั้น ขึ้นกับขนาดของเตา
4.4   การเผา ใช้ฟางข้าวสอดเข้าไปใต้ไม้ฟืนทุกด้าน จุดไฟให้ไม้ฟืนไหม้จนทั่ว แล้วให้เริ่มหอบฟางวางบนหม้อดินให้ทั่ว ไฟจะลุกไหม้สุมฟาง หากไฟไหม้ไม่ทั่วถึงต้องเอาไม้ยาว ๆ คอยเขี่ยให้ไฟลุกไหม้ฟางอย่างสมบูรณ์ สุมฟางไปเรื่อย ๆ จนฟืนลุกไหม้เกือบหมด สังเกตดูการทรุดตัวของฟืนลงจากก้อนเส้า หม้อดินจะพยุงกันไม่ให้ล้มลง ให้สุมฟางไปอีกสักพักก็จะเสร็จขั้นตอนการเผา สังเกตดูสีของผิวหม้อดิน (ก้อนเส้า 9 หลัก ใช้เวลาเผาประมาน 30 นาที  หากมีก้อนเส้ามากกว่าให้ใช้เวลาเผานานขึ้น)
4.5   ทิ้งหม้อดินในเตาเผาให้เย็นตัวลงก่อน โดยใช้เวลาประมาณ 2-4 ชั่วโมง สามารถนำออกมาจากเตาได้

การใช้ประโยชน์จากหม้อดิน
     ชาวบ้านเรียกหม้อดินนี้ว่า  “หม้อขะโนน”  เป็นหม้อสำหรับใช้ประกอบอาหาร เช่น หม้อหุงข้าว หม้อแกง หม้อต้ม หม้อสำหรับนึ่งข้าวเหนียว ตุ่มใส่น้ำดื่ม ไหเก็บอาหารหรือสิ่งของ นอกจากเก็บไว้ใช้เองแล้ว ชาวบ้านยังนำไปแลกเปลี่ยนสิ่งของและจำหน่าย  ในบางครั้งอาจใช้เป็นของฝากผู้มาเยี่ยมเยือนหมู่บ้านอีกด้วย


แหล่งอ้างอิง

ธนสิทธิ์ จันทะรี.  (2551).  รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง โครงการพัฒนาเนื้อดินปั้น และเคลือบเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์เครื่อง  ปั้นดินเผาไฟต่ำอีสาน. ขอนแก่น คณะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สรุปผลการวิจัยโครงการยกระดับคุณภาพวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์สำหรับอุตสาหกรรมขนาดย่อมในภูมิภาค.  (2545).  กรุงเทพฯ: กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงอุตสาหกรรม.
ก้าน เกิดดี.  (2553).  สัมภาษณ์ 27 สิงหาคม 2553.
กุล กัมพล.  (2553).  สัมภาษณ์ 27 สิงหาคม 2553.
แสง เกิดดี.  (2553).  สัมภาษณ์ 27 สิงหาคม 2553.


 


ลิขสิทธิ์ © 2012 สงวนลิขสิทธิ์ ห้ามทำซ้ำทั้งหมดหรือบางส่วน ไม่ว่าในรูปแบบใดโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ดูแลเว็บไซต์เป็นลายลักษณ์อักษร
ติดต่อผู้ดูแลเว็บไซต์ : somphot@kku.ac.th ผู้พัฒนาโปรแกรม
หมวดหมู่อื่น ๆ
document นิยายปรัมปราและนิทานเกี่ยวกับไหม
document คลัสเตอร์อุตสาหกรรมผ้าไหม
document ประวัติความเป็นมาของไหมต่างประเทศ
document ประวัติความเป็นมาของไหมไทย
document การทอเสื่อบ้านโต้น
document กระติบข้าว
document ศาลาไหมไทย
document การวางแผนภาพอนาคตอุตสาหกรรมผ้าไหมมัดหมี่ อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น
document แนวทางการพัฒนาสินค้า OTOP กลุ่มผ้าไหมและผลิตภัณฑ์ผ้าไหมในจังหวัดขอนแก่นให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโ ภค
document การวางแผนเชิงกลยุทธ์ของธุรกิจผ้าไหมย้อมสีธรรมชาติ บ้านเหล่าเหนือ ตำบลหนองห้วยแก อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น
document การศึกษาแนวคิดทางคณิตศาสตร์ในขั้นตอนการผลิตผ้าไหมมัดหมี่จังหวัดขอนแก่น
document การศึกษาแนวคิดทางคณิตศาสตร์ในขั้นตอนการผลิตผ้าไหมมัดหมี่จังหวัดขอนแก่น
document ความต้องการการส่งเสริมของสมาชิกกลุ่มผู้ผลิตสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ประเภทผ้าและเครื่องแต่งกายในจังหวัดขอนแก่น
document ความต้องการวิทยาการการผลิตผ้าไหมของผู้เลี้ยงไหมรายย่อยในจังหวัดขอนแก่น
document ความสัมพันธ์ระหว่างการดำเนินธุรกิจที่มุ่งเน้นการตลาดกับผลการดำเนินงานของกลุ่มผู้ ผลิตผ้าไหมโครงการ OTOP ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
document รายงานการวิจัยการบำบัดน้ำเสียจากอุตสาหกรรมย้อมไหมด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม โครงการย่อยภายใต้ชุดโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมแบบยั่งยืนโดยวิธีกา รทางเทคโนโลยีสะอาดและการประเมินวงรอบชีวิต กรณีศึกษา: อุตสาหกรรมผ้าไหม
document รายงานการวิจัยการศึกษารูปแบบการพัฒนากลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมไหมในภาคตะวันออกเฉียงเห นือของประเทศไทย
document รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์เรื่อง การป้องกันมลพิษในโรงงานผลิตไหม : โครงการย่อยภายใต้โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมแบบยั่งยืนโดยวิธีทางเท คโนโลยีสะอาดและการประเมินวงรอบชีวิต กรณีศึกษา : อุตสาหกรรมผ้าไหม
document การดำเนินงานธุรกิจชุมชนการผลิตเส้นไหม : กรณีศึกษาบ้านหนองไฮน้อย
document การศึกษาข้อมูลเปรียบเทียบการประกอบการ OTOP ผ้าทอพื้นบ้านภาคอีสานในกลุ่มพื้นบ้านและกลุ่มธุรกิจ
document รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการการพัฒนาเครื่องผลิตข้าวเคลือบแร่ธาตุอาหาร
document งานหัตถกรรมผู้ไท : การใช้ ภูมิปัญญาและความสัมพันธ์กับวิถีชีวิตในเรือนผู้ไท
document รายงานฉบับสมบูรณ์งานหัตถกรรมผู้ไท : การใช้วัสดุ ภูมิปัญญาและความสัมพันธ์กับวิถีชีวิตในเรือนผู้ไท
document การพัฒนาเครื่องปั้นดินเผาเพื่อเป็นอาชีพเสริมของเกษตรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
document รายงานการวิจัยการพัฒนาเครื่องปั้นดินเผาเพื่อเป็นอาชีพเสริมของเกษตรกรภาคตะวันออกเ ฉียงเหนือ
document การทอผ้าพื้นเมืองของสตรีชนบทในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : การศึกษาในมิติทางด้านวัฒนธรรมและเศรษฐกิจ
document การส่งเสริมและพัฒนาการประกอบอาชีพเครื่องปั้นดินเผา
document การศึกษาเพื่อพัฒนาหัตถกรรมในครัวเรือนชนบทสู่ระบบการค้าเชิงพาณิชย์ของภาคตะวันออกเ ฉียงเหนือ
document งานหัตถกรรมผู้ไท : การใช้ ภูมิปัญญาและความสัมพันธ์กับวิถีชีวิตในเรือนผู้ไท
document รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์รูปแบบของที่ระลึกทึ่อาจพัฒนาขึ้นเพื่อการท่องเที่ยวตามลำ แม่น้ำมูล
document รายงานการวิจัยเรื่องการศึกษาหัตถกรรมจักสานครุน้อย บ้านสะอาง ตำบลห้วยเหนือ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ
document รายงานฉบับสมบูรณ์งานหัตถกรรมผู้ไท : การใช้วัสดุ ภูมิปัญญาและความสัมพันธ์กับวิถีชีวิตในเรือนผู้ไท
document ข้อมูลผู้ผลิต ผู้ประกอบการที่ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ปี พ.ศ. 2549
document การวิเคราะห์ปัจจัยที่ใช้เป็นเกณฑ์ตัดสินในการเลือกสุดยอดหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ กรณีศึกษา : ผลิตภัณฑ์ประเภทผ้าและเครื่องแต่งกายในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
document ความต้องการการส่งเสริมของสมาชิกกลุ่มผู้ผลิตสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ประเภทผ้าและเครื่องแต่งกายในจังหวัดขอนแก่น
document ผลการเข้าร่วมโครงการ "หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์" ของกลุ่มผู้ผลิตผ้าไหมในจังหวัดขอนแก่น
document รายงานการวิจัยเรื่องการศึกษาและวิเคราะห์การจัดทำแผนเพื่อการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรม บริการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอย่างยั่งยืนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
document แนวทางการเพิ่มขีดความสามารถในการจัดการด้านการผลิตของเครือข่ายกลุ่มทอผ้าย้อมสีธรร มชาติบ้านหนองนาคำ หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านโคก กิ่งอำเภอหนองนาคำ จังหวัดขอนแก่น
document ผ้าทอไทอีสาน : แหล่งรายได้ของชุมชนอีสาน
document การจัดการเชิงกลยุทธ์ธุรกิจผ้าไหมมัดหมี่ของกลุ่มทอผ้า อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร
document การวางแผนธุรกิจเชิงกลยุทธ์ของกลุ่มทอผ้าขิดบ้านโนนเสลา ตำบลหนองตูม อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ
document รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการลดมลพิษในโรงงานอุตสาหกรรมอาหารและผลิตภัณฑ์เกษตรภาคตะวันอ อกเฉียงเหนือ
document การทอผ้าพื้นเมืองของสตรีชนบทในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : การศึกษาในมิติทางด้านวัฒนธรรมและเศรษฐกิจ
document เส้นสายลายศิลป์ในผ้าไหมมัดหมี่อีสาน



RSS